7 ความเชื่อผิด ๆ เรื่องสายตา ค่าสายตา และ การใส่แว่นตา
1.สายตาเสียได้ เมื่อนั่งใกล้โทรทัศน์มากเกินไป แท้จริงแล้ว การนั่งดูโทรทัศน์ใกล้ ๆ ไม่ได้ทำร้ายดวงตา แต่ดวงตาอาจเกิดความล้า เมื่อดูโทรทัศน์เป็นเวลานานเกินไป หรืออาจทำให้รู้สึกปวดหัวได้ การใช้คอมพิวเตอร์ และการดูภาพยนต์สามมิติ ก็ส่งผลต่อดวงตาได้ในลักษณะเดียวกัน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยง การใช้เวลาหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ได้ ควรพักสายตาเป็นบางช่วงขณะทำงาน
2.การอ่านหนังสือในที่มืดทำให้สายตาเสีย แท้จริงแล้ว การอ่านหนังสือในที่มีแสงสลัวทำให้อ่านได้ยากมากขึ้น คนในอดีตใช้แสงเทียน แสงตะเกียง ในการอ่านหนังสือ และทำงานมานับร้อยปี อุปกรณ์เหล่านี้ให้ความสว่างน้อยกว่าไฟฟ้าในปัจจุบัน แต่สายตาของพวกเขาก็ไม่เสีย อย่างไรก็ตาม แสงสว่างที่ดีช่วยป้องกันความอ่อนล้าของดวงตา และทำให้อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น
3.การใส่แว่นตาทำให้ต้องใส่ไปตลอด การสวมแว่นตาช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ดวงตาต้องพึ่งพาแว่นตาไปตลอด เพราะแว่นตาไม่ได้ปรับเปลี่ยนส่วนใดของดวงตา แท้จริงแล้วเป็นที่ผู้สวมใส่เอง ที่เคยชินกับการมองเห็นที่ชัดเจนเมื่อสวมแว่น และการสวมแว่นตาที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพสายตา ก็ไม่ได้ทำลายสายตา แต่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน หากสวมแว่นตาที่ไม่เหมาะสม
4.ใส่แว่นแล้วทำให้ค่าสายตาเพิ่ม แท้จริงแล้ว การฝืนไม่ใช้แว่น จะทำให้ยิ่งมีผลเสีย คือ การเพิ่มขึ้นไวของค่าสายตา ทำให้เมื่อยล้าดวงตา มองเห็นไม่ชัดเจน บางรายเพ่งจนเกิดริ้วรอย ตีนกา รอบดวงตา
5.สายตายาวสามารถป้องกันได้ สายตายาวมี 2 ชนิด คือ สายตายาวแต่กำเนิด (Hyperopia) เกิดจากการที่กระบอกตาสั้น กระจกตาแบน กับ สายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เมื่อเราอายุ มากกว่า 40 ปี ขึ้นไป เป็นความเสื่อมตามวัย เกิดจากกล้ามเนื้อตาเสื่อม เลนส์ตาแข็งตัว ทำให้การพองออกของเลนส์ตาธรรมชาติ ส่งผลให้ การอ่านหนังสือ หรือ ทำการกิจกรรมระยะใกล้ลำบากขึ้น ทั้ง 2 ภาวะ ไม่สามารถป้องกันได้
6.สายตาสั้น กับ สายตายาว หักล้างกันได้ การเกิดค่าสายตา สั้น และ ยาวตามวัย เกิดจากคนละกลไกเลย ดังนั้น ไม่สามารถหักล้างกันได้ แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น คนที่สายตาสั้น จะมีสายตายาวตามวัยเพิ่มมาด้วย จึงมีทั้งสองสายตา ในตาเดียวกัน
7.นอนอ่านหนังสือ เขียนหนังสือเอียง บ่งบอกว่ามีค่าสายตาเอียง คนที่สายตาปกติ กระจกตา จะมีลักษณะคล้ายลูกบอล คือ แนวตั้งและนอน มีรัศมีเท่ากัน แต่คนที่มีสายตาเอียง จะมีกระจกตา คล้ายลูกรักบี้ แปลว่าแนวตั้ง กับ นอน ไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อแสงผ่านกระจกตา จึงไม่ตกที่จุดเดียวกัน ซึ่งการนอนอ่านหนังสือ จะทำให้มีค่าสายตาเอียง จึงไม่เป็นความจริง