ม.วลัยลักษณ์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว
กระบี่ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวสำหรับนักเดินทางดิจิทัล
เมื่อวันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมกระบี่รอยัล จังหวัดกระบี่ รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประธานโครงการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวสำหรับนักเดินทางดิจิทัล
หลังจากนั้น อ.มาฆฤกษ์ ชูช่วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษา ตรัง บรรยายพิเศษ หลังจากนั้น ผู้เข้าประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
และะกิจกรรม Focus Group โดยผู้เข้าร่วมประชุมมีนายอะหมาน หมัดอะดัม ผู้อำนวยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานกระบี่ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการโรงแรม ผู้ประกอบการด้านที่พักโฮมสเตย์ ตัวแทนชุมชนท่องเที่ยว และสื่อมวลชน ร่วมประชุม
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กำหนดจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ "พัฒนายุทธศาสตร์การท่องเที่ยวแบบพำนักระยะยาว การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวสำหรับนักเดินทางดิจิทัล" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวแต่ละจังหวัดในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามันให้ตระหนักในความสำคัญของการมุ่งเน้นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตอบสนองต่อความจำเป็นทั้งในเชิงนโยบายระดับสากลและระดับชาติ
รวมไปถึงตอบสนองต่อกระแสนิยมนักท่องเที่ยวสมัยใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสร้างประ โชชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวมีการพัฒนากระบวนการบริหารการ ใช้ทรัพยากรทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ที่ประชุมได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และนำเสนอจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค ดังนี้
**จุดแข็ง
1 สถานท่องเที่ยวมีความหลากหลาย
2 มีกิจกรรมในชุมชน ให้นักท่องเที่ยว
3 เป็นเจ้าบ้านที่ดีในการให้บริการ
4 มีอาหารที่สดใหม่
5 มีสนามบินที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติ
6 เส้นทางการคมนาคมมีการเชื่อนโยงกัน
**จุดอ่อน
1 กฎระบียนของโฮมสเตย์
2 โรงพยาบาลไม่เพียงพอกับความต้องการ (ความสะดวกสบาย)
3 การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การคมนาคม
4 ขาดสิ่งอำนวยความสะคากสำหรับคนทุกประเกท กลุ่มเปราะบาง
5 ขาดสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกยา
**โอกาส
1 หน่วยงานการศึกษาภาครัฐลงมาให้ความรู้ขับเคลื่อนพัฒนาจังห วัด
2 เทคโนโล
3 กลุ่มนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มต้องการพักพิงอยู่ในพื้นที่ระยะยาว
4 นโยบายจากภาครัฐส่งเสริมการท่องเที่ยว
5 หน่วยงานด้านวิจัยเข้ามาสนับสนุนสมุนไพรในพื้นที่