ห้องน้ำสาธารณะ ใช้อย่างไร ? ห่างไกลเชื้อโรค
การทดลองสุดที่เราอาจไม่เคยรู้
นักจุลชีวินวิทยา แจ็ค กิลเบิร์ต จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติอิลลินอยด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญที่เคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในห้องน้ำสาธารณะยืนยันว่า ห้องน้ำที่สภาพแวดล้อม เย็น แห้ง และสะอาดสะอ้าน ทำให้แบคทีเรียส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เป็นเวลานานๆ ผิดกับ ห้องน้ำที่มีอากาศชื้นและ อุ่น รวมทั้งมีเศษอาหารสกปรกตกอยู่ตามพื้นจำนวนมาก ซึ่งเป็นเหตุให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีและมีชีวิตได้นานกว่า
ความเสี่ยงอาจจะเกิดโรคเหล่านี้จากการใช้ห้องน้ำสาธารณะ
ห้องน้ำสาธารณะถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคอย่างดี โดยเฉพาะเชื้อโรคหลักๆ มีอยู่ 2 กลุ่มคือ
1.เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อย่างเช่น อาการตกขาวเพราะติดเชื้อในช่องคลอด หนองใน เริม
2.เชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร อย่างเช่น ท้องร่วง ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
ฉะนั้นก่อนเข้าห้องน้ำควรเตรียมพร้อม เพื่อความปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงติดโรคต่าง ๆ ตามมาได้
1.เลือกห้องน้ำที่ไม่ค่อยมีคนใช้ เลือกห้องน้ำที่ไม่อยู่ในแหล่งคนพลุกพล่าน
2.อย่าสัมผัสโดยตรง หลีกเหลี่ยงการจับอุปกรณ์และพื้นผิวในห้องน้ำด้วยมือเปล่า ให้ทิชชูรองก่อนจับ
3.กดชักโครกก่อนทำธุระ ปิดฝาชักโครกก่อนกดทุกครั้ง ป้องกันการฟุ้งกระจายของเชื้อโรค
4.ทำความสะอาดก่อนนั่ง ใช้กระดาษทิชชูแบบเปียกชนิดฆ่าเชื้อเช็ดฝารองนั่ง หรือ วางกระดาษทิชชูแบบธรรมดาก่อนนั่ง
5.ใช้เวลาให้น้อยที่สุด เมื่อทำธรุเสร็จควรรีบออกมาทันทีแต่ไม่จำเป็นต้องเร่งรีบ
6.ไม่เหยียบโถส้วม หลายคนคิดว่าวิธีนี้จะสะอาด แต่หากทำธุระอาจมีการกระเด็ดของน้ำในโถ ซึ่งเปื้อนเชื้อโรคได้มากกว่าแบบนั่งธรรมดา
7.ไม่ตักน้ำที่เปิดไว้ในอ่างของห้องน้ำ การทำความสะอาดควรรองน้ำจากก๊อกน้ำโดยตรง
8.ล้างมือทุกครั้งทั้งก่อน - หลังเข้าห้องน้ำ