ช็อก ไทยเตรียมเก็บภาษีรถติด ดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ชาวต่างชาติเห็นด้วยหรือไม่
ข่าวร้อนจากกรุงเทพฯ! รัฐบาลไทยวางแผนจัดเก็บ "ภาษีรถติด" หวังนำเงินไปอุดหนุนนโยบายค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย กระตุ้นให้คนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อแก้ปัญหารถติดในเมืองหลวง! แต่ชาวต่างชาติจะคิดเห็นอย่างไรบ้างกับแนวคิดนี้? ไปฟังกันเลย!
นโยบายเก็บภาษีรถติด นำเงินหนุนรถไฟฟ้า 20 บาท
นายนสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังศึกษาวิธีการเก็บ "ภาษีรถติด" เพื่อแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ โดยจะเริ่มเก็บค่าธรรมเนียมวันละ 40-50 บาท ในพื้นที่ที่มีระบบรถไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหารถติดในเมืองใหญ่ คาดว่านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายจะเริ่มต้นได้ภายในปีหน้า!
มุมมองชาวต่างชาติ: เห็นด้วย หรือขอค้าน?
เมื่อนโยบายนี้ถูกเปิดเผย ชาวต่างชาติก็ไม่รอช้า! พวกเขาแห่แชร์มุมมองกันสนั่น ทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย มีหลากหลายความคิดเห็นที่น่าสนใจมาก เราลองมาฟังกันว่า ชาวต่างชาติพูดถึงนโยบายนี้ว่าอย่างไรกันบ้าง
-
"ระบบรถไฟฟ้าของกรุงเทพฯ เป็นปัญหาหรือเปล่า?"
ชาวต่างชาติคนหนึ่งตั้งคำถามอย่างไม่เข้าใจว่า “ทำไมผู้คนยังคงนิยมใช้รถยนต์ส่วนตัวอยู่ ทั้งที่มีรถไฟฟ้าแล้ว? หรือว่าระบบรถไฟฟ้าของกรุงเทพฯ มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย หรือการเชื่อมต่อไม่ดีพอ?” -
"ลองเดินไปสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ดูสิ!"
มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นว่า “คุณลองเดินไปสถานีที่ใกล้ที่สุดดูเถอะ ภาวนาด้วยว่าจะไม่ตกหลุม หรือถูกจักรยานยนต์ที่วิ่งบนทางเท้าชน!” -
"โอเค แต่ต้องมีส่วนลด!"
อีกความคิดเห็นจากชาวต่างชาติระบุว่า “ฉันโอเคกับมาตรการนี้ แต่ควรมีส่วนลดให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กลางเมืองเหมือนกับที่ลอนดอน ซึ่งให้ส่วนลดสูงถึง 90%!" -
"แก้ปัญหาจราจรแบบจีน ก็ดีนะ!"
คนหนึ่งกล่าวชื่นชมแนวคิดนี้ว่า “ดีมาก นโยบายแบบนี้จีนใช้มานานแล้วและได้ผลจริง ๆ ในบางพื้นที่ที่รถติดหนัก!"
แต่ก็มีข้อสงสัยและคำแนะนำเพียบ!
ในขณะที่บางคนเห็นด้วย ก็มีชาวต่างชาติไม่น้อยที่ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ของนโยบายนี้
-
"ระบบขนส่งสาธารณะต้องเพียงพอก่อน!"
บางคนไม่เห็นด้วยและเสนอว่า “ก่อนจะเก็บภาษีรถติด ทำไมไม่ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะให้เพียงพอก่อน โดยเฉพาะการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า และทำให้ราคาตั๋วโดยสารถูกลง” -
"จราจรจะดีขึ้นถ้าควบคุมยานพาหนะเก่า!"
อีกความเห็นเสนอว่า “ถ้าบังคับตรวจเช็คสภาพรถยนต์อย่างเข้มงวด จะช่วยลดจำนวนรถยนต์ที่ไม่เหมาะสมบนถนนได้มาก” -
"อย่าลืมกลุ่มคนสูงอายุ!"
ชาวต่างชาติอีกคนตั้งข้อสงสัยว่า “แล้วผู้โดยสารสูงอายุล่ะ พวกเขายังจะได้ส่วนลดเหมาจ่ายเหมือนเดิมใช่ไหม?” ซึ่งมีคนตอบกลับว่า “ผู้สูงอายุทั้งชาวไทยและต่างชาติยังได้ส่วนลดเหมือนเดิมใน MRT และ BTS"
สรุปแล้วนโยบายนี้จะได้ผลจริงหรือไม่?
ถึงแม้จะมีคนเห็นด้วยกับนโยบายนี้มากมาย แต่ก็มีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทยเน้นที่การขยายระบบขนส่งสาธารณะ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้รองรับปริมาณคนและรถยนต์ได้อย่างเหมาะสมก่อน รวมถึงการควบคุมยานพาหนะเก่าที่ปล่อยควันพิษเพื่อช่วยลดมลภาวะและแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ อย่างยั่งยืน
เพื่อน ๆ คิดอย่างไรกับนโยบายนี้ เห็นด้วยกับชาวต่างชาติหรือไม่? อย่าลืมมาแชร์ความคิดเห็นกันได้นะครับ