สถาปนิก ทำงานอะไร หน้าที่และขั้นตอนการทำงานเป็นยังไง?
"สถาปนิก" คือผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบและวางแผนในการก่อสร้างหรือ ที่เรียกว่า
"งานสถาปัตยกรรม" เป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้
ขั้นตอนการให้บริการวิชาชีพของสถาปนิก
สถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)
2. ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)
3. ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)
4. การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)
5. บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration)
ในบางโครงการ อาจจะมีการเข้าไปรับงานเป็นทีม โดยเจ้าของทำสัญญากับทีมก่อสร้างเพียงสัญญาเดียว ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้รับเหมาก่อสร้าง สถาปนิก และที่ปรึกษาอื่นๆ รวมตัวกันเป็นหนึ่ง โดยการทำสัญญาโดยตรงนี้ จะเรียกว่า เป็นการบริการแบบ ดีไซน์บิลด์ (Design Build)
ขอบเขตงานของสถาปนิก
ในปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตการประกอบวิชาชีพไปในหลายๆ ด้านที่เป็นแนวทางเฉพาะ เช่น
1. งานด้านออกแบบ (Design)
2. งานด้านการบริหารโครงการ (Construction Management)
3. งานด้านการบริหารการใช้พลังงานในอาคาร (Building Energy Management)
4. งานด้านการออกแบบการให้แสง (Lighting Design)
5. งานด้านบริหารจัดการอาคาร (Facility Management)
6. งานด้านอนุรักษ์ (Preservation)
7. งานตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของอาคาร (Building Inspection)