Pets Therapy 4 สัตว์เลี้ยงแสนน่ารัก บำบัดใจ บำบัดความเครียด
Cat Therapy น้องเหมียวบำบัด ลักษณะนิสัยของแมวมีนิสัยที่ซน ขี้อ้อน รักอิสระ เหมาะกับสำหรับผู้ที่ชอบให้สัตว์เลี้ยงคลอเคลียและชอบอยู่ใกล้เจ้าของเสมอ
มีหลายการศึกษา พบว่า การเลี้ยงแมว ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า สามารถช่วยเยียวยา จิตใจ ช่วยให้รู้สึกคลายกังวล โดยเสียงเพอร์ (Purr) ที่ออกจากลำคอของแมวนั้นอยู่ในช่วงความถี่ 20-140 เฮิรตซ์ เป็นช่วงความถี่ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย กระตุ้นการสร้างสมาธิ ลดความเครียดและความดัน และสร้างบรรยากาศที่อบอุ่นได้อย่างน่าทึ่ง
ช่วงความถี่ดังกล่าว ยังช่วยลดความเสี่ยงหัวใจวาย ช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูก การสั่นจากเสียงเพอร์ยังช่วยลดการติดเชื้อ อาการบวม และเร่งการฟื้นฟูกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น การเลี้ยงแมว ช่วยรักษาโรคอัลไซเมอร์ ออทิสติก และสมาธิสั้น ทำให้จิตใจสงบ ไม่คิดฟุ้งซ่านได้
Dog Therapy น้องตูบบำบัด สุนัขเป็นสัตวเลี้ยงยอดฮิตของทั่วโลก ความน่ารัก ซื่อสัตย์ และความกระตือรือร้น ทำให้เจ้าของมีกิจกรรมเล่นสนุกอยู่เสมอ
สุนัขบำบัดหรือที่เรียกว่า Therapy Dog จะต้องได้รับการฝึกฝนมาเป็นอย่างดีให้มีความอ่อนโยน เป็นมิตร และตอบสนองในทางบวก สุนัขสามารถสังเกตความเปลี่ยนแปลง และรู้วิธีสนองตอบกับคนที่มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น วิตกกังวล ความกลัว ความเครียด เป็นต้น
ไม่ได้หมายความว่า สุนัขที่ไม่ได้รับการฝึกฝนจะบำบัดคนไม่ได้ เพราะเคยมีงานวิจัยเปรียบเทียบอัตราการอยากฆ่าตัวตายของคนที่อยู่คนเดียว กับคนที่เลี้ยงสุนัขหรือแมวพบว่า คนที่เลี้ยงสุนัขหรือแมวนั้นมักมีภาวะเสี่ยงกับโรคซึมเศร้าได้น้อยกว่า เพราะแทนที่จะจดจ่ออยู่กับความทุกข์หรือความเหงาของตัวเอง ก็ไปจดจ่ออยู่กับสัตว์เลี้ยงแทน
ในเมืองไทยเองก็เคยมีโครงการ ‘สุนัขบำบัด’ เยียวยาจิตใจให้ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โดยโรงพยาบาลมหาวชิราลงกรณธัญบุรี โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคมะเร็ง ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางเลือกเพื่อสร้างความผ่อนคลาย เบี่ยงเบนความรู้สึกจากความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยมะเร็ง และคงไว้ซึ่งคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม
Bird Therapy น้องวิหคบำบัด เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีทั้งความสวยงาม และนิสัยที่แสนรู้ จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่ง กับผู้ที่กำลังที่ต้องการสัตว์เลี้ยงเพื่อช่วยในการผ่อนคลาย
การบำบัดด้วยนก เป็นวิธีที่ช่วยลดความเครียด มีการศึกษาวิจัย และการใช้งานจริงแล้วพบว่า การให้กลุ่มผู้สูงอายุมาดูแลนก ทำให้มีสภาพอารมณ์ที่ดีขึ้น ช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของ ‘วิหคบำบัด’ ศาสตร์การบำบัดอาการซึมเศร้าด้วยนก อีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่มีทั้งความสวยงาม และนิสัยที่แสนรู้ โดยเฉพาะนกในตระกูลนกแก้ว นกขุนทอง เป็นนกที่มีความ ซน ช่างพูด ช่างเจรจา ที่สามารถเลี้ยงไว้คลายเหงาเป็นเพื่อนชวนคุยได้
Fish Therapy น้องมัจฉาบำบัด เหมาะกับนิสัยคนที่รักความสันโดด ไม่ชอบความวุ่นวาย การเลี้ยงปลาทำให้ผู้เลี้ยงรู้สึกสดชื่น เหมือนได้รับการพักผ่อน เพราะจะไม่มีเสียงร้องรบกวน หรือคอยกวน
‘มัจฉาบำบัด’ (fish therapy) ถูกใช้ในทางการแพทย์มานานแล้ว โดยเฉพาะโรคผิวหนังชนิดต่าง ๆ อย่างเช่น สะเก็ดเงิน (psoriasis) โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (eczema) เป็นต้น รวมถึงปลายังเป็นนักบำบัดทางใจ การันตีด้วยหลาย ๆ การศึกษาพบว่า
- การเลี้ยงปลาจะช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น ลดความวิตกกังวล และคลายเหงา โดยเฉพาะปลาในกลุ่มปลาสวยงาม สีสันของปลามีส่วนช่วยให้ลดความเครียดคลายกังวลได้ อย่างเช่น ปลาเงิน ปลาทอง ปลาคาร์ฟ เป็นต้น
- การเลี้ยงปลาช่วยคลายเครียดให้กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคความดันโลหิตได้ เพราะช่วยลดความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจได้
- ปลาในตู้เลี้ยงปลา หรือ อะควาเรียม ช่วยให้ผู้ที่มีอาการสมองเสื่อมในสถานพักฟื้นผู้ป่วยสมองเสื่อม (dementia unit) มีอาการดีขึ้นในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการนอน อารมณ์หงุดหงิด พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และการไม่ร่วมมือ เป็นต้น
- ในกลุ่มเด็กพิเศษโดยเฉพาะในห้องเรียน หรือห้องบำบัด การมองดูปลาในตู้ปลา ช่วยลดพฤติกรรมก่อกวน (disruptive behavior) ลดความเครียด ความวิตกกังวล และช่วยให้สงบอารมณ์ได้ง่าย (calming effect) เป็นต้น