บ้านร้างในญี่ปุ่น " พุ่งเกือบ 4 ล้านหลัง "
อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่โลกเรานี้กำลังเข้าสู่ภาวะผู้สูงวัยในหลายๆประเทศรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ด้วยเหตุอัตราการตายต่ำและอัตราการเกิดก็ต่ำด้วยทำให้ไม่บาลานซ์กัน ส่วนการจะดูว่าประชากรผู้สูงวัยนั้นมีมากขนาดไหนนั้น สามารถดูได้จากทะเบียนราฏร์เพราะมันง่ายที่สุด แต่ก็มีวิธีอื่นที่พอบอกได้เหมือนกัน นั่นคือดูจากจำนวน บ้านร้าง นั่นเอง เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา
โดยสำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ว่ารัฐบาลได้รายงานจำนวนบ้านร้างเพิ่มขึ้นเกือบ 4 ล้านหลังในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ขณะที่จำนวนประชากรซึ่งลดลงอันเนื่องมาจากจำนวนประชากรเกิดใหม่นั้นลดลง ได้สร้างความเงียบเหงาให้แก่ชุมชนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในชนบท โดยผลจากการสำรวจของรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อปี 2566 พบบ้านที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยประมาณ 3.85 ล้านหลัง ซึ่งเป็นจำนวนสูงกว่าเมื่อปี 2546 ประมาณร้อยละ 80
และรายงานจากกระทรวงมหาดไทยประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะดำเนินการสำรวจทุก ๆ 5 ปี ระบุว่าจำนวนบ้านร้างมีจำนวนเพิ่มขึ้นประมาณ 360,000 หลัง จากสถิติเมื่อปี 2561 เนื่องด้วยจำนวนประชากรสูงวัยของประเทศญี่ปุ่นมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก และอัตราการเกิดที่ตกต่ำอย่างเรื้อรัง ส่งผลให้ปรากฏการณ์บ้านร้างในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทอันห่างไกล อีกทั้งเจ้าของบ้านร้างเหล่านั้นรวมไปถึงชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ที่สืบทอดมรดกมาจากครอบครัว ไม่สะดวกในการรับมรดกนี้นั่นส่งผลให้บ้านไม่ได้รับการปรับปรุงซ่อมแซมจนดูเหมือนบ้านร้างไปในที่สุด และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เจ้าหน้าที่เร่งเรียกร้องให้เจ้าของรื้อถอน ขาย หรือนำบ้านไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น และได้ตรากฎหมายอาคารเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาดังกล่าวนี้
จากข้อมูลของรัฐบาลญี่ปุ่นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมาระบุว่า อัตราการเกิดในประเทศญี่ปุ่นได้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดครั้งใหม่เมื่อปี 2566 นอกจากนี้อัตราการเสียชีวิตมีจำนวนมากกว่า 2 เท่าของทารกเกิดใหม่ นั่นทำให้จำนวนประชากรของคนญี่ปุ่นยิ่งลดลงเข้าไปอีก . . . บ้านเราน่าจะดูๆไว้เป็นบทเรียนในอนาคดบ้างก็น่าจะดีนะ เพราะเป็นสภาวะทางประชากรที่เราหนีไม่พ้นแน่ๆ