เหมืองทับทิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ประวัติศาสตร์
Mogok, หุบเขาทับทิมตั้งอยู่ในภาคเหนือของมั ณ ฑะเล ในช่วงกษัตริย์ Pindale ของการปกครอง 1648-1661 ชาวบ้านที่เรียกว่าพังงา Mauk พบทับทิมขนาดใหญ่ที่มีสีเข้มมากที่สุดและมีความชัดเจนซึ่งเป็นที่หายากสำหรับทับทิม ทับทิม 80 กะรัตมีพรสวรรค์ต่อพระมหากษัตริย์ ในพม่าทับทิมที่เรียกว่า ‘padamyar’ และหินเหล่านี้มีสีที่ดีที่สุดของสีแดงที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่า ‘นกพิราบเลือด’ ที่สุดของทับทิมของโลกที่มีศีลธรรมใน Mogok และส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ
เมือง Thabeik Kyin เขตมัณฑะเลย์ ตั้งอยู่ติดกับทางหลวงมัณฑะเลย์โมกก ห่างจากตัวเมืองมัณฑะเลย์ไปทางทิศเหนือประมาณ 80 ไมล์ (ประมาณ 128 กิโลเมตร) พื้นที่ดังกล่าวมีชื่อเสียงด้านการทำเหมืองสปิเนลสีแดง แซปไฟร์ และทองคำ มีหมู่บ้านซึ่งเป็นที่รู้จักด้านการทำเหมืองอัญมณีอยู่ 2 แห่ง ในพื้นที่ทำเหมืองของ Thabeik Kyin โดยตั้งอยู่ติดกับทางหลวงหมายเลขที่ 31 มัณฑะเลย์โมกก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าได้ระงับการออกใบอนุญาตทำเหมืองอัญมณีในพื้นที่ดังกล่าว แต่การทำเหมืองทองคำยังสามารถดำเนินต่อไปได้
พื้นที่ทำเหมืองอัญมณี
พื้นที่ทำเหมืองรอบตัวเมืองโมกก สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ตัวเมืองโมกก บริเวณทางเหนือ ตะวังออกเฉียงเหนือ และตะวันตกของเมืองโมกก
เมืองโมกกได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 579 ตั้งอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐฉานและชาว ThiShan ก็มีภาษาและประเพณีคล้ายคลึงกับคนไทย ขณะที่ในเขตเหมืองหยกพม่าซึ่งตั้งอยู่ในรัฐกะฉิ่น
สำหรับเมือง Momeik เป็นเมืองซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 800 ฟุต ตั้งอยู่ทางเหนือของโมกกห่างออกไป 28 ไมล์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำ Shweli มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของทัวร์มาลีน เพทาไลต์ อีกทั้งยังมีการทำเหมืองทองคำและเหมืองเพชรขนาดย่อม และเนื่องจากเชื่อกันว่าพื้นที่นี้มีความสัมพันธ์เชิงภูมิศาสตร์กับออสเตรเลียตะวันออกเฉียงเหนือ จึงขุดพบเพชรคุณภาพต่ำใน Momeik ด้วย
การผลิตทับทิมและแซปไฟร์
พื้นที่ทำเหมืองในโมกก แบ่งออกเป็น 4 พื้นที่หลัก และแยกย่อยเป็นจุดทำเหมือง 17 จุด และมีเหมืองรวมทั้งสิ้นกว่า 150 แห่ง พื้นที่ทำเหมือง Kyat Pyin มีจุดทำเหมืองย่อย 13 จุด และมีเหมืองเกือบ 120 แห่ง ซึ่งเหมืองต่างๆ เหล่านี้ดำเนินการโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐบาลพม่าและเอกชน รวมถึงผู้ทำเหมืองขนาดย่อม โดยอัญมณีที่ขุดพบในโมกก ได้แก่ สปิเนล แซปไฟร์ ทับทิม ควอตซ์ เพทาน เพริดอต แดนบูไรต์ ไพไนต์ และทองคำ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ชื่นชอบอัญมณี การตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของอัญมณีแต่ละชนิดนั้น ก็เป็นส่วนสำคัญและมีประโยชน์อย่างมากในการซื้อขายในปัจจุบัน ซึ่งในส่วนนี้ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบอัญมณีและเครื่องประดับของสถาบันวิจัยและพัมนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ก็เปิดให้บริการส่วนนี้ด้วย
อ้างอิงจาก: https://tourisminmyanmar.com.mm/th/mogok
:http://aec.dpim.go.th/mineraldata/myanmar