4 อาหารไม่ควรแช่ตู้เย็นนาน ทำอาหารเสื่อมคุณภาพ เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย
1.แตงโม
เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะ เมื่อโมเลกุลของน้ำโดนความเย็น จะทำให้มีความหนาแน่นมากขึ้น ทำให้เนื้อแตงโมมีความฉ่ำน้ำ ชุ่มน้ำ และมีรสชาติแย่ลง การเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้เรียกว่า การสะท้านหนาว (Chilling Injury) สามารถพบได้ในการใช้ผลไม้ในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำเกินไป โดยแตงโมจะเกิดอาการสะท้านหนาวอยู่ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 7 องศาเซลเซียส
ข้อแนะนำในการเก็บรักษาแตงโม ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง แต่หากใครอยากกินแตงโมที่เนื้อเย็น ๆ สามารถนำไปแช่ตู้เย็นระยะเวลา 2 – 3 ชม.
2.กล้วย
เป็นผลไม้ที่มีความไวต่อการเกิดอาการสะท้านหนาว เปลือกกล้วยจะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิเย็น จะไปยับยั้งการสุกของกล้วย เพราะอุณหภูมิเย็นจะไปยับยั้งการทำงานของก๊าซเอทิลีน ซึ่งทำให้การสุกของกล้วยไม่สมบูรณ์ การรับประทานกล้วยดิบจะทำให้มีสารแทนนินสูง และมีแป้งที่เอนไซม์ไม่สามารถย่อยได้ จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
ข้อแนะนำในการเก็บรักษากล้วย ควรอยู่ในอุณหภูมิห้องและพ้นแสงแดด ระยะเวลาระหว่างกล้วยดิบไปจนสุกจะอยู่ที่ประมาณ 7 – 10 วัน
3.กระเทียม หอมหัวใหญ่
การเก็บกระเทียมและหอมหัวใหญ่ในตู้เย็นจะทำให้เน่าเสียเร็วกว่าเดิม เพราะในตู้เย็นมีความชื้น จึงทำให้เกิดเชื้อราได้ และเชื้อราเหล่านี้อาจผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ ต่อตับ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งได้ นอกจากนี้ความเย็นยังทำลายเนื้อสัมผัสของหอมหัวใหญ่ ทำให้เนื้อสัมผัสเหี่ยว นิ่ม ไม่น่ารับประทาน
ข้อแนะนำในการเก็บรักษาหากเป็นกระเทียม ไม่ควรแกะกลีบแยก ส่วนหอมหัวใหญ่ควรเก็บแบบเดิม มีเปลือก เก็บในที่แห้ง มีความชื้น อากาศถ่ายเทสะดวก ระยะเวลาในการเก็บรักษาจะอยู่ได้นาน 1 – 2 เดือน
4.อาหารกระป๋อง
ความชื้น และออกซิเจนในตู้เย็น อาจทำให้กระป๋องเกิดสนิมได้ เมื่อรับประทานอาหารที่ปะปนกับโลหะหนักจากสนิม จะทำให้เกิดพิษต่อเซลล์ในร่างกาย เป็นพิษต่อตับ และอาจเป็นสารก่อมะเร็งในภายหลังได้
ข้อแนะนำในการเก็บรักษาอาหารกระป๋อง อาหารกระป๋องถูกออกแบบมาเพื่อเก็บในอุณหภูมิห้องได้ หากต้องการกินควรเทใส่ภาชนะแยกแล้วจึงแช่ในตู้เย็น กรณีที่อยากกินผลไม้กระป๋องแบบเย็น ๆ สามารถนำตัวกระป๋องแบบยังไม่เปิดแช่ไว้ได้เป็นระยะเวลา 2 – 3 ชม.
การนำผลไม้ หอม กระเทียม และผลไม้กระป๋องแช่ตู้เย็นตลอด อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดสนิมและเชื้อรา หรืออาจทำให้อาหารปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสี กลิ่น รสและคุณค่าของอาหาร โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดโบทูลินั่ม จะสร้างสารพิษโบทูลินั่ม ที่ส่งผลต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง หากรับประทานเข้าสู่ร่างกายจะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อต่าง ๆ สายตาพร่ามองเห็นเป็นภาพซ้อน ซึม ง่วง กลืนอาหารไม่สะดวก ลิ้นและคออักเสบ กล้ามเนื้อต้นคออ่อนแรงจนยกหัวไหล่ไม่ขึ้น โดยจะแสดงอาการให้เห็นภายใน 2-4 ชั่วโมง ในบางรายอาจใช้เวลานานถึง 12-36 ชั่วโมง หากไม่ได้รับการรักษาโดยทันทีอาจเสียชีวิตด้วยระบบหายใจล้มเหลว ดังนั้นหากพบความผิดปกติเกิดขึ้นให้รีบไปพบแพทย์