ประวัติขนมไทยโบราณขนมเปียกปูน
ประวัติขนมเปียกปูน ไม่มีข้อมูลหลักฐานแน่ชัดว่าถูกคิดค้นขึ้นเมื่อใด มีเพียงข้อสันนิษฐานว่าเกิดจากภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน ได้มีการดัดแปลงสูตรขนมจาก ขนมกวน หรือ กาละแม ให้กลายเป็นเมนูใหม่อย่างขนมเปียกปูน จึงมีวัตถุดิบ และขั้นตอนวิธีการทำคล้ายกัน แต่ไม่ใส่กะทิสดเป็นส่วนผสม
ขนมเปียกปูนดั้งเดิมนั้นทำจากแป้งข้าวเจ้าหมักทิ้งไว้ แล้วนำมาโม่ด้วยโม่หินให้ละเอียดจนเป็นน้ำแป้ง ผสมน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย ใบตาลเผาไฟ (ส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยม) และน้ำปูนใส เมื่อกวนเสร็จนำมาใส่ถาดทรงสี่เหลี่ยม หากเป็นสมัยโบราณเป็นถาดโบราณรูปทรงกลม เมื่อขนมแห้งตึงดีจึงใช้มีดตัดแบ่งออกพอเป็นคำ ๆ ชาวบ้านเรียกติดปากว่า "สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน" เวลารับประทานโรยด้วยมะพร้าวอ่อนขูดฝอยเคล้ากับน้ำเกลือหรือเกลือป่น
ต่อมาได้มีการพัฒนาสูตรขนมเปียกปูนให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ใส่สีจากใบเตยหรือสีจากกาบมะพร้าวเผาไฟ เพื่อให้มีสีสันสวยงาม นิยมรับประทานคู่กับกะทิสด หรือใส่ถั่วลิสงคั่วบดละเอียดลงไปด้วย เพื่อให้มีรสชาติที่เข้มข้นยิ่งขึ้น
ขนมเปียกปูนเป็นขนมไทยโบราณที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน มักพบเห็นได้ในงานบุญต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่ง งานมงคลต่างๆ หรือในงานเทศกาลต่างๆ เช่น งานสงกรานต์ งานลอยกระทง เป็นต้น ในปัจจุบันขนมเปียกปูนยังคงเป็นขนมไทยที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง หาซื้อรับประทานได้ง่ายตามร้านขนมไทยทั่วไป
นอกจากนี้ ขนมเปียกปูนยังมีความเชื่อกันว่าเป็นขนมมงคล นิยมนำมารับประทานในงานมงคลต่างๆ เชื่อว่าจะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับผู้รั
บประทาน