หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ท่องโลกดึกดำบรรพ์: อเมริกาใต้ ทวีปสาปสูญ

โพสท์โดย samuraimasterj

ยุคไมโอซีน (Miocene period) (19-10 ล้านปีที่แล้ว) เป็นยุคที่เริ่มเฟื่องฟูทางวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อบคลาน และนก รวมถึงปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง โลกเริ่มเย็นตัวลงพร้อมกับความชื้นที่ลดน้อยลงไปในฝั่งยูเรเซีย กระนั้นเอง อเมริกาใต้ที่แยกเป็นเอกเทศ ยังไม่ได้เชื่อมต่อกับอเมริกาเหนือ ส่วนอื่นๆ ของโลกเริ่มประกอบกันมากมายแล้ว แต่กระนั้นเอง อเมริกาใต้และออสเตรเลียกลับไม่ได้ต่อกับทวีปอื่นแต่อย่างไรในช่วงเวลานี้

อเมริกาใต้เริ่มต้นขึ้นเป็นทวีปเอกเทศ ด้วยความที่ถูกตัดขาด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีบรรพบุรุษร่วมกันกับในออสเตรเลียก็ติดมาด้วย พวกมันคือ สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องหรือมาร์ซูเพียล (Marsupial) นั่นเอง พวกมาร์ซูเพียลนั้นมีความสามารถในการเผาผลาญพลังงานต่ำ และยังสามารถค่อยๆ เลี้ยงลูกในกระเป๋าหน้าท้องได้ จึงช่วยให้ตัวอ่อนรอดได้มากกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก นอกจากนี้ ยังพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรกที่มีเฉพาะในอเมริกาใต้อย่าง ซีนาร์ธ่า (Xenarthra) ที่เป็นกลุ่มรวมพวกสลอธ อาร์มาดิลโล่ และตัวกินมด นอกจากนี้ ระบบนิเวศในอเมริกาใต้ยุคนั้นก็มีสิ่งมีชีวิตมากมายที่แปลกตาอีกด้วย 

คุณเดินทางมายังพื้นที่ชุ่มน้ำสลับกับป่าละเมาะที่คล้ายป่าฝน พื้นที่แห่งนี้ในอนาคตจะกลายเป็นประเทศอาร์เจนติน่าในปัจจุบัน ตอนนี้เป็นป่าและแม่น้ำเต็มไปด้วยสัตว์หลายชนิด ในน้ำมีปลาแปลกๆ หลายชนิดที่คุ้นเคย แต่อย่างเผลอตกลงไปล่ะ ในน้ำมีปลาเมก้าปิรันย่า (Megapiranha) ปลากลุ่มปิรันย่าเริ่มถือกำเนิดในยุคนี้ แต่เมก้าปิรันย่านั้นกินทั้งเนื้อและสัตว์ และตัวใหญ่มาก โดยยาวถึง 60 เซนติเมตร เทียบกับปิรันย่าดำในปัจจุบันที่ใหญ่ถึง 50 เซนติเมตร เมก้าปิรันย่ามีกรามที่แข็งแรงกว่า 

(เมก้าปิรันย่า)

ตามชายฝั่งมีจระเข้เคแมนหลายชนิด มีสัตว์อื่นๆ ที่อาศัยอยู่รอบๆ ดูพวกมันแต่ละตัวสิ หน้าตาประหลาดมากๆ มีหนูขนาดใหญ่ที่ดูคล้ายคาปิบาร่า นี่คือ โฟบิโรมิส (Phoberomys) มันมีความยาวถึง 2 เมตร หัวกลมและขนาดตัวค่อนข้างใหญ่ พวกมันกินพืชตามพื้นที่ชุ่มน้ำ และข้างๆ กันมีสัตว์คล้ายแรด นี่คือ ท็อกโซดอน (Toxodon) ชื่อของมันแปลว่า ฟันคันศร มีความยาวถึง 4 เมตรและหนัก 2 ตัน ถึงจะคล้ายกับแรด แต่สัตว์ชนิดนี้เป็นสัตว์กีบ พวกมันมีสามนิ้ว แต่กลับไม่ใกล้เคียงกับแรดเลยจึงมีสกุลแยกของตัวเองอีกหาก พวกมันมีฟันกรามที่โค้งเข้าไปในปาก ใช้ในการบดหญ้าและพืชต่างๆ จากการศึกษาคาร์บอนไอโซโทปในฟอสซิลฟันกราม พบว่ามีคาร์บอนที่มาจากทั้งพืชในป่าดิบชื้นและพืชในทุ่งโล่งริมแม่น้ำอีกด้วย จึงเชื่อว่าท็อกโซดอนเป็นสัตว์ที่หากินได้ทุกสภาพแวดล้อมอีกด้วย

(โฟบิโรมิส)

(ท็อกโซดอน)

 

ขณะที่มีท็อกโซดอนตัวหนึ่งเดินลงไปที่ตลิ่งของแม่น้ำเพื่อดื่มน้ำ จู่ๆ น้ำกระจายขึ้นพร้อมกับนักล่าขนาดใหญ่พุ่งตัวขึ้นมางับขาหน้าของมัน จระเข้ขนาดยักษ์ที่มีหัวกลมงับแล้วกระชากร่างของเจ้าท็อกโซดอนให้ตกน้ำไป มันลงมือกัดคอของเหยื่อท่ามกลางเสียงกรีดร้อง ในจังหวะชุลมุนนี้เตือนสัตว์อื่นให้วิ่งหนีออกไปจากตลิ่งตรงนั้น นี่คือสุดยอดนักล่าในแม่น้ำ พูรูซอรัส (Purrusaurus) เป็นญาติในวงศ์เดียวกับพวกอัลลิเกเตอร์ จุดเด่นคือกรามขนาดใหญ่ที่กลมสั้นแต่มีแรงกัดมาก นักล่าชนิดนี้ยาวถึง 11 เมตร และนี่คงจะเป็นจระเข้ที่ใหญ่มากๆ ชนิดหนึ่งที่วิวัฒนาการด้านขนาดกลับมาทัดเทียบกลุ่มก่อนหน้าที่สูญพันธุ์ไปพร้อมกับไดโนเสาร์

(บน: พูรูซอรัส และ ล่าง: โมราซูคัส)

กระนั้นเอง ไม่ใช่จระเข้ทุกชนิดจะกินแต่สัตว์ใหญ่ ในน้ำยังมีจระเข้กลุ่มเคแมนที่มีปากยาวคล้ายตะโขง นี่คือ กริปโปซูคัส (Gryposuchus) พวกมันกินปลาต่างๆ รวมถึงเมก้าปิรันย่าในแม่น้ำ ด้วยปากที่ยาวคล้ายตะโขง ทำให้พวกมันตวัดจับเหยื่อกินได้โดยง่ายอีกด้วย และยังมี โมราซูคัส (Mourasuchus) ที่กรองกินปลาเล็กด้วยปากแบนคล้ายเป็ดอีกด้วย

(กริปโปซูคัส)

 

(ซอโรเซติส)

หลังนูนๆ ในแม่น้ำขยับขึ้นลงไปมา นั่นไม่ใช่จระเข้หรอกนะ ไม่ต้องกังวล นั่นคือ ซอโรเซติส (Saurocetes) พวกมันคือโลมาแม่น้ำที่เป็นญาติกับโลมาแม่น้ำอะเมซอน แต่ชนิดนี้มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยยาวถึง 6 เมตร คาดว่าโลมาเหล่านี้เคยมีบรรพบุรุษในทะเลมาก่อน แต่เมื่อแม่น้ำแคบลงและตัดขาดไป พวกมันจึงเริ่มวิวัฒนาการในน้ำจืดเพื่อใช้ชีวิตในที่แห่งนี้ การใช้คลื่นเสียงยังคงมีให้เห็น แต่พวกมันมีสายตาไม่ดีจากความมืดในแม่น้ำที่ขุ่นมัว และหัวที่โตเพื่อปล่อยคลื่นเสียงได้กว้างขึ้น ปากที่ยาวมีฟันแหลมคมคล้ายหมุดหลายชุดใช้ในการจับปลา พวกมันล่าต่างจากจระเข้ตรงที่ออกล่าเป็นฝูงนั่นเอง

(อ็อกโตไมโลดอน)

เมื่อออกมาจากแม่น้ำ เรามาดูป่าละเมาะและทุ่งหญ้ากันบ้าง ยังคงมีท็อกโซดอนให้เห็นอยู่อีกหลายชนิด แต่คุณก็ต้องประหลาดใจกับสัตว์ขนาดใหญ่ที่กำลังกินพืชบนต้นไม้ นี่คือ อ็อกโตไมโลดอน (Octomylodon) ถึงจะคล้ายหมีที่สูง 5 เมตรและหนัก 2 ตัน แต่นี่คือพวกสลอธบกยักษ์ พวกสลอธเป็นซีนาร์ธ่าที่ประสบความสำเร็จมาก พวกมันขยายขนาดตัวใหญ่ในการวิวัฒนาการเพื่อเข้าถึงผลไม้และใบไม้แสนอร่อยที่พุ่มไม้สูง ในยุคปัจจุบันเรากลับเหลือเพียงสลอธต้นไม้ที่ตัวเล็กและเอาชีวิตรอดได้มากกว่านั้น แต่ในยุคไมโอซีน ทุ่งหญ้าและป่าดิบชื้นมีต้นไม้ที่เป็นแหล่งอาหารของมันมากมายเลยทีเดียว ในอเมริกาใต้มีสลอธบกยักษ์อีกหลายชนิดแน่นอน

(ครากลิวิเชีย)

ขณะที่กำลังเดินอยู่ตามดงหญ้า มีตัวอาร์มาดิลโล่ที่ใหญ่ถึง 2 เมตรกำลังดมกลิ่นอาหาร เจ้าสัตว์ตัวนี้ใช้เล็บทลายรังปลวก แม้อเมริกาใต้ในยุคปัจจุบันจะมีอาร์มาดิลโล่ถึง 5 ชนิด แต่ในยุคไมโอซีนมีชนิดที่ตัวใหญ่ที่สุด นี่คือ ครากลิวิเชีย (Kragliviechia) พวกมันหากินทั้งพืชและสัตว์ ในตอนนี้มันกำลังใช้ลิ้นเลียกินปลวก เช่นเดียวกับตัวนิ่ม เปลือกที่หลังคล้ายกระดองเต่าคือขนที่พัฒนามาดีเป็นเกราะโดยเกิดจากการเรียงตัวของเคราตินที่พบในเส้นขนใช้ป้องกันตัวจากนักล่าและแมลงที่กัดพวกมัน คอยดูไปอีกนิดเถอะ เราอาจจะได้เห็นมันใช้เกราะก็ได้นะ

(อันดาลากอร์นิส)

ขณะที่คุณยืนดูห่างๆ มีนกขนาดใหญ่สูงถึง 3 เมตร คอยาว หัวโตมีจะงอยปากโค้งแหลมวิ่งเข้ามาในพื้นที่ก่อนจะกระโจนจิกเจ้าครากลิวิเชีย เจ้าอาร์มาดิลโล่ยักษ์ม้วนตัวหดแขนขาเข้าไปในเปลือกกระดองของมันคล้ายกับลูกบอล นกยักษ์พยายามจิกไปมาแต่ทำอะไรไม่ได้เลย แถมตัวมันก็หนักเกินจะจับยกกระทุ้งด้วย นี่คือ อันดาลากอร์นิส (Andalagornis) เป็นนกยักษ์ที่คล้ายกับนกกระจอกเทศ แต่พวกมันถูกจัดอยู่ในวงศ์แยกและไม่ได้เกี่ยวข้องกับนกกระจอกเทศ พวกนกนักล่าที่บินไม่ได้เหล่านี้ถูกเรียกว่า ฟอรัสราคิดหรือนกสยองขวัญนั่นเอง  (Phorusrachidae/Terror bird)

(ดิอาดิอาฟอรัส)

 (ไทลาโคสไมลัส)

แต่ว่า นกที่คล้านกกระจอกเทศที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันก็มีให้เห็น นกเรีย (Rhea) ซึ่งคล้ายกับนกกระจอกเทศขนาดย่อมๆ ก็มีให้เห็นประปราย พวกมันกำลังเดินคุ้ยเขี่ยหาอาหารไปตามทุ่งหญ้ามากมาย และข้างๆ กันมี ดิอาดิอาฟอรัส (Diadiaphorus) เป็นญาติของท็อกโซดอนที่เปรียวกว่าและคล้ายม้ามาก พวกมันกลับอยู่ร่วมกันในทุ่งหญ้าได้อย่างดี ขณะที่กำลังกินอาหารนั่นเอง นักล่าขนาดใหญ่คล้ายเสือที่มีคางยื่นย้วนน่าเกลียดพุ่งออกมาจับดิอาดิอาฟอรัสตัวหนึ่งจนล้มแล้วเริ่มใช้เขี้ยวที่ยาว 1 ฟุตกัดเข้าไปที่คอหอยของเหยื่อจนอีกฝ่ายแน่นิ่งไป นี่คือมาร์ซูเพียลนักล่าขนาดใหญ่ มีนามว่า ไทลาโคสไมลัส (Thylacosmilus) มาร์ซูเพียลขนาดใหญ่ที่ยาวถึง 2 เมตร มีกรามขนาดใหญ่ที่มีถุงยื่นเป็นช่องสำหรับเก็บเขี้่ยวขนาดใหญ่ของมัน 

ทั้งบนบกและในน้ำมีนักล่าต่างกันไป แต่สิ่งมีชีวิตในอเมริกาใต้จะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับนักล่าแสนดุร้ายเหล่านี้ พวกมันจะต้องป้องกันตัว หลบหลีก และต่อสู่เพื่อเอาชีวิตรอด ตราบใดที่อเมริกาใต้ยังไม่เชื่อมต่อกับอเมริกาเหนือ ทวีปแห่งนี้ยังคงมีสภาพเป็นเช่นนี้อีกเล็กน้อย

 

ตอนต่อไป เดินทางไปยังประเทศไทยในยุคไมโอซีนตอนกลาง เมื่อทวีปเอชียเชื่อมต่อกัน ประเทศไทยจึงเป็นศูนย์รวมสรรพสัตว์ ราวกับป่ามายาในตำนาน ที่แห่งนี้มีสัตว์มากมายหลายชนิด จะมีอะไรรอเราอยู่กันแน่ โปรดติดตามตอนต่อไปใน ท่องโลกดึกดำบรรพ์!

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
samuraimasterj's profile


โพสท์โดย: samuraimasterj
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ปลัดสาวเมาขับ ชนเด็กเสียชีวิตเหยื่อปลัดสาวเมาขับ เสียชีวิตเพิ่มระทึก! ลูกชายวิ่งขอความช่วยเหลือทั้งที่เจ็บหนัก หลังอุบัติเหตุชนกองข้าวตากบนถนน บุรีรัมย์จากหลอนกลายเป็นฮา หนุ่มเจอต้นเหตุผีอำ ชาวเน็ตแห่แชร์คลิปสุดไวรัลตำรวจเตือนหญิงขับสกุ๊ตเตอร์ไฟฟ้าขึ้นถนนใหญ่ เจอสวนกลับ ถ้าห้ามขับไปบอกร้านว่าห้ามขายสิ"Dabbawala" อาชีพเก่าแก่แห่งเมืองมุมไบขนม เม้นท์ เลี้ยงลูกเป็นเพื่อนกันนะ หลังครูเต้ยโพสต์คลิป
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ฮาลั่น! คำตอบของหนูน้อยไร้เดียงสาที่มาประกวดนางนพมาศ..รับรองขำแน่นอนฮาวทูเสิร์ฟข้าวผัดไก่ให้ถูกใจลูกค้าฝรั่ง พนักงานทำดี ทำถึง เดินเสิร์ฟเฉย ๆ มันธรรมดาไปสินะ"Dabbawala" อาชีพเก่าแก่แห่งเมืองมุมไบระทึก! ลูกชายวิ่งขอความช่วยเหลือทั้งที่เจ็บหนัก หลังอุบัติเหตุชนกองข้าวตากบนถนน บุรีรัมย์
ท่องโลกดึกดำบรรพ์: บ่อน้ำมันดิบยุคหินท่องโลกดึกดำบรรพ์: ออสเตรเลียแดนใต้ลึกลับท่องโลกดึกดำบรรพ์: คนแคระกลุ่มสุดท้ายแห่งเกาะภูเขาไฟท่องโลกดึกดำบรรพ์ เมื่อทวีปอเมริกาเหนือ เชื่อมเข้ากับทวีปอเมริกาใต้
ตั้งกระทู้ใหม่