ตาพร่ามัว ปัญหาทางสายตาที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน
สายตามัว (Blurry Vision) คือ สภาวะดวงตาที่มีวิสัยทัศน์ในการดูสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ได้ไม่ชัดเจน มีอาการภาพเบลอทับซ้อน การมองเห็นเป็นแบบเลือนลาง ทำให้การประสิทธิภาพของดวงตาพร่ามัว สูญเสียความคมชัดในช่วงของการโฟกัสชั่วขณะ โดยอาการตามัวเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้ทั้งสายตามัวข้างเดียว หรือ ทั้งสองข้าง
ตาพร่ามัว เกิดจากสาเหตุใด
ปัญหาค่าสายตา
สายตาสั้น - สภาวะผิดปกติทางสายตาทั่วไปจะมองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจน หากจดจ้องมากเกินไปอาจส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้อตรงส่วนดวงตาอ่อนหล้า และ ลามไปถึงส่วนของศีรษะ เกิดการมองเห็นภาพเบลอ ส่งผลให้สายตาพร่ามัวในที่สุด สายตามัวในภาวะสายตาสั้นอาจเกิดขึ้นได้ทั้งสายตามัวข้างเดียวและทั้งสองข้าง
สายตายาว - จะมองเห็นวัตถุในระยะใกลไม่ชัดเจน แต่ สามารถโฟกัสวัตถุในระยะไกลได้คมชัด ส่งผลกระทบให้กล้ามเนื้ออ่อนหล้า ลามไปถึงการปวดศีรษะที่คล้ายคลึงกับภาวะสายตาสั้น
สายตาเอียง - เกิดจากสภาวะของกระจกตามีรูปร่างที่ผิดปกติ จึงทำให้ตัวกระจกไม่สามารถรับรังสีแสงที่กระทบให้ถูกจุดโฟกัสนัยน์ตาได้ถูกจุด
สายตายาวตามวัย - เกิดขึ้นจากผู้สูงวัย ที่มีอาการสายตามัวในระยะการมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ไม่คมชัด เนื่องจากเลนส์ภายในดวงตาแข็งตัวขึ้น จอตา และ วุ้นในตาเสื่อม ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นอาการสายตายาวตามวัยผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบไปตามธรรมชาติ
- จอประสาทตาหลุดลอก
- โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน
- ตาแห้ง ระบบการทำงานภายในดวงตาไม่สามารถผลิตน้ำในปริมาณที่มากพอไปหล่อเลี้ยงดวงตาให้เกิดความชุ่มชื้นได้ หรือ เกิดจากภาวะพฤติกรรมของผู้ป่วยที่โฟกัสการใช้ดวงตามากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการเล่นโทรศัพท์มากตามัวเป็นชั่วครู่
- เยื่อบุตาอักเสบ
- โรคต้อกระจก
- อุบัติเหตุทางสายตา
- การตั้งครรภ์ - ในระยะคุณแม่อยู่ในภาวะการตั้งครรภ์ มีผลข้างเคียงทำให้แหล่งสะสมน้ำในร่างกายมีมากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการตามัว ตาบวมบริเวณรอบ ๆ บนดวงตา
ลักษณะอาการของ ตาพร่ามัว เป็นอย่างไร
- การมองเห็นผิดปกติ เช่น จากวัตถุที่สามารถมองเห็นชัด กลายเป็นภาพเบลอ
- มีปัญหาเกี่ยวกับการอ่าน เพราะไม่สามารถมองเห็นตัวหนังสือแบบชัดเจนได้
- ค่าสายตาเปลี่ยนแปลงเร็วผิดปกติ เช่น จากเคยวัดค่าสายตาสั้น 150 ระยะเวลาผ่านไปแล้วกลับมาวัดอีก พบว่าอาจสั้นถึง 300 แล้ว
- มุมมองภาพแคบลง ใบหน้าคนเห็นเป็นฝ้ามัว
- จากภาพที่เคยมองว่าสีสดใส กลายเป็นสีจืดจาง
- กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเพ่งมองผ่านดวงตาอ่อนหล้า ตามัวมองไกลไม่ชัด ดวงตาไม่สามารถปรับรูม่านตาในการมองเห็นในยามกลางคืนได้ไม่เต็มที่
- ปวดบริเวณศีรษะ ใบหน้าบิดเบี้ยว ทำให้การควบคุมดวงตาเบลอ ไม่โฟกัสกับสิ่งแวดล้อมที่มองเห็นรอบ ๆ ได้ชัดเจน
- การทำงานของรูม่านตาหดลง เมื่อสบตากับแสงกลางวัน หรือ แสงสว่างจากสิ่งของอย่าง ดวงไฟ ทำให้ดวงตาเกิดภาวะไม่สู้แสงแบบฉับพลัน สายตามัว มองไม่ชัด รู้สึกไม่สบายตา จึงทำให้ผู้ป่วยต้องหรี่ตาลง ตาแฉะ มีน้ำบนบริเวณดวงตาในปริมาณมากกว่าผิดปกติ
- เส้นเลือดฝอยสีแดงขึ้นบริเวณนัยน์ตาขาว ทำให้ดวงตาของผู้ป่วยเกิดอาการระคายเคือง มีขี้ตา ตาแห้ง และนำไปสู่ภาวะอาการสายตาพล่ามัวได้
- เห็นเงาจุดดำลอยรอบ ๆ บนกรอบจอตาข้างใดข้างหนึ่ง เกิดจากวุ้นในตาเสื่อมสภาพ นำเป็นเหตุเข้าไปสู่สายตามัวข้างเดียว
ตาพร่ามัว แบบใดที่ควรเข้าพบแพทย์
- ตาขาวเริ่มกลายเป็นสีแดง เจ็บดวงตามาก
- การมองเห็นผิดปกติ หรือ มีการสูญเสียการมองเห็นทั้งหมด หรือ บางส่วนแบบชั่วคราว
- มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย
- ตาพร่ามัว อาจจะเป็นสัญญาณแรกเริ่ม ที่นำพาดวงตาของท่านไปสู่โรคต้อหิน และโรคต้อกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น
การป้องกัน ตาพร่ามัว
- สวมแว่นเพื่อป้องกันดวงตา เมื่อจำเป็นต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ผสมสารเคมี งานฝีมือ เมื่อออกไปข้างนอกควรสวมแว่นกันแดด หรือ กางร่มในบริเวณที่มีแสงแดดจ้า เพื่อป้องกันรังสี UV (Ultraviolet) กระทบดวงตา
- ควรพักสายตาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์เสมอ
- ไม่ควรเผชิญแสงแดดจ้าเป็นประจำ
- กินอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น อาหารทะเลที่มีโอเมก้า 3 ผัก และ ผลไม้
- ล้างมือให้สะอาดก่อนใส่คอนเทคเลนส์อยู่เสมอ เพื่อป้องกัน และ หลีกเลี่ยงสิ่งแปดปลอม เชื้อแบคทีเรีย เข้าสัมผัสบริเวณเนื้อตาโดยตรง
- ตรวจวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง/ปี
- สวมแว่นตากรองแสงสีฟ้าในขณะอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และ อุปกรณ์จอสัมผัสทุกชนิด
ตาพร่ามัว ส่งผลสภาวะการมองเห็นที่ผิดปกติได้ในระยะยาว หากไม่รีบรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อาจส่งผลให้การทำงานของดวงตาอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม นำไปสู่โรคทางสายตาต่าง ๆ ที่มีผลข้างเคียงก่อให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ในอนาคต หากมีอาการตามัวดังกล่าว ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการบำรุงสายตา