เคล็ดลับ❗ ปลูกมะละกอให้ ต้นเตี้ย ลูกดก ให้ผลไว 💸💸
มะละกอ เป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ หลายได้ และยังเป็อาชีพที่ไห้ผลกำไรอย่างงาม วันนี้เราเอา เคล็ดลับ❗การปลูกมะละกอให้ ลูกดก ต้นเตี้ย ให้ผลไว มาฝากกัน
มะละกอ
ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papaya L.
ชื่อสามัญ: Papaya, Melan Tree, Paw Paw
ชื่ออื่น: ก้วยลา (ยะลา), แตงต้น (สตูล), มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ), มะเต๊ะ (มาเลย์-ปัตตานี), ลอกอ (ภาคใต้), บักหุ่ง (นครพนม-เลย)
วงศ์: CARICACEA
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดใหญ่ อายุหลายปี สูง 2-8 ม. ลำต้นตั้งตรงมักไม่แตกกิ่ง ไม่มีแก่น ต้นอวบน้ำ มีรอยแผลเป็นของก้านใบที่หลุดร่วงไป มีน้ำยางสีขาวทั่วลำต้น
ใบ : ใบเรียงสลับรอบต้นบริเวณยอด ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือกว้าง ยาว 25-60 ซม. โคนใบเว้า ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าเป็นแฉกลึก 7-11 แฉก และจักฟันเลื่อย ก้านใบยาว 25-90 ซม. เป็นท่อกลวงยาว
ดอก : ดอกช่อสีขาวนวล มีกลิ่นหอม ออกที่ซอกใบ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 1.5-2.5 ซม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2.5 ซม. เกสรเพศผู้มี 10 อัน ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือ 2-3 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้
ผล : ผลเป็นผลสดรูปยาวรี ปลายแหลม ผลดิบมีเนื้อสีขาวอมเขียว ผลสุกมีเนื้อสีแดงส้ม เนื้อหนาอ่อนนุ่ม รสหวาน มีเมล็ดมาก รูปไข่สีน้ำตาลดำ ผิวขรุขระ มีถุงเมือกหุ้ม
พันธุ์ของมะลอกอที่นิยมปลูกกันนั้น มีอยู่มากมาย โดยลักษณะของต้นและผลของมะละกอแต่ละพันธุ์อาจจะคล้ายคลึงหรือแตกต่างกันไปบ้าง ดังนี้
มะละกอแขกดำ : สูง 2-4 เมตร ใบหนา ดอกติดเร็ว ให้ผลไว ผลหนักประมาณ 1.7 กิโลกรัม เมื่อสุกเนื้อจะมีสีแดงเข้มและหวาน
มะละกอท่าพระ : เป็นพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์แขกดำกับพันธุ์ฟอริดา โทเลอแรนต์ แข็งแรง ทนโรคใบด่างจุดวงแหวน ได้ดี ติดผลเร็ว ผลหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ผลดิบเนื้อจะกรอบ และผลสุกเนื้อมีสีเหลืองอมส้ม รสชาติหวานหอม
มะละกอโกโก้ : ต้นเตี้ย ใบยาวมีหลายสีทั้งสีน้ำตาล สีม่วงเข้ม หรือสีเขียวอ่อน มีดอกตัวผู้มาก แต่มีดอกตัวเมียน้อย เนื้อสีแดงอมชมพู รสชาติหวาน
มะละกอสายน้ำผึ้ง : ต้นเตี้ย แต่ก้านใบยาวก ผลเรียวแต่ปลายใหญ่ มีร่องระหว่างพูเป็นเหลี่ยมชัดเจน เนื้อสีส้ม รสชาติหวาน นิยมกินแบบสุก
มะละกอจำปาดะ : ต้นใหญ่ แข็งแรง ใบและก้านสีเขียวอ่อน ติดดอกออกผลช้า ให้ผลใหญ่และยาว ผลสุกเนื้อสีเหลือง เนื้อไม่แน่น
มะละกอเรดเลดี้ : ต้นเตี้ย ให้ผลผลิตเร็ว เนื้อผลสุกแข็ง สีแดงอมชมพู รสหวาน ทนทานระหว่างการขนส่ง
มะละกอสีทอง : ต้นกำเนิดมาจากฮาวาย เมล็ดเยอะ ผิวของผลมีสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลือง รสหวาน
วิธีปลูกมะละกอ
ขั้นตอนการเพาะต้นมะละกอ
มะละกอ นิยมปลูกด้วยวิธีการเพาะต้นกล้าก่อนแล้วค่อยย้ายลงแปลงปลูก ต้นกล้างอกใหม่ดูแลเอาใจใส่มาก ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย เพาะต้นกล้ามะละกอได้ดังนี้
เตรียมดิน โดยใช้ดิน 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน และขี้เถ้าหรืออินทรีย์วัตถุ 1 ส่วน ใส่ถุงปลูกซึ่งเจาะรูด้านล่างให้ระบายน้ำ
ฝังเมล็ดมะละกอลงในดินถุงละ 3-4 เม็ดให้ลึกประมาณ 0.5 ซม. แล้วตั้งถุงเรียงไว้กลางแจ้ง
รดน้ำให้ชุ่มวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น
ประมาณ 10-14 วัน ต้นกล้าจะเริ่มมีใบ 2-3 ใบ ให้เลือกต้นที่แข็งแรงเอาไว้ต้นเใจดียวและเมื่อต้นกล้าครบ 45-60 วัน ให้ย้ายไปลงแปลงปลูกได้
การเพาะเมล็ดลงแปลงเพาะ
เตรียมแปลงเพาะกว้าง 1x3-5 เมตร
จากนั้นเตรียมดินร่วนผสมกับปุ๋ยคอก แล้วยกให้เป็นแปลงสูงจากระดับดินเดิมประมาณ 15-20 ซม.
ใช้ไม้ขีดทำร่องแถวลึกประมาณ 1 ซม. ห่างกันประมาณ 25 ซม.
โรยเมล็ดมะละกอลงในร่องแถว รดน้ำให้ชุ่มทุกวันเช้า-เย็น
เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 20-25 วัน ให้ย้ายต้นกล้าจากแปลงเพาะมาลงถุงพลาสติกขนาด 5x8 นิ้ว ถุงละ 1 ต้น ตั้งเรียงไว้ในที่ร่มที่มีแสงแดด
การเตรียมพื้นที่ปลูกมะละกอ
มะละกอ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง ให้เว้นระยะห่างระหว่างหลุมปลูกอย่างน้อย 2.5x3 เมตร เพราะรากลึกและกว้าง ควรมีแนวไม้กันลม ปลูกให้อยู่ใกล้ทางขนส่งหรือเก็บเกี่ยวง่าย เพราะผิวของมะละกอบางมาก อาจจะเกิดการช้ำระหว่างการเก็บเกี่ยวและขนส่งได้
และหลังจากนั้นให้ไถพื้นที่ กำจัดวัชพืช และย่อยดินให้ละเอียด ยกหน้าดินทำเป็นแปลงขนาดกว้าง 2 ถึง 2.5 เมตร หาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ปักทำตำแหน่งปลูกไว้ และขุดหลุมปลูกลึกประมาณ 50 ซม. โดยเว้นระยะห่างระหว่างหลุมปลูกประมาณ 2 เมตร และรองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
วิธีการปลูกมะละกอ
นำต้นกล้ามะละกอที่แข็งแรงพร้อมปลูกลงแปลงมาวางตามหลุมต่าง ๆ ที่เตรียมไว้
กรีดถุงพลาสติกออก วางต้นกล้าให้ลงตำแหน่งตรงกลางหลุมปลูก กลบดินให้แน่น โดยเฉพาะรอบ ๆ โคนต้น เพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถว
ปิดทับหน้าดินด้วยฟางหรือแกลบ แล้วรดน้ำจนชุ่ม เพราะในช่วงที่ปลูกใหม่ ๆ ควรให้น้ำกับต้นกล้ามะละกอจนตั้งตัวได้ ประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน
นอกจากนี้ช่วงที่ต้นมะละกอติดดอกออกผลก็เป็นช่วงที่ต้องให้น้ำมากอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน
การตอนกิ่งมะละกอ ถือได้ว่าเป็นการขยายพันธุ์โดยที่ไม่ต้องใช้เมล็ด เนื่องจากการปลูกมะละกอด้วยเมล็ดจะมีการกลายพันธุ์ถึง 80 % เลยทีเดียวซึ่งถือว่าเป็นการเสี่ยงมากในการปลูกเพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนกับต้นแม่ ผิดกับการขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง ต้นพันธุ์ที่ได้จะเหมือนกับต้นแม่ทุกอย่าง และการปลูกด้วยการตอนกิ่ง ต้นมะละกอจะเตี้ยทำให้เวลาเจอลมก็ไม่ค่อยล้มเท่าไร และจะให้ผลเร็ว ออกลูกเป็นช่อและมีลูกดกในการปลูกมะละกดด้วยเมล็ดจำนวน 10 ไร่ เมื่อเทียบกับการปลูกมะละกอตอนกิ่งเพียง 1 ไร่ ผลผลิตก็จะได้เท่าตัว
" ข้อดีของการตอนกิ่งมะละกอมีหลายอย่าง ที่เห็นได้ชัดคือต้นเตี้ย ผลไม่กลายข้อดีของการตอนกิ่งมะละกอมีหลายอย่างที่เห็นได้ชัดคือต้นเตี้ยผลไม่กลาย "
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องมีในการตอนกิ่งมะละกอ มีดขนาดเล็กเน้นว่าต้องคมด้วยนะครับ เชือกหรือยางที่มัดได้ ถุงพลาสติกขนาด 3 x 5 นิ้ว ขุยมะพร้าว ดินร่วน ลิ่มไม้เนื้อแข็งไม่ยุ่ยง่ายเมื่อโดนความชื้น หรือจะเป็นอิฐแดงดีให้ได้ขนาดเท่ากับนิ้วก้อยก็ได้
วิธีทำการตอนกิ่งมะละกอ อย่างแรกและถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากนั้นก็คือคัดเลือกต้นพันธุ์ที่จะทำการตอนให้ดี ต้นพันธุ์ต้องมีความสมบูรณ์ทุกอย่าง ตั้งแต่ลักษณะของต้นและลักษณะของผลที่เป็นที่ต้องการของตลาด รวมถึงการต้านทานโรคด้วย เมื่อได้ต้นพันธุ์ที่ดีแล้วเราก็ทำการตอนต้นมะละกอต้นพันธุ์ไปปลูกก่อนหลังจากนั้นก็จะเหลือต้นมะละกอทำการตัดต้นให้สูงพอประมาณ ต่อมามะละกอที่ตัดก็จะแตกกิ่งออกมา 5 ถึง 6 กิ่ง ภายใน 2 เดือนครึ่งกิ่งจะยาวประมาณ 20 ถึง 25 เซนติเมตร
ทำการเฉือนกิ่งพันธุ์ จากข้างล่างไปข้างบนเป็นปากฉลาม จากนั้นใช้ลิ่มไม้เล็ก ๆขัดไว้ไม่ให้เนื้อไม้ติดกัน นำดินร่วนและขุยมะพร้าวมาผสมกันในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 บรรจุลงถุงพลาสติก ทำการผ่าถุงพลาสติกตรงกลาง รดน้ำให้ชุ่มแล้วนำไปวางทับรอยแผลที่เฉือนไว้ มัดถุงด้วยเชือกให้แน่น
การดูแลรักษาต้นมะละกอ
การให้ปุ๋ย : โดยทั่วไปแล้ว จะให้ปุ๋ยต้นมะละกอเมื่อติดดออกออกผลแล้ว โดยให้ปุ๋ยสูตร 14-14-21 ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะต่อต้น หรือจะให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอก็ได้
การรดน้ำ : มะละกอเป็นพืชชอบน้ำ แต่ไม่ชอบน้ำขัง จึงควรรดน้ำวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น ก็เพียงพอแล้ว ไม่ควรให้น้ำมากจนท่วมขัง เพราะจะเกิดอาการบวมน้ำและเน่าตายได้
ควรกำจัดวัชพืชสม่ำเสมอ : ไม่ให้มารบกวนต้นกล้าที่เพิ่งลงหลุมปลูก
การทำไม้หลัก : เพื่อประคองต้นกล้าและทำให้แถวปลูกเป็นแถวตรง มีระเบียบ และเพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม
การเก็บเกี่ยวผลมะละกอ
ต้นมะละกอที่ปลูกไปประมาณ 5-6 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลดิบได้ หากต้องการเก็บผลสุก ให้รอประมาณ 8-10 เดือน จึงจะเก็บเกี่ยวได้ โดยเลือกผลที่กำลังเริ่มสุก ผิวเริ่มมีแต้มสีส้มปนเขียว และผลยังไม่นิ่มมาก
ประโยชน์ของมะละกอ
มะละกอถือว่ามีประโยชน์ทั้งการกินสด การทำอาหาร และสรรพคุณทางยา นำมาใช้ได้หลายส่วนมาก ดังนี้
ผล : ถ้าเป็นผลดิบจะนิยมกินเพื่อขับลม ขับพยาธิ แก้ปัสสาวะขัด และนำมาอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ส้มตำ หรือนำไปทำเป็นมะละกอเชื่อม แช่อิ่ม หรือดองเค็ม ส่วนผลสุก จะมีสารอาหารและวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ไฟเบอร์ แคลเซียม โพแทสเซียม เบต้าแคโรทีน เหล็ก วิตามินเอ วิตามินซี นิยมนำไปทำน้ำผลไม้ แยม ซอส ผลไม้กระป๋อง หรือขนมขบเคี้ยว
ยางมะละกอ : มีเอนไซม์ย่อยโปรตีนหลายชนิด มีการนำยางของมะละกอไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ผลิตเบียร์ ผลิตเนื้อสัตว์หรือน้ำปลา ใช้ย่อยโปรตีนและทำให้สารละลายใสเมื่อเก็บไว้นาน ๆ ในอุตสาหกรรมยาหรือทางการแพทย์ใช้ผลิตยารักษาแผลติดเชื้อและช่วยฆ่าพยาธิในลำไส้ได้
เมล็ดมะละกอ : นำไปตากแห้งผสมกับเมล็ดฟักทองแล้วผสมน้ำ นำไปพอกแผลหนองหรือข้อเพื่อลดอาการปวดได้
เปลือกมะละกอ : ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์หรือสีผสมอาหาร
เปลือกมะละกอ : ใช้ทำเป็นอาหารสัตว์หรือสีผสมอาหาร
ยอดต้นอ่อนและใบอ่อน : สามารถนำมาปรุงอาหารได้
ราก : นำมาต้มดื่ม มีสรรพคุณแก้หนองใน ขับปัสสาวะ และบำรุงน้ำนม
หลังจากนี้การปลูกมะละกอให้ได้ลูกดกต่นเตี้ยสร้างกำไรงามไม่ใช้เรื่องอยากอีกต่อไปแล้ว