"แพงทั้งแผ่นดิน" ไม่ใช่แค่ความรู้สึก แต่มันคือความจริง เสียงสะท้อนจากประชาชน
ของราคาแพง เป็นอะไรที่ทุกคนบ่นกันหมด ถ้าใครลองสังเกตดูว่าราคาข้าวของที่เราใช้มีการปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การที่ข้าวของแพงขึ้นแบบนี้เขาเรียกว่า “เงินเฟ้อ” เหตุผลหลัก ๆ ประกอบไปด้วย 3 สาเหตุ ก็คือ
1. Cost-Push Inflation
สภาวะที่ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เมื่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นแน่นอนว่าเจ้าของกิจการก็ต้องมีการขึ้นราคาสินค้ากันบ้าง ส่วนใหญ่ก็จะปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อรักษากำไรของตัวเองเอาไว้ ไม่สามารถลดบริมาณได้ ขอปรับราคาขึ้นแต่คุณภาพเท่าเดิมดีกว่า ถึงแม้แบกรับกับต้นทุนที่มากขึ้น
2. Demand-Pull Inflation
“ความต้องการสินค้า (Demand)” เพิ่มสูงขึ้น สินค้านั้นมีความต้องการในตลาดมากหรือกำลังการผลิตไม่พอกับความต้องการในการบริโภค
ก็ทำให้เกิดเงินเฟ้อในสินค้าหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
3. การเสื่อมค่าของเงิน (Currency Depreciation) ทำให้ในประเทศ ของราคาแพง
การเสื่อมค่าของเงินส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นเร็วและแรงอยู่พอสมควร ลองนึกถึงย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่ประเทศไทยเจอวิกฤตต้มยำกุ้ง ตอนนั้นชั่วข้ามคืนจากเดิม 25 บาทเท่ากับ 1 ดอลล่าร์ ก็ถูกปรับเป็น 55 บาทต่อ 1 ดอลล่าร์ นั้นแปลว่าถ้าใครนำเขาสินค้าช่วงนั้นต้องจ่ายแพงขึ้นเป็น
2 เท่าตัว
ฉะนั้น การที่เราใช้เงินเท่าเดิมแต่กลับซื้อสินค้าได้น้อย จึงเป็นการบอกถึงเศรษฐกิจที่กำลังเจอกับภาวะเงินเฟ้อ หรือภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการปรับตัวขึ้นสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อคนธรรมดาอย่างเราๆ เพราะมูลค่าเงินที่แท้จริงในมือนั้นจะลดลง แม้จะมีจำนวนเท่าเดิมอยู่ก็ตาม
*** ของแพง ค่าแรงต่ำ คำพูดนี้ยังคงติดปากประชาชน ***
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ
อ้างอิง https://www.moneybuffalo.in.th/economy/3-major-reasons-that-make-things-more-expensive















