หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ท่องโลกดึกดำบรรพ์: ยักษ์ใหญ่แห่งแดนทะเลทราย

โพสท์โดย samuraimasterj

ยุคโอลิโกซีน (Oligocene era) เป็นยุคที่เริ่มตั้งแต่ 32-20 ล้านปีที่แล้ว ยุคนี้เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่แอฟริกาเชื่อมต่อกับยุโรปและตะวันออกกลาง อินเดียต่อกับทวีปเอเชียกลางยกตัวขึ้นเป็นเทือกเขาหิมาลัย อเมริกาเหนือและใต้ยังคงแยกกันเอกเทศ และเอเชียตะวันออกเริ่มมีการขยับขึ้นลงของรูปทรงทวีปอยู่ เป็นช่วงเวลาก้าวกระโดดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายๆ ชนิดที่วิวัฒนาการขึ้นมามากมาย และมีสัตว์หลายๆ กลุ่มพัฒนาขึ้นมามากขึ้น วันนี้ เราจะพาทุกท่านเดินทางไปยังหมวดหินฮซันดา กอล (Hsanda Gol formation) ในประเทศมองโกเลียตะวันออก ถ้าสนใจแล้วไปดูกันเลย!

เมื่อโลกเริ่มเย็นตัวลง ทะเลทรายและทุ่งหญ้าในซีกโลกเหนือกระจายตัวขึ้น พืชเขตหนาวอย่างสน โอ๊ก เบิร์ช ท้อ แอ็ปเปิ้ล และเฮล์มก็ปรากฏขึ้นในซีกโลกเหนือแล้ว หญ้าเองก็เฟื่องฟูที่สุดในยุคนี้และกลายเป็นพืชอีกกลุ่มที่กระจายพันธุ์มามากขึ้น แต่ที่ฮซันดา กอล เป็นทะเลทรายและกึ่งทุ่งหญ้าเสียมาก ดูคล้ายกับทุ่งหญ้าซะวันน่าแถบแอฟริกาซับซาฮาร่า กระนั้นเอง ในสถานที่แห่งนี้ ก็มีสิ่งมีชีวิตมากมายอาศัยกันอยู่นะ

(โปรลากัส)

เมื่อคุณเดินทางไปตามร่องเขา ต้นไม้ขนาดใหญกลุ่มเฮลม์และอาเคเชียขึ้นสูงตระหง่าน มีสัตว์เล็กๆ จำพวกกระต่ายดึกดำบรรพ์อย่างโปรลากัส (Prolagus) เป็นกระต่ายยุคแรกๆ ที่วิวัฒนาการขึ้นมา พวกมันใช้ประโยชน์จากขนาดตัวที่เล็กและว่องไวในการกินพืชพุ่มเตี้ยตามพื้นทรายต่างๆ ได้ กระนั้นเองก็ยังสามารถขยายพันธุ์ได้มากเช่นกันด้วยอัตราการเมตาบอลลิซึ่มที่รวดเร็ว แต่ก็แลกมากับการกินอาหารจำนวนมากให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายด้วย กระนั้นเอง กระต่ายชนิดนี้ก็เป็นสัตว์เล็กๆ ที่อยู่ล่างสุดของห่วงโซ่อาหาร

(นิมราวัส)

เมื่อคุณมองดู คุณก็ได้เห็นสัตว์คล้ายแมวป่าขนาดใหญ่ขึ้นมาเล็กน้อย มันมีเขี้ยวยาวจากกรามบนดูโดดเด่นหนึ่งคู่ ความยาวพอๆ กับสุนัขขนาดกลางและตัวเรียวบาง นี่คือ นิมราวัส (Nimravus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อดึกดำบรรพ์ที่คล้ายกับแมวป่า เป็นญาติห่างๆ ของสัตว์ตระกูลแมว มีเขี้ยวยาวใช้เจาะคอหอยของเหยื่อให้ตายสนิทคล้ายเสือเขี้่ยวดาบ นิมมาวารัสย่อตัวรอกระต่ายน้อยเข้ามาใกล้แล้วรีบคว้าเหยื่อในทันที กัดเพียงไม่กี่ครั้งก็จับเหยื่อให้ตายได้ นิมมาวารัสรีบคาบเหยื่อของมันก่อนจะวิ่งขึ้นไปข้างบนต้นไม้ บนพื้นดินของทะเลทรายช่วงบ่ายๆ ที่แดดเริ่มน้อยลงทำให้เหล่าสัตว์นักล่าอื่นๆ ที่รอหากินก็ออกมาแย่งอาหารกันอีกด้วย

(พาราเซราเธอเรี่ยม)

เดินมาต่ออีกนิด คุณก็ต้องสะเทือนต่อเสียงฝีเท้าขนาดใหญ่ที่เบา และแล้ว สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประหลาดสี่ขาคอยาวเดินออกมาจากแมกไม้ หน้าตาของมันดูน่ากลัว เสียงฟืดฟัดจากจมูกพ่นลมหายใจราวกับโกรธเกรี้ยว นี่คือ พาราเซราเธอเรี่ยม (Paraceratherium) สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ เป็นญาติของแรดและสมเสร็จ พวกมันมีกีบเท้าสามกีบในแต่ละนิ้ว มีความสูงถึง 4 เมตรจากหัวไหล่ และยาวจากหัวจรดหางถึง 8 เมตร นอกจากไดโนเสาร์แล้ว สัตว์ที่สูงใหญ่ขนาดนี้ในยุคปัจจุบันก็หาตัวไหนเทียบไม่ได้ พาราเซราเธอเรี่ยมวิวัฒนาการคอที่ยาวคล้ายยีราฟเพื่อเข้าถึงยอดไม้อ่อนบนต้นไม้ และขนาดตัวที่ใหญ่กับขายาวใช้ในการป้องกันตัวจากนักล่า แถมยังมีขายาวในการเดินทางอพยพระยะไกลด้วย พวกมันไม่ได้อยู่เป็นฝูงใหญ่แบบช้าง แต่อยู่กันอย่างหลวมๆ กระจายออกไป

(ยูเมริกซ์)

เมื่อคุณดูการกินของพาราเซราเธอเรี่ยม มันใช้ริมฝีปากที่ยืดคล้ายงวงค่อยๆ รูดและริดใบไม้เข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีพฤติกรรมการกินอาหารแปลก แต่สิ่งนี้คือการปรับตัวเพื่อกินอาหาร แรดบางชนิดในปัจจุบันก็มีริมฝีปากที่ริดอาหารกินได้แบบนี้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีสัตว์อื่นมาร่วมกินอาหารด้วยกันอีกด้วย อย่างสัตว์กีบคู่รูปร่างคล้ายกวางที่ตัวใหญ่พอๆ กับวัวปัจจุบันอย่าง ยูเมริกซ์ (Eumeryx) ถึงจะมีหน้าตาเช่นนี้ แต่สัตว์ชนิดนี้เป็นญาติห่างๆ ของยีราฟ พวกมันกินใบไม้และกิ่งไม้ที่หักจากการขย่มกินของสัตว์ใหญ่อย่างพาราเซราเธอเรี่ยมอีกด้วย ยูเมริกซ์นั้นอยู่กันเป็นฝูง ด้วยความที่พวกมันตัวเล็กกว่า จึงต้องอยู่กันหลายๆ ตัวเพื่อป้องกันตัวจากนักล่า

(ไฮยีโนดอน)

ขณะที่มียูเมริกซ์กลุ่มหนึ่งเดินแยกตัวออกมา จู่ๆ มีสัตว์คล้ายหมาป่าวิ่งออกมาจากพุ่มไม้กระโจนเข้าไปกดหนึ่งในนั้นแล้วกัดที่ลำคอ เสียงกระดูกแตกพร้อมกับเสียงแผดร้องอย่างทรมานของเหยื่อดังขึ้น นี่คือ ไฮยีโนดอน (Hyeanodon) ไม่ใช่ญาติของสุนัขหรือแมว และถึงจะมีชื่อแบบไฮยีน่า นี่กลับไม่ใช่ได้เกี่ยวข้องกัน พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อที่พิเศษมากจนนักวิทยาศาตร์จัดแยกอนุกรมวิฐานของพวกมันเป็นอันดับแยกอีกที ไฮยีโนดอนมีจุดเด่นที่ฟันกรามเลื่อยขนาดใหญ่และการกัดที่เน้นการบดเหยื่ออย่างแรง จะไม่ใช่การกัดเข้าที่จุดตายสำคัญของเหยื่อ ดังนั้น เหยื่อจึงจะตายช้ากว่าและทรมานมากกว่าจากการโจมตีแบบนี้ มีไฮยีโนดอนถึงห้าชนิดอาศัยอยู่ในหมวดหินฮซันดา กอลแห่งนี้ ชนิดที่ใหญ่ที่สุด ก็คือไฮยีโนดอน กีกัส (Hyeanodon gigas) ซึ่้งยาวถึง 4 เมตรและหนัก 2 ตัน ยาวกว่าเสือโคร่งเพียงเล็กน้อย ซึ่งก็คือชนิดที่คุณกำลังเห็นมันลงมือกินเหยื่ออยู่ข้างหน้านี่เอง

(เอนเทโลดอน)

ตอนนี้คุณเดินหลบมาอยู่ใต้ต้นแป๊ะก๊วย นี่ก็เป็นพืชอีกกลุ่มที่หลงเหลือมาจากยุคของไดโนเสาร์และรอดมาจนถึงทุกวันนี้ ในยุคโอลิโกซีน พวกมันก็เจอได้ตามทุ่งหญ้าและทะเลทราย เพราะเป็นแหล่งอาหารสำคัญของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีสัตว์หน้าตาคล้ายหมูที่มีขายาวและหน้ายื่นกำลังขุดคุ้ยกินลูกแป๊ะก๊วย นี่คือ เอนเทโลดอน (Entelodon) เป็นสัตว์ในวงศ์เดียวกับฮิปโปและวาฬซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับหมู และนี่คือ ตัวอย่างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่กินทั้งพืชและสัตว์ มันมีทั้งฟันตัด ฟันเขี้ยว และฟันบด นอกจากจะกินเนื้อแล้ว พวกมันยังกินพืชเพื่อเสริมสารอาหารอีกด้วย แต่แน่นอน เวลาพวกมันออกล่า ด้วยฟันตัดและฟันเขี้ยวที่คมกริบ การกัดนี้บดกระดูกและกล้ามเนื้อของเหยื่อได้ดีทีเดียว เอนเทโลดอนปกติแล้วยาวได้ถึง 4 เมตรและหนัก 2 ตัน จัดเป็นนักล่าขนาดใหญ่อีกชนิดเลยในพื้นที่แถบนี้

 

ตอนนี้มีบางสิ่งดึงดูดความสนใจของเอนเทโลดอน มันจึงออกวิ่งไปในทันที กลิ่นเหม็นคาวชวนอ้วกดึงดูดนกแร้งและเหยี่ยวให้เข้ามากินซาก นี่คือซากของพาราเซราเธอเรี่ยมวัยอ่อน แม่ของมันแท้งลูกตัวนี้และก็ยังยืนเฝ้าซากมาได้สองวันกว่าๆ แล้ว สัตว์กินซากจึงมายืนรอรวมกันเพื่อกันอาหารมื้อใหญ่ ดูสิ! มีเอนเทโลดอนจำนวนมากกำลังวิ่งเข้ามากินมันเยอะแยะเลย

และแล้ว แม่พาราเซราเธอเรี่ยมก็ทำสิ่งที่ไม่คาดคิด นี่คือสิ่งที่ไดโนเสาร์หรือสัตว์น้อยชนิดจะมี สัญชาติญานในการดูแลลูกและความหวงแหนในสายใย เราอาจจะไม่รู้ว่าพวกมันคิดลึกซึ้งได้ขนาดนี้เชียวหรือ แต่ขนาดสัตว์ใหญ่อย่างช้างหรือแรดก็ยังเฝ้าลูกได้เลย เจ้ายักษ์ส่งเสียงร้องและกระทืบเท้าเตือนสัตว์กินซากให้ถอยออกไป พวกนกแร้งบินขึ้นฟ้า ฝูงเอนเทโลดอนวิ่งเข้าไปและคำรามพร้อมกับเริ่มจะกัดไปที่ขาและลากซากหนี แม่ของพาราเซราเธอเรียมวิ่งเข้ามาและใช้หน้าแข้งยาวสี่เมตรเตะนักล่าที่เข้าใกล้ลูกของมัน เอนเทโลดอนตัวแล้วตัวเล่าถูกเตะกระเด็นจนเริ่มล่าถอยเพราะสู้ไม่ได้ ขณะที่สู้กัน มีเอนเทโลดอนตัวหนึ่งเข้ามากัดซากและคาบชิ้นเนื้อหนีไปได้ เจ้าตัวนี้ถือว่าเลือกได้ดี หากยังดันทุรังเข้าไปลากซากทั้งตัวมากิน อาจจะต้องถูกหน้าแข้งเตะฟาดจนบาดเจ็บทำให้การล่าลำบากขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว

หมวดหินฮซานดา กอล เป็นหมวดหินที่สำคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายๆ กลุ่ม และช่วยให้เราเข้าใจรูปลักษ์ การเปลี่ยนแปลง วิวัฒนาการและสภาพแวดล้อมของโลกที่ทรหดและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้ แต่ว่า ในยุคต่อๆ ไป สภาพแวดล้อมแบบนี้ก็จะค่อยๆ ทยอยหดหายไปจากการเข้ามาของสัตว์กลุ่มใหม่ๆ อย่างแน่นอน

 

ตอนต่อไปเดินทางไปยังอเมริกาเหนือในยุคโอลิโกซีน ไปยังดินแดนที่มีชื่อว่าอาเกต ฟอร์เมชั่น เมื่ออเมริกาไร้ซึ่งไดโนเสาร์ และมีสัตว์ที่วิวัฒนาการขึ้นมามากมาย มีทั้งตัวที่แปลก ตัวที่ดุร้าย และตัวที่ว่องไว จะมีอะไรรอเราอยู่กันแน่ โปรดติดตามใน ท่องโลกดึกดำบรรพ์!

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
samuraimasterj's profile


โพสท์โดย: samuraimasterj
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: ลิลลี่ ไมโครนอส
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
วุ่นสนามบิน! สาวนอนโพสต์ท่าบนสายพานสัมภาระ ทำชาวเน็ตวิจารณ์สนั่น"กระบี่ไร้เทียมทาน" แต่โชคชะตาของ ‘ฮุ้นปวยเอี๊ยง’ นั้นแสนอาภัพรีวิวหนังดัง JOKER โจ๊กเกอร์"มัสก์" เผยไม่สนว่าใครจะฆ่า "ทรัมป์" หรือ "แฮริส"สวยแต่มีพิษ แมงกระพรุน Carabelaโหนกระแสเดือด! "ครูเบญ" สอบติดครูแต่ชื่อหาย ผอ.แจงกลางรายการ คนดูงงหนัก!บุคคล​ในประวัติศาสต​ร์​จีนจงอางยักษ์!บุกเล้าหวังเขมือบไก่ ถูกตาข่ายพันยังไม่สิ้นฤทธิ์ผักกะโดน โดนใจ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ผอ. อ้าง ‘ครูเบญ’ สอบไม่ผ่านแต่แรก จนท.ทำข้อมูลชื่อที่ 1 ผิดโหนกระแสเดือด! "ครูเบญ" สอบติดครูแต่ชื่อหาย ผอ.แจงกลางรายการ คนดูงงหนัก!โหนกระแสวันนี้ อย่างเดือด!!!! ครูเบญ มาเรียกร้องขอความเป็นธรรม จากที่มีชื่อว่าสอบได้ที่ 1 ผ่านไป 3 วันชื่อหาย กลายเป็นชื่อคนอื่นมาแทนวุ่นสนามบิน! สาวนอนโพสต์ท่าบนสายพานสัมภาระ ทำชาวเน็ตวิจารณ์สนั่นรีวิวหนังดัง JOKER โจ๊กเกอร์
ท่องโลกดึกดำบรรพ์: อเมริกาใต้ ทวีปสาปสูญท่องโลกดึกดำบรรพ์: ดินแดนแห่งหยกและซาฟารีท่องโลกดึกดำบรรพ์: ราชันแห่งท้องทะเลและราชันแห่งผืนปฐพีไทแรนโนซอริดตัวใหม่ ของกวางโจว
ตั้งกระทู้ใหม่