วิธีทำความสะอาดเสื้อผ้าแบบชาววัง
ขึ้นชื่อว่าสาวชาววังแล้วก็จะต้องไม่ธรรมดาไม่ว่าจะเป็นตัวเนื้อหอมแม้แต่ความสะอาดของเสื้อผ้าก็คือสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจโดยวันนี้ทางผู้เขียนจะนำเรื่องราวของการทำความสะอาดเสื้อผ้าของเหล่าบรรดาชาววังทั้งหลายมาให้คุณผู้อ่านได้เรียนรู้และศึกษากัน
กรรมวิธีการทำความสะอาดผ้าของชาววัง เลยเอามาเล่าให้เพื่อนๆฟังกันค่ะ การทำความสะอาดผ้าของชาววังจะทำได้หลายๆแบบแตกต่างกันตามชนิดผ้า ดังนี้ค่ะ
ผ้าธรรมดา ๆ ก็ต้องเริ่มแยกระหว่างผ้านุ่ง และ ผ้าห่ม ผ้านุ่งทั้ง ผ้าพื้นและผ้าลายทำความสะอาดโดยกรรมวิธีต้ม วิธีต้มผ้าของชาววัง เริ่มตั้งแต่ต้มน้ำด้วยภาชนะใหญ่ เล็กตามปริมาณของผ้า เมื่อน้ำเดือดจึงใส่ต้นชะลูดหอม ต้นชะลูดเป็นต้นไม้เนื้อหอม มีดอกเป็นช่อเล็ก ๆ สีขาว นาส่วนต้นมาหั่นเป็นฝอยเล็ก ๆ ตากแห้ง เวลาใช้จึงนำมาใส่ในน้ำต้มเดือด เพื่อให้กลิ่นหอม จากน้ำที่ต้มซึมซาบเข้าไปถึงเนื้อในผ้า แล้วจึงใส่ลูกซัด ลักษณะเป็นเมล็ดเล็ก ๆ สีน้ำตาล ขนาดเท่า เมล็ดองุ่น ประมาณ 1 กำมือ ลูกซัดนี้เมื่อถูกน้าร้อนจะคลายยางออกมาเป็นเมือกลื่นเหนียว ๆ เหมือน แป้งและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ อีกด้วย ลูกซัดนี้จะทำให้ผ้าแข็งตัวเหมือนลงแป้ง เวลาตากแห้งแล้วนำไปรีด ผ้าจะเป็นเงามันและอยู่ตัว ต่อจากนั้นจึงนำผ้าที่ต้องการต้มใส่ไปทีละผืน แล้วใช้ไม้เขี่ยกลับไปกลับมาให้ คลายสิ่งสกปรกออกแล้วจึงนำขึ้นและใส่ผืนใหม่ลงไป ทำเช่นเดียวกันจนหมดผ้า แล้วจึงนำไปตากให้ แห้ง
ผ้าแถบหรือผ้าสไบ โดยมากเป็นผ้าที่เบาบาง ทำด้วยแพรไหม เช่น ผ้าวิลาศ ผ้าสาลู มัก ไม่ใคร่สกปรกจึงไม่จำเป็นที่จะต้องซักหรือทำความสะอาดบ่อยนัก แต่วิสัยของสตรีชาววังนั้นจะต้องทำความสะอาดและอบร่ำให้มีกลิ่นหอมอยู่เสมอ การซักผ้าชนิดนี้ไม่จาเป็นต้องต้ม เพียงแต่ซักน้ำให้สะอาด ตากให้แห้งแล้วจึงนามาจีบ
ผ้าบางชนิดไม่จาเป็นต้องใช้ลูกซัด เช่น ผ้าเข้าขาบ ผ้าเยียรบับ ผ้าตาด และผ้าอัตลัดก็จะ ใช้วิธีทำความสะอาดด้วยน้ำมะพร้าว แล้วนำมานึ่งแทนการต้ม การนึ่งก็เป็นวิธีการที่ทำให้ผ้ามีกลิ่นหอม เช่นเดียวกัน โดยนำเครื่องหอมต่าง ๆ เช่น ชะลูด ลูกซัด ใบเตย ใบเนียม มาต้มกับน้า แล้วนำผ้าที่ทำความสะอาดแล้วแต่ยังเปียกอยู่ใส่ที่นึ่ง นึ่งด้วยไฟอ่อน ๆ ให้กลิ่นน้ำเครื่องหอมอวลอบกำซาบเข้าไปใน เนื้อผ้าจากนั้นจึงนำไปตากให้แห้ง
ผ้าบางชนิดส่วนมากเป็นพระภูษาหรือผ้านุ่งนั้นจะต้องผ่านกรรมวิธีอีกวิธีหนึ่งหลังจากซัก ตากแล้ว คือวิธีที่จะทาให้ผ้าเป็นมันวาวสวยโดยใช้เปลือกหอยโข่งหรือหินโมรา นาด้านที่เกลี้ยงถูไปมา บนผ้าจนเนื้อผ้าขึ้นเงา ในนวนิยายเรื่องสี่แผ่นดิน พลตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช บรรยายวิธีการ ขัดผ้าให้เรียบเป็นมันวาว
การทำความสะอาดเสื้อผ้าอาภรณ์แบบชาววังนั้น ไม่เพียงแต่เน้นการซักให้สะอาดและรีดให้เรียบดูสวยงาม แต่ทุกขั้นตอน “ซัก ขัด ร่ำ อัด รีด” ล้วนพิถีพิถันละเอียดประณีต
ซัก
ผ้าประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม หรือผ้ายกทอง มีวิธีการซักทำความสะอาดแตกต่างกันไป
ขัด
ผ้านุ่งทั่วไปเมื่อต้มผ้าในน้ำชะลูดหอมกับลูกซัดและตากให้แห้งแล้ว จะนำไปขัดด้วยเปลือกหอยเบี้ย เพื่อให้เนื้อผ้าขึ้นเงาวาวสวย จากนั้นจึงนำไปอบร่ำและเข้าเครื่องพับจับจีบต่อไป
ร่ำ
ชาววังนั้นประกวดประขันกันในเรื่องเครื่องหอม ทั้งน้ำหอม น้ำอบ น้ำปรุง เครื่องร่ำต่างๆ ว่ากันว่าชาววังนางในย่างกรายไปที่ไหนกลิ่นจะหอมกำจรกำจาย ขนาดตัวไปแล้วแต่กลิ่นก็ยัง “หอมติดกระดาน” อยู่
ตามตำรับชาววังแท้ๆ หลังจากซักและรีดผ้าให้สะอาดเรียบดูงามแล้ว ก่อนจะนำไปใช้ ยังต้องผ่านกระบวนการร่ำผ้าเพื่อให้มีกลิ่นหอมติดทนนาน
การร่ำผ้าคือการอบหรือปรุงผ้าให้มีกลิ่นหอม โดยใช้วิธีนำผ้าใส่ในโถหรือหีบทึบที่ปิดแน่นสนิท แล้ว “ร่ำ” ซึ่งการร่ำผ้านี้ทำได้หลายวิธี ทั้งร่ำด้วยควันเทียน ร่ำดอกไม้สด และร่ำด้วยน้ำปรุง ร่ำจนกลิ่นกำซาบเข้าเนื้อผ้า
อัด
ผ้าที่ผ่านกรรมวิธีซักและอบร่ำจนหอมแล้ว ถ้าเป็นสไบ ก็จะนำมาจับจีบ โดยใช้ 2 คนช่วยกันจับจีบคนละข้าง จากนั้นใช้ไม้ที่มีน้ำหนักมาทับให้อยู่ทรง หรือใช้เครื่องมือที่เรียกว่า รางจีบ ซึ่งมีลิ้นเป็นชั้นๆ อยู่ในราง
ผู้จีบจะพับผ้าคั่นด้วยลิ้นไม้ไผ่เป็นชั้นๆ มัดหัวและท้ายใส่ลงไปในราง แล้วใช้ไม้ทับไว้เพื่อให้ผ้าเป็นจีบและอยู่ทรงคงตัว
เครื่องหอม
เครื่องหอมที่ใช้ร่ำผ้านั้น ประกอบด้วยดอกไม้ และพืชหอมนานาชนิด อาทิ กำยาน กฤษณา จันทน์หอม ชะมดเช็ด เทียนอบ น้ำตาลทรายแดง สารภี ประยงค์ จันทน์กะพ้อ กระดังงา ชะลูด ชมนาด เทียนกิ่ง การะเกด พุทธชาด เขี้ยวกระแต มะลิ ฯลฯ
น้ำหอมเหลวถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยการใส่น้ำมันกับสมุนไพรหรือดอกไม้บด และต่อมาผ่านการกลั่นจากพืชเพื่อสกัดน้ำมันหอมระเหย
สตรีในราชสำนักไทยดมกลิ่นสิ่งทอของตนโดยใช้วิธีดั้งเดิมในการเผาอะโรมาติก และสร้างน้ำและน้ำมันที่มีกลิ่นหอม โดยใช้ส่วนผสมหลากหลายที่ปลูกในประเทศหรือได้มาจากการค้าขาย มีการเลือกแสดงอยู่บริเวณใกล้เคียง
อ้างอิงจาก: นิทรรศการขัดรีดล่ำ, พิพิธภัณฑ์ผ้าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์