เกษตรกระบี่ จัดประกวดทุเรียนพื้นเมือง เพื่ออนุรักษ์
<span;><span;>สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ จัดประกวดทุเรียนพื้นเมือง เพื่ออนุรักษ์และประชาสัมพันธ์สงเสริมการปลูกทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์ดี ตาม โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
<span;>.
<span;>วันที่ (11 มิ.ย.67) ที่สวนดานีญา หมู่ที่ 1 ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ นายสมชาย หาญภักดีปฏิมา ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ เป็นประธานการประกวดทุเรียนพื้นเมือง จังหวัดกระบี่ ปี 2567 เพื่ออนุรักษ์และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการปลูกทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์ดี โครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จังหวัดกระบี่ โดยมี นายประคอง อุสาห์มัน เกษตรจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน เข้าร่วม
<span;>.
<span;>สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่ ได้ดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกรัก หวงแหน และร่วมอนุรักษ์ต้นทุเรียนพื้นเมืองจังหวัดกระบี่ให้คงอยู่ ขยายผลไปสู่การสร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้นให้กับทุเรียนพื้นเมืองจังหวัดกระบี่
<span;>.
<span;>โดยมีกิจกรรมการประกวดทุเรียนพื้นเมืองจังหวัดกระบี่ การประกวดต้นทุเรียนพื้นเมือง เพื่ออนุรักษ์และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการปลูกทุเรียนพื้นเมืองพันธุ์ดี ซึ่งการประกวดทุเรียนพื้นเมืองจังหวัดกระบี่ แบ่งเป็นออกเป็น 2 ประเภท คือ ทุเรียนพื้นเมืองจังหวัดกระบี่ เนื้อสีเหลือง และทุเรียนพื้นเมืองจังหวัดกระบี่เนื้อสีขาว มีเกษตรกรจากทุกอำเภอในจังหวัดกระบี่ ส่งทุเรียนพื้นเมืองเข้าร่วมประกวดจำนวนมาก
<span;>.
<span;>ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า จังหวัดกระบี่ มีทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีลักษณะเด่นและมีศักยภาพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมายหลายด้าน เช่น พืชสมุนไพร ไม้ยืนต้น พันธุ์ไม้ท้องถิ่น ซึ่งมีแนวโน้มหายากและมีจำนวนลดลง มีโอกาสสูญพันธุ์และเลือนหาย หากไม่ได้รับการใส่ใจ ดูแล รวบรวม ปลูก รักษา ปกป้องไว้ รวมทั้งขยายพันธุ์อย่างถูกหลักวิธี เพื่อให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ทุเรียนพันธุ์พื้นเมือง" ที่พบในท้องถิ่นในจังหวัดกระบี่ ซึ่งมีความหลากหลายทั้งด้านลักษณะ สีสัน และรสชาติที่แตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้เห็นผลเป็นรูปธรรมและเพื่อส่งสริมให้เกิดความยั่งยืน
จึงต้องมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชน ภาครัฐ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา เยาวชน เกษตรกร และประชาชนผู้สนใจได้รับรู้ เข้าใจยิ่งขึ้น ปรับทัศนคติความคิดในแนวบวก ปลูกฝังจิตสำนึก รัก หวงแหนธรรมชาติ และร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นของตนให้คงอยู่ พึ่งพาธรรมชาติและระบบนิเวศน์อย่างรู้คุณค่า รวมทั้งขยายผลไปสู่การสร้างมูลค่า จากการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้น