ไม้กลายเป็นหินยาวที่สุดในโลก อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย-ไม้กลายเป็นหิน อ.บ้านตาก จังหวัดตาก ประเทศไทย
ไม้กลายเป็นหินยาวที่สุดในโลก
อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย-ไม้กลายเป็นหิน อ.บ้านตาก จังหวัดตาก
ประเทศไทย
Guinness World Records หรือ GWR บันทึกสถิติ ยาวที่สุดในโลก
ไม้ทองบึ้ง ไม้กลายเป็นหิน
69.70 เมตร อายุราว 1.2 แสนปี ทุบสถิติประเทศจีน พร้อมระบุเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์บันทึกความเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและภัยพิบัติ เตรียมเสนออุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย-ไม้กลายเป็นหิน เป็นอุทยานธรณี และมรดกโลก
โดยของจีนนั้นมีความยาวประมาณ 38 เมตร ส่วนไม้กลายเป็นหินของไทยยาวมากกว่า 2 เท่า
ขุดพบเมื่อปี 2546 ไม้กลายเป็นหินยาวที่สุดในโลกที่พบนี้ เป็นหนึ่งในไม้กลายเป็นหินที่ค้นพบในปี 2546 หรือเมื่อ 18 ปีที่แล้ว มีความยาวมากที่สุดถึง 69.70 เมตร เทียบเท่ากับความสูงของตึก 20 ชั้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร มีอายุไม่ต่ำกว่า 120,000 ปี โดยได้รับการบันทึก Guinness World Records ว่าคือไม้กลายเป็นหินยาวที่สุดในโลก เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2565
จากการตรวจสอบ พบว่าเป็น “ต้นทองบึ้ง” ซึ่งไม่พบในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบันแล้ว แต่พบมากในพื้นที่ป่าดิบชื้นทางภาคใต้และบริเวณคาบสมุทรมลายู
การค้นพบไม้กลายเป็นหินที่มีความยาวขนาดนี้ แสดงถึงทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของจังหวัดตากในอดีต ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในพื้นที่นี้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ที่โดดเด่นแตกต่างทำให้พบไม้กลายเป็นหินในบริเวณนี้จำนวนมาก
อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย-ไม้กลายเป็นหิน (เตรียมการ) มีการขุดค้นในปี 2546 พบไม้กลายเป็นหินมากกว่า 7 หลุม จำนวน 8 ต้น และคาดว่าในพื้นที่อาจจะมีมากถึง 100 ต้นที่ถูกกลบฝังในชั้นใต้ดิน
หลุมที่ 1 ขุดพบเมื่อปี 2546 ไม้กลายเป็นหินยาวที่สุดในโลกที่พบนี้ เป็นหนึ่งในไม้กลายเป็นหินที่ค้นพบในปี 2546 หรือเมื่อ 18 ปีที่แล้ว มีความยาวมากที่สุดถึง 69.70 เมตร เทียบเท่ากับความสูงของตึก 20 ชั้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.8 เมตร มีอายุไม่ต่ำกว่า 120,000 ปี โดยได้รับการบันทึก Guinness World Records ว่าคือไม้กลายเป็นหินยาวที่สุดในโลก เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2565
จากการตรวจสอบ พบว่าเป็น “ต้นทองบึ้ง” ซึ่งไม่พบในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบันแล้ว แต่พบมากในพื้นที่ป่าดิบชื้นทางภาคใต้และบริเวณคาบสมุทรมลายู
หลุมที่ 2 พบไม้มะค่าโมงกลายเป็นหิน เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 0.5 เมตร ยาว 31.1 เมตร สภาพค่อนข้างแตกหัก และคดโค้งไปมา
หลุมที่ 3 ขุดพบไม้ทองบึ้ง กลายเป็นหินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 2.1 ยาว 33.5 เมตร มีสภาพลำต้นบางส่วน แตกผุพัง
หลุมที่ 4 พบท่อนซุง ไม้ทองบึ้ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.4 เมตร ยาว 42.4 เมตร สภาพค่อนข้างแตกหัก และวางตัวเป็นแนวโค้ง
หลุมที่ 5 พบไม้มะค่าโมง กลายเป็นหินเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.2 เมตร ยาว 22.2 เมตร สภาพค่อนข้างแตกหัก
หลุมที่ 6 ขุดพบท่อนซุง ไม้ทองบึ้ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เมตร ยาว 33.6 เมตร สภาพลำต้นของข้างใหญ่ แต่ส่วนอื่นแตกหัก
หลุมที่ 7 ท่อนซุง ไม้ทองบึ้ง กลายเป็นหินขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 1.5 เมร ยาว 38.7 เมตร สภาพค่อนข้างสมบูรณ์
⁉️ไม้กลายเป็นหิน ได้อย่างไร
ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรธรณี ให้ความรู้เกี่ยวกับ “ไม้กลายเป็นหิน” (petrified wood) โดยระบุว่า มีความหมายตามพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544 คือ เนื้อไม้ที่กลายสภาพเป็นหิน เนื่องจากสารละลายซิลิกา เข้าไปแทนที่เนื้อไม้อย่างช้าๆ แบบโมเลกุลต่อโมเลกุล จนกระทั่งแทนที่ทั้งหมดโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและโครงสร้าง ปรกติซิลิกาในเนื้อไม้นี้อยู่ในรูปของโอพอลหรือคาลซิโดนี โดยมี “ไม้” เป็นวัตถุตั้งต้น ภายหลังจึงมีสารเคมีชนิดหนึ่งเรียกว่า “ซิลิกา” เข้ามาทำปฏิกิริยากับเนื้อไม้โดยที่ไม้ยังคงรูปลักษณ์เดิมอยู่ และสารเคมีนั้นเข้าไปอยู่ในเนื้อไม้ในรูปของแร่ “โอพอลหรือคาลซิโอนี” จนไม้กลายเป็นหิน
ทั้งนี้ ผลการศึกษาวิจัยมากมายสามารถสรุปสมมติฐานเงื่อนไขการกำเนิดของไม้กลายเป็นหินในเบื้องต้นได้ดังต่อไปนี้
1. ไม้ต้นกำเนิด ต้องไม่ผุพัง หรือถูกย่อยสลายดัวยเชื้อเห็ด รา หรือแบคทีเรีย ก่อนถูกแทนที่ด้วยซิลิกา
2. ต้องมีแหล่งต้นกำเนิดสารซิลิกาจากหินภูเขาไฟ หินแกรนิต หรือหินอื่นๆ ที่มีซิลิกา
3. ต้องมีน้ำเป็นตัวปิดกั้นออกซิเจนไม่ให้ไม้ผุสลาย ทำหน้าที่ละลายซิลิกา และพาซิลิกาเข้าไปในเนื้อไม้
4. น้ำต้องมีสภาพเป็นด่างเพื่อให้ซิลิกาละลาย และเป็นกรดอ่อนเพื่อให้ซิลิกาตกผลึก
5. ต้องอาศัยกาลเวลาที่ยาวนาน
อย่างไรก็ตาม ไม้กลายเป็นหิน จ.ตาก ถูกทับถมในโครงสร้างธรณีหินแกรนิต ไม่ใช่หินภูเขาไฟที่มีแข็งแกร่งกว่า ทำให้เมื่อเปิดออกมาสัมผัสกับอากาศแล้วผุพังได้ง่าย จึงมีการซ่อมแซมส่วนที่แตกหักหรือหลุดออกมา ด้วยการเชื่อมด้วยวัสดุทางเคมีให้เหนียวแน่น ทั้งยังมีการทาน้ำมันเคลือบให้สัมผัสอากาศน้อยลง ยืดอายุการผุพังไปได้นานขึ้น
นอกจากนี้ ยังสร้างหลังคาคลุมในหลุมที่ 1 และหลุมที่ 7 และขุดร่องระบายน้ำลึกประมาณ 2 เมตร มีระบบสูบทันทีทันใดเมื่อมีน้ำใต้ดินซึมเข้ามาด้วยระบบอัตโนมัติทั้ง 3 ด้าน เพื่ออนุรักษ์ไม้กลายเป็นหินให้นานที่สุด
อ้างอิงจาก: อุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย-ไม้กลายเป็นหิน อ.บ้านตาก จังหวัดตาก
ประเทศไทย
https://thaipublica.org/2022/07/tak-petrified-wood-certified-as-guinness-world-records/