รู้หรือไม่ “กล้วย” ช่วยลดความเครียด
เรื่องของ “กล้วย”
- ฤทธิ์: เย็น
- ผู้ที่ควรกิน: คนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ที่ไม่ควรกิน: ผู้ที่ท้องเสียง่ายหรือผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหารเยอะ
- ประโยชน์ต่อร่างกาย: เส้นใยอาหารกระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก โพแทสเซียมช่วยขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกายและลดความดันโลหิต ไบโอตินกระตุ้นเมแทบอลิซึม
- เพิ่มเติม: เส้นใยอาหารในกล้วยกระตุ้นให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวช่วยให้ขับถ่ายสะดวก แต่การกินกล้วยขณะที่ท้องว่างหรือกินตอนเหนื่อยมักทำให้อาหารไม่ย่อย
- โดย ทุก 100 กรัม มีสารแอลดาลอยด์เฉลี่ย 18 มิลลิกรัม
ทุก 100 กรัม มีกรดทริปโดเฟนเฉลี่ย 12 มิลลิกรัม
ทุก 100 กรัม มีคาร์โบไฮเดรตเฉลี่ย 23.7 กรัม
ทุก 100 กรัม มีวิตามินซีเฉลี่ย 10 มิลลิกรัม -
ข้อควรระวัง!!
+ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปากแห้งและคอแห้ง
+ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก อุจจาระแข็งหรือถ่ายเป็นเลือด
+ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจหรือผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหาร
- ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือน เป็นไข้หวัด และผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ
- ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องเสีย ผู้ที่มีกรดในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเรื้อรังควรเลี่ยง
- ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคโตอักเสบ
-
ปริมาณที่ควรกินในแต่ละวัน
วิธีคำนวณ คือ 1 ส่วน 95 กรัม = กล้วยขนาดกลางประมาณ 1/2 หวี
+ ผู้ใหญ่
เพศชาย ควรกินผลไม้ 4 ผล/วัน
เพศหญิง ควรกินผลไม้ 3 ผล/วัน
ผู้สูงอายุ ควรกินผลไม้ 2-3 ผล/วัน
+ เด็ก
เด็กอายุระหว่าง 1-6 ขวบ ควรกินผลไม้ 1-2 ผล/วัน
เด็กอายุระหว่าง 7-18 ปี ควรกินผลไม้ 2 ผล/วัน
-
อาหารที่กินคู่กันได้และกินคู่กันไม่ได้
- กล้วย+วอลนัต =เสริมสร้างเมแทบอลิซึมของน้ำตาลกลูโคส
ผลลัพธ์: เมื่อกินกล้วยที่อุดมไปด้วยน้ำตาลกลูโคสคู่กับวอลนัตที่อุดมไปด้วยวิตามินกลุ่มบี วิตามินกลุ่มมีจะช่วยให้กระบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสสมบูรณ์และเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นพลังงาน
- กล้วย+โยเกิร์ต =ช่วยให้นอนหลับสบาย
ผลลัพธ์: กล้วยและโยเกิร์ตล้วนอุดมไปด้วยกรดทริปโตเฟน ทำให้สมองผ่อนคลายนอนหลับสบาย จึงมีประโยชน์ต่อผู้ที่มีปัญหาในการนอนหลับ
- กล้วย+มันเทศ ไม่เหมาะกับผู้ที่กำลังลดความอ้วน
- กล้วยและมันเทศมีแป้งมาก หากกินคู่กันร่างกายจะได้รับพลังงานมากเกิน
- กล้วย+ชา=กระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานผิดปกติ
ผลลัพธ์: กล้วยอุดมไปด้วยแป้ง การกินกล้วยทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดออกมามาก หากกินคู่กับชาที่มีสารแทนนิน สารทั้ง 2 ชนิดจะรวมตัวกันเป็นก้อน ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ทำงานผิดปกติ
เกริ่นมายืดยาว แล้ว “กล้วย” ช่วยลดความเครียดได้อย่างไรกันนะ ซึ่งมีการตรวจสอบจากหลายสำนักแล้ว พบว่า "กล้วย" มีสารอาหารที่ช่วยลดความเครียด ประกอบด้วย
-
สารแอลคาลอยด์ มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นระบบประสาท ทำให้เกิดความมั่นใจ
-
กรดทริปโตเฟน กล้วยเป็นผลไม้ที่มีกรดทริปโตเฟนสูงที่สุดในบรรดาผลไม้ กรดทริปโตเฟนช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล ช่วยให้นอน หลับสบาย กล้วยมีคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมกรดทริปโตเฟนได้ดีขึ้น จึงทำให้เห็นผลได้เร็ว
-
คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตในกล้วยมีคุณสมบัติช่วยให้สมองผ่อนคลาย ช่วยในการดูดซึมกรดทริปโตเฟนของเซลล์สมอง กระตุ้นการสร้างฮอร์โมนเซโรโทนิน ลดความเครียด และปรับสภาพจิตใจ
-
วิตามินบี 6 กล้วยมีวิตามินบี 6 เฉลี่ย 0.29 มิลลิกรัม/100 กรัม ช่วยสร้างฮอร์โมนเซโรโทนิน ช่วยเปลี่ยนน้ำตาลที่สะสมในเลือดให้เป็นน้ำตาลกลูโคส เพื่อให้สมองนำไปใช้งาน ช่วยให้อารมณ์แจ่มใสและบรรเทากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน
-
วิตามินซี วิตามินซีในกล้วยกระตุ้นการหลั่งสารอะดรีนาลีนสำหรับป้องกันความเครียด ช่วยปรับสภาพจิตใจ
ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดความเครียด คือ
- แก้อาการนอนไม่หลับ กล้วยมีกรดทริปโตเฟนที่เป็นยานอนหลับจากธรรมชาติ ทำงานร่วมกับคาร์โบไฮเดรตและวิตามินบี 6 ในการเพิ่มฮอร์โมนเซโรโทในสมอง ซึ่งช่วยลดกิจกรรมของสมอง ทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย จนเกิดความง่วงนอน ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับควรกิน
- ลดความเครียด สารแอลคาลอยด์ในกล้วยช่วยพื้นฟูระบบประสาท กรดทริปโตเฟน คาร์โบไฮเดรต วิตามินบี 6 และวิตามินซีช่วยลดความเครียด
- บรรเทากลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ร่างกายและจิตใจของเพศหญิงได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมน ช่วงก่อนมีประจำเดือนจึงมักมีอาการซึมเศร้า ตื่นเต้น วิตกกังวล และโมโหง่าย ความเข้มข้นของวิตามินบี 6 ในร่างกายช่วงนี้ก็ลดลงเช่นกัน การกินกล้วยที่มีคาร์โบไฮเดรตช่วยป้องกันอาการดังกล่าว ทั้งยังชดเชยวิตามินบี 6 ที่ขาดไปได้อีกด้วย
- ป้องกันภาวะประสาทเปลี้ย ความเครียดสะสมทำให้เกิดภาวะประสาทเปลี้ย วิตามินบี 6 และกรดทริปโตเฟนในกล้วยช่วยให้ระบบประสาททำงานตามปกติ การกินกล้วยในปริมาณที่พอเหมาะช่วยรักษาภาวะประสาทเปลี้ย
รู้งี้แล้ว ต้องรีบไปหา "กล้วย" กินกันนนนน......................
ป.ล. เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ที่
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือ กินเปลี่ยนชีวิต ด้วยอาหาร 100 ชนิดจากธรรมชาติ ผู้แต่งโดย เซียว เซียนโอ้ว, เฉิน จิ้นหมิง และ หลี่ เค่อเฉิง