5 วิธีจัดระเบียบบ้าน ให้น่าอยู่ตามแบบฉบับผู้เชี่ยวชาญ
1.รื้อของออกมา แล้วค่อยจัดใหม่
การคืนพื้นที่ใช้สอยกลับมา คือ การรื้อของที่มีอยู่ออกมาเพื่อจัดระเบียบใหม่ ให้แบ่งสัดส่วน หรือ บริเวณ เพื่อลดระยะเวลา และความวุ่นวายในการจัดเก็บให้น้อยลง อย่างเช่น
- ห้องครัว เริ่มจากการจัดระเบียบตู้เย็น ตู้เก็บของ โซนเก็บจานชาม และโต๊ะทานอาหาร
- ห้องนอน จัดระเบียบจากส่วนที่ใช้บ่อยที่สุด เริ่มจากบริเวณโต๊ะทำงาน เตียงนอน ตู้เสื้อผ้า และตู้เก็บของ
- ห้องน้ำ จัดระเบียบตามสัดส่วนการใช้งาน เริ่มจากโซนอ่างล้างหน้า ตู้เก็บของ และบริเวณที่อาบน้ำ
- ห้องนั่งเล่น จัดระเบียบจากส่วนที่ใช้งานบ่อย และมองเห็นได้ง่ายที่สุด เริ่มจากบริเวณชั้นวางโทรทัศน์ ตู้เก็บของ โต๊ะกลาง และโซฟา
ซึ่งลำดับในการรื้อของออกมาจัดระเบียบ สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบ้านได้ โดยพิจารณาว่า บริเวณใดที่เมื่อรื้อของออกมาจัดระเบียบก่อน จะลดความซับซ้อนในการทำความสะอาด และการจัดเก็บได้ บริเวณใดที่มีสิ่งของที่ไม่ได้ใช้งาน สามารถนำไปทิ้ง เพื่อลดปริมาณสิ่งของได้มากที่สุด
2.เด็ดขาดกับการทิ้งของที่ไม่ได้ใช้
เป้าหมายในการจัดระเบียบบ้านให้น่าอยู่ และดูกว้างขวางมากขึ้น จะต้องมีความเด็ดขาดในการตัดใจทิ้งสิ่งของที่ไม่ได้ใช้ เพราะสิ่งของหลายอย่างอาจจะไม่ได้จำเป็นจริง ๆ ก็ได้
3.จัดหมวดหมู่สิ่งของ
ทฤษฎีการจัดบ้านของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดบ้านชาวญี่ปุ่น คุณมาริเอะ คนโด มาใช้ได้ แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
- หมวดหมู่ที่ 1 เสื้อผ้า โดยให้แบ่งพื้นที่เก็บเสื้อ กางเกง และชุดชั้นในให้ชัดเจน เพื่อความสะดวกสบายในการหยิบมาสวมใส่ เริ่มต้นจาก
- คัดแยกผ้าออกเป็น 3 กอง ผ้าที่ต้องการจะเก็บไว้ใช้ / ผ้าที่ไม่ใช้และจะนำไปบริจาค /ผ้าที่จะทิ้ง
- พับผ้า 3 ทบ และตั้งเรียงไว้ในลักษณะดังภาพ จะทำประหยัดพื้นที่ และหยิบใช้ได้ง่าย ไม่ต้องรื้อ
- ใช้กล่องจัดระเบียบสำหรับเสื้อผ้าชิ้นเล็ก ๆ อย่างเช่น กางเกงใน เสื้อชั้นใน ถุงเท้า ให้แยกสัดส่วนในเป็นระเบียบ และหยิบได้ง่าย
- หมวดหมู่ที่ 2 ของใช้ในครัว แยกหมวดหมู่ของใช้ในครัวออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ อย่าง ช้อน ซ่อม ตะเกียบ แก้วน้ำ เครื่องปรุง
- ใช้กล่องจัดระเบียบใส่ของแยกหมวดหมู่ ก่อนจะนำไปจัดวางในลิ้นชัก หรือชั้นวางของ ทำให้ดูไม่รก
- ใช้ภาชนะที่มีสีใส ใส่เครื่องปรุง หรือ ซอส ที่มีลักษณะเป็นซอง หรือถุง และจัดวางในลิ้นชักเดียวกัน ติดข้อความไว้ตรงหน้าภาชนะ เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบใช้
- ของจิปาถะในครัวที่ตุนไว้ และยังไม่ใช้ ให้พับเก็บใส่กล่องให้เป็นระเบียบ อย่างเช่น ถุงมือยาง ถุงขยะ ผ้ารองโต๊ะ
- หมวดหมู่ที่ 3 หนังสือ นอกจากการแยกหนังสือออกมาเพื่อจัดระเบียบแล้ว ยังสามารถแบ่งย่อยหมวดหมู่ของหนังสือ เพื่อความสะดวกสบายในการหยิบมาอ่าน
- จัดหมวดหมู่หนังสือ อย่างเช่น หมวดหนังสือนิยาย หมวดหนังสือสร้างแรงบันดาลใจ หมวดหนังสือให้ความรู้
- จัดระเบียบชั้นวางหนังสือ
- ทริคเพิ่มเติม คือ การกั้นผ้าม่านเล็ก ๆ ช่วยให้มองแล้วดูเรียบร้อยมากขึ้น
- หมวดหมู่ที่ 4 เอกสาร การจัดเก็บเอกสารต้องใช้เวลาในการพิจารณาความสำคัญของเอกสารนั้น ๆ เสียก่อน จัดหมวดหมู่ ดังนี้
- หมวดหมู่เอกสารรอการดำเนินการ อย่างเช่น จดหมาย ใบเรียกเก็บเงิน เป็นต้น
- หมวดหมู่เอกสารสำคัญ ที่จำเป็นต้องเก็บไว้เป็นการถาวร อย่างเช่น สัญญา แบบฟอร์มประกัน
- หมวดหมู่เอกสารจิปาถะ ที่ไม่ใช่เอกสารลับ แต่หยิบมาใช้บ่อย ๆ
- นำเอกสารแต่ละหมวดหมู่ มาคัดแยกใส่ซองไว้ ติดป้ายหน้าซองเพื่อให้หาเจอง่าย ๆ ก่อนจะนำไปเก็บเรียงใส่กล่องจัดระเบียบ
- หมั่นเคลียเอกสารที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อลดความรก
- หมวดหมู่ที่ 5 ของจิปาถะ คัดแยกหมวดหมู่ ดังนี้
- ใช้กล่องจัดระเบียบสีใส ในการคัดแยกสิ่งของ เพื่อให้ง่ายต่อการมองเห็น อย่างเช่น สมุดจด กุญแจ รีโมทต่าง ๆ ก่อนจะนำไปจัดวางในลิ้นชัก หรือเก็บไว้ในที่ที่หยิบใช้ได้ง่าย
- ใช้กล่องในการใส่ของใช้ที่ซื้อมาตุนไว้ อย่างเช่น ครีมบำรุงผิว สบู่อาบน้ำ เก็บใส่ตู้ให้เรียบร้อย
- หมวดหมู่ที่ 6 ของที่มีคุณค่าทางจิตใจ อาจจะกำหนดบริเวณที่นำสิ่งของเหล่านี้มาเก็บ เพื่อให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และกลายเป็นส่วนหนึ่งในการตกแต่งบ้าน ทำการจัดระเบียบหมวดนี้เป็นหมวดหมู่สุดท้าย
- ค่อย ๆ คัดแยกสิ่งของที่มีคุณค่าต่อความทรงจำ อย่างเช่น จดหมาย ภาพถ่าย และนำมาจัดกลุ่มให้อยู่ด้วยกันในอัลบั้มภาพ หรือกล่องเก็บของจดหมาย
4.ติดป้าย หรือ ฉลาก ช่วยจัดระเบียบได้มากขึ้น
การนำป้าย หรือ ฉลากมาติดไว้ที่กล่อง หรือ ลิ้นชัก ช่วยให้ได้รู้ง่าของที่อยู่ในนั้นเป็นหมวดหมู่อะไร และง่ายต่อการหยิบมาใช้งานในอนาคต
5.สร้างนิสัยในการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ
การสร้างนิสัยในการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ สามารถทำได้ยากกว่าการจัดระเบียบบ้าน แต่เมื่อฝึกฝนจนเป็นนิสัย เพียงแค่เริ่มฝึกฝนกับตัวเอง เมื่อไหร่ที่หยิบของมาใช้งานก็ให้เก็บเข้าที่เดิม หรือหากลืมแล้วกลับมาเห็น ก็ให้นำกลับไปเก็บเข้าที่ในทันที ทำไปเรื่อย ๆ จนเกิดความเคยชิน จะสามารถสร้างนิสัยในการจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบได้แล้ว และไม่ต้องเสียเวลาจัดระเบียบบ้านครั้งใหญ่บ่อย ๆ ด้วย