อันตรายจากอาหารแปรรูปสูง (Ultra-processed food: UPF)
อาหารแปรรูปสูง (Ultra-processed Foods: UPF) หรือ อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูปมากเป็นพิเศษ หลากหลายขั้นหลายตอน ที่มีส่วนผสมประกอบไปด้วย สารเคมีต่าง ๆ สีผสมอาหาร สารให้ความหวาน เพื่อทำให้อาหารน่ารับประทาน มีรสชาติและรสสัมผัสดีขึ้น และช่วยยืดอายุในการเก็บรักษาได้นานขึ้น
ตัวอย่างอาหารแปรรูปสูง อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ขนมอบ ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยวบรรจุซอง น้ำอัดลม อาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ไอศกรีม มาการีน ซอสมะเขือเทศ นักเก็ตไก่ ไส้กรอก ฮอทด็อก มาการีน ซีเรียล แท่งพลังงาน โยเกิร์ตรสผลไม้ เป็นต้น
มีโทษต่อร่างกายอย่างไร?
แม้ว่ายังไม่มีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ จากผลการศึกษาในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษ (British Medical Journal )ซึ่งใช้ข้อมูลจากคนทั่วโลกกว่า 9.9 ล้านคน พบว่า การรับประทานอาหารแปรรูปสูงมีส่วนเกี่ยวโยงกับอาการป่วย อย่างเช่น
- โรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างเช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน และเส้นเลือดในสมองแตก
- โรคอ้วน
- โรคเบาหวานชนิดที่ 2
- โรควิตกกังวล โรคทางจิตเวช ประสาท และอารมณ์ ภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า
- โรคมะเร็ง
- ระบบทางเดินหายใจ
- ระบบทางเดินอาหาร
- ปัญหาการนอนหลับใน
การบริโภคอาหารแปรรูปมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายเสี่ยงขาดสารอาหารสำคัญ อย่างเช่น วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ และส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และผลกระทบต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย
บริโภคอย่างไรให้ปลอดภัย?
- ควรอ่านฉลากโภชนาการให้แน่ใจทุกครั้งว่าไม่มีส่วนประกอบที่มีเกลือ น้ำตาลและไขมันมากเกินไป ปัจจุบันได้มีการใช้สัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้วว่า มีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม
- การลดหวาน มัน เค็ม เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(Non communicable disease:NCDs) ที่สำคัญควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพแข็งแรงปลอดโรคปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดีห่างไกลโรค