กว่าจะมาเป็นกิมจิที่ทุกคนรู้จักอย่างวันนี้
ภาพประกอบที่1จากเว็บ จัดทำโดย fudio
สวัสดีค่ะวันนี้เรากลับมาเจอกันอีก วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอาหารประจำชาติของประเทศเกาหลีกันเราเชื่อว่าใครหลายคนนั้นต้องเคยเข้าไปรับประทานอาหารเกาหลีที่ร้านอาหารอยู่บ่อยครั้ง ก็จะพบกับเครื่องเคียงต่างๆที่นำมาเสิร์ฟอยู่บนโต๊ะอาหารแต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ กิมจินั่นเอง
โดยเนื้อหาของบทความนี้เรทจะพาทุกคนไปรู้จักประวัติความเป็นมาของกิมจิกัน
ประวัติความเป็นมาของอาหารอย่างกิมจินั้นเป็นอย่างไร
ภาประกอบที่ 2 จากเว็บ จัดทำโดย แกบยอ
ภาพที่3 จากเว็บ จัดทำโดยnaegeon
ต้นกำเนิดของกิมจินั้นยังมีหลักฐาน ที่ไม่แน่นอน แต่ก็ยังพอมีบันทึกอยู่ในหนังสือภาษาจีนอยู่เล่ม 1 ที่มีชื่อว่าyi Zĥou Shu. Lost Bookof Zhou โดยเนื้อหาภายในเล่มนั้นได้กล่าวไว้ว่า พืชและผักผลไม้นั้น มีมาตั้งแต่ยุคสมัยอาณาจักร แพคเกจ และ ซิลลา และพืชผลทางการเกษตรนั้นมันเหมือนกับผักที่เพาะปลูกในประเทศจีน
ดังนั้นจึงตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่า การดองผักที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับกิมจินั้นมีมาตั้งแต่ยุคสมัย 3อาณาจักรของเกาหลีแล้ว จัดได้ว่าในยุคนั้นเป็นยุคที่ทำการแลกเปลี่ยน สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆกับประเทศจีนที่อยู่ในยุครุ่งเรือง
โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการดองผักนั้นยังมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันอีกด้วย โดยกิมจิของชาวเกาหลี โดยการทำกิมจิของชาวเกาหลีในยุคนั้นมีสาเหตุมาจาก สภาพภูมิอากาศของประเทศเกาหลีนั้นมัคจะมีฤดูหนาวที่ค่อนข้างจะยาวนาน และในยุคสมัยนั้นจัดเป็นสังคมในด้านเกษตรกรรม แต่ก็ยังไม่มีความก้าวหน้าและไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปีเหมือนในยุคปัจจุบัน
จึงได้ทำการคิดค้นวิธีการถนอมอาหารให้มีอายุที่ยาวขึ้น และสามารถเก็บไว้ทานได้ตลอดทั้งปี เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ต่อได้ในฤดูหนาวที่แสนจะแห้งแล้ง ซึ่งการดองกิมจิในยุคแรกเริ่มนั้นใช้เพียงแค่เกลือ เพราะว่าเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นที่สามารถใช้ในการหมักดองหรือถนอมอาหารได้ จนกระทั่งมาถึงช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ในสมัยยุคโชซอนได้โดนรุกรานจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้วัตถุดิบ และได้รู้จักพริกครั้งแรกจากทหารโปรตุเกส ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือจากการถูกรุกรานในครั้งนี้ หลังจากนั้นชาวเกาหลีก็ได้เห็นถึงความสร้างสรรค์ในด้านการปรุงอาหาร จึงได้คิดค้นวิธีนำพริกมาใช้กับกิมจิและอาหารหลากหลายประเภท กิมจินั้นก็ได้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์ในด้านรสชาติและเป็นที่รู้จักจนมาถึงยุคปัจจุบัน
ที่มา: อ้างอิงมาจากงานวิจัย เรื่องเรื่อง กิมจิ : คุณค่าทางวัฒนธรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจทศวรรษท จากเว็บ http://isas.arts.su.ac.th/