พาเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
หากคุณชอบการท่องเที่ยวแนวประวัติศาสตร์ เรามีสถานที่แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)มาแนะนำคุณ สถานที่นั้นก็คือ....
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จว.บุรีรัมย์
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง หรือ เราเรียกกันทั่วไปว่าปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นอุทยานประวัติศาสตร์อีกแห่งของประเทศไทยที่อยู่ภายใต้การดูแลของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นกลุ่มปราสาทหินโบสถ์พราหมณ์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวะนิกาย ซึงนับถือพระอิศวรหรือพระศิวมหาเทพ ตั้งอยู่ที่ตำบลตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จว.บุรีรัมย์ คำว่า พนมรุ้ง เรียกในภาษาเขมรว่า วนํรุง มีความหมายว่า ภูเขาใหญ่ โดยปราสาทหินพนมรุ้งตามยังเป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์และสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ด อีกด้วย
สำหรับการเดินทางมายังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ถ้าหากว่าท่านผู้อ่านจะใช้รถส่วนตัวในการเดินทาง จะมีอยู่2เส้นทางที่สามารถมาได้
1.ใช้เส้นทาง218บุรีรัมย์-นางรองเป็นระยะทาง52กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเส้นทางหลวงแผ่นดิน24(สีคิ้ว-อุบลราชธานี) ไปจนถึงบ้านตะโก ประมาณ13กิโลเมตร จึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวง2117 บ้านตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จว.บุรีรัมย์
2.เดินทางมาเส้นถนน219บุรีรัมย์-ประโคนชัย ก็จะเห็นแยกไปยังปราสาทหินพนมรุ้ง
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธ์ุที่ดังๆก็อยู่ ณ ที่นี้
เป็นโบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของไทย ที่เชื่อว่าถูกโจรกรรมไปเมื่อราวปี พ.ศ. 2503 ในช่วงสงครามเวียดนาม และถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ในรัฐอิลลินอยของสหรัฐอเมริกา แต่ในที่สุดชาวไทยนำโดยรัฐบาล และ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ
ในปี พ.ศ. 2508 กรมศิลปากรพบชิ้นส่วนบางชิ้นของทับหลัง ที่ร้านขายของเก่าย่านราชประสงค์จึงได้ยึดคืนมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ศาสตราจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ขณะดำรงตำแหน่งคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ ดร. ไฮแรม วูดเวิร์ด จูเนียร์ อดีตอาสาสมัครสันติภาพ ที่เคยสอนในมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ไปพบทับหลังนารายณ์บรรทม สินธุ์ชิ้นนี้ ที่สถาบันศิลปะ นครชิคาโก สหรัฐ และทรงมีหนังสือแจ้งอธิบดีกรมศิลปากรอย่างเป็นทางการว่าควรจะขอกลับคืน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2531 ขณะที่การบูรณะปราสาทหินพนมรุ้งใกล้จะเสร็จเรียบร้อย มีการรื้อฟื้นเรื่องการขอคืนทับหลังขึ้นมาใหม่ ซึ่งครั้งนี้ได้รณรงค์กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในกรุงเทพมหานคร ต่างจังหวัด ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในนครชิคาโกรวมทั้งชาวอเมริกันและชาติอื่น ๆ ได้ให้การสนับสนุน
วนํรุง ภาษาเขมร แปลว่า ภูเขาใหญ่
โดยเมื่อเราไปก็เหมือนกับเทวาลัยเขาไกรลาศ ตามความเชื่อของลัทธิไศวะนิกาย ที่นับถือพระศิวะ เพราะตามตำนานเทพตรีมูรติหรือเทพทั้งสามของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทพที่ประทับอยู่บนเขาไกรลาศ นั่นก็คือพระศิวมหาเทพ จึงได้สร้างปราสาทนี้ขึ้นบนภูเขา ให้กษัตริย์ในสมัยขอมโบราณเพราะเชื่อว่าเป็นสมมตเทพของพระศิวะนั้นเอง
ลึงค์ สัญลักษณ์ของพระศิวะและลัทธิไศวะนิกาย
สัญลักษณ์ที่ชี้ชัดอีกอย่างว่าปราสาทหินนี้ไปในแนวลัทธิไศวะนิกายหรือนับถือพระศิวมหาเทพก็คือลึงค์เพราะเป็นสัญลักษณ์ของทุกสรรพสิ่งต้นกำเนิดของทุกสรรพสิ่งตามความเชื่อ
สุดท้ายนี้เมื่อท่านไปเที่ยวอย่าลืมใส่เสื้อแขนยาวด้วยน๊า
บายๆๆๆ
VLOGGER ARTHER