โรคกลัวทะเล หรือ โรคกลัวทะเลลึก ธาลัสโซโฟเบีย (Thalassophobia) มารู้จักโรคนี้กันเถอะ
Thalassophobia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Thalasso แปลว่า ทะเล ห้วงมหาสมุทร น้ำลึก แหล่งน้ำขนาดใหญ่ ส่วน phobia แปลว่า ความกลัว
โรคกลัวทะเล (Thalassophobia) คือ โรคที่จัดอยู่ในประเภทของความหวาดกลัวเฉพาะเมื่อมองดู หรือสัมผัสกับแหล่งน้ำที่มีบริเวณกว้างใหญ่ ลึก และมืด ทำให้การทำงานด้านจิตใจ รวมถึงสมองเกิดอาการวิตกกังวลทันที
สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติ (NIMH) เผยว่าโรคนี้เป็นกลุ่มอาการผิดปกติทางจิตไม่มีอันตรายร้ายแรง ซึ่งพบได้ในหมู่ประชากรทั่วไปที่กลัวสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น โรคกลัวชุมชน โรคกลัวที่แคบ โรคกลัวรู
สาเหตุที่ทำให้กลัวทะเล อย่างไม่มีเหตุผล
- ปัจจัยทางพันธุกรรม การที่คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวเป็นโรคกลัวทะเล จนนำมาสู่การถ่ายทอด อาจเป็นในรูปแบบบอกเล่า การเลี้ยงดูของคนในครอบครัว การปลูกฝังก็มีผลด้วยเช่นกัน อย่างเช่น มีคนใกล้ตัว คนในครอบครัวเป็น หรือมีประสบการณ์ส่วนตัวกับทะเล รวมถึงการฟังเรื่องราวที่น่ากลัวเกี่ยวกับทะเลมา
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม คือสิ่งที่เคยประสบกับเหตุการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนไม่ว่าในรูปแบบที่พบเจอด้วยตัวเอง หรือตามแหล่งข่าว อย่างเช่น เหตุการณ์เกือบจมน้ำ เห็นคนจมน้ำทุรนทุราย ดูสารคดีเกี่ยวกับสัตว์ใต้ทะเลมากเกินไป เมื่อพบเห็นสถานที่นั้นจึงไปกระตุ้นด้านความคิด และจิตใจ ทำให้เกิดอาการสั่นกลัว
- ปัจจัยการพัฒนาของสมอง เมื่อไม่ได้รับการบำบัดช่วยเหลือ การพัฒนาของสมองอาจตอบสนองต่อความกลัวโดยอัตโนมัติ และการทำงานของระบบประสาทวนอยู่ที่เดิมทำให้ไม่สามารถควบคุมต่อความกลัวนี้ได้
อาการของธาลัสโซโฟเบีย
ทางกายภาพ
- เวียนหัว มึนหัว คลื่นไส้
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจเร็ว หายใจถี่
- เหงื่อออกทั่วร่างกาย
- ท้องไส้ปั่นป่วน
- กระสับกระส่าย
- เสียขวัญจนทำให้การนอนหลับผิดปกติ (นอนไม่หลับ)
ทางอารมณ์และจิตใจ
- รู้สึกวิตกกังวลมากกว่าปกติ
- เกิดอารมณ์เกลียดชัง หงุดหงิด
- รู้สึกกลัว อยากหนี
- ความรู้สึกท่วมท้น ทำอะไรไม่ถูก
การรักษาโรคกลัวทะเล
การรักษาด้วยการบำบัดจิตใจที่ผิดปกติ (CBT) ตามโปรแกรมการบำบัด นักจิตวิทยาจะสอนให้ควบคุมอารมณ์ความรู้สึก พฤติกรรมบางอย่าง และเปลี่ยนวิธีการคิดให้จากลบเป็นบวกอย่างมีระบบ
ในแหล่งข้อมูลการศึกษาที่น่าเชื่อถือแห่งหนึ่ง ปี 2013 นักวิจัยใช้เทคนิค การสร้างภาพประสาท (neuroimaging) เพื่อตรวจสอบผลกระทบของ (CBT) ต่อความผิดปกติบางประการของอาการกลัว นักวิจัย พบว่า การบำบัดด้วยวิธีนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเส้นทางประสาทของสมอง มีผลในเชิงบวกด้านความคิด และการไตร่ตรองเหตุผล
สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบภายในจิตใจ นักบำบัดอาจให้คุณเผชิญกับสิ่งที่คุณกลัวโดยตรง อย่างเช่น การดูวิดิโอเกี่ยวกับข้องกับมหาสมุทร หรือพาคุณไปชายหาดนั่งจุ่มเท้า โดยมีนักบำบัดอยู่ใกล้ ๆ เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายคุณอาจคุ้นชิน และสามารถสลายความกลัวของโรคนี้เองได้