วัดโบราณกลางน้ำอายุกว่า 700 ปี น้ำท่วมยังไงก็ไม่ถล่ม!
🇨🇳
วัดโบราณกลางน้ำแห่งนี้ มีอายุร่วมกว่า 700 ปี ว่ากันว่ามีวัดเก่าแก่หลายแห่งในประเทศจีน ที่มีประวัติยาวนานกว่าร้อยปีจากสมัยโบราณกาลมาจนถึงวันนี้ และวันนี้เราอยากจะแนะนำ “ศาลาเจ้าแม่กวนอิม” ในเขตเอ๋อเฉิง เมืองเอ๋อโจว มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน
นอกจากประวัติศาสตร์เกือบ 700 ปีแล้ว สิ่งที่พิเศษที่สุด คือ วัดแห่งนี้สร้างขึ้นบนแนวปะการังขนาดใหญ่ “Longpanji” จึงได้มีชื่อว่า “วัดหลงปันจิ” ตั้งอยู่ใจกลางแม่น้ำแยงซีเกียง ทั้งยังสามารถรอดพ้นมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมหลายครั้งและยังยืนหยัดมาอย่างมั่นคงยาวนาน และได้รับสมญานามว่า “ศาลแห่งแรกของแม่น้ำแยงซี”
วัดหลงปันจิแห่งนี้มีมาตั้งแต่ในช่วงของต้นราชวงศ์ซ่ง มีที่ตั้งอยู่ในแม่น้ำแยงซี แต่ก็เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมอยู่หลายครั้ง ทำให้หลายๆส่วนของวัดถูกน้ำพัดพา พังเสียหายหลุดออกไป คนในท้องถิ่นก็ต้องซ่อมแซมกันอยู่เรื่อยมาได้เท่าที่เห็นดังภาพ
จนกระทั่งราชวงค์หยวน “jianyi tieshan” ได้สร้างแท่นหินและบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ ในตอนแรกมีแต่ ตงฟางซั่ว หรือ Dongfang Shuo (บุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีน เหมือนจะเป็นนักปราชญ์ในสมัยราชวงศ์ฮั่น) ที่ประดิษฐานอยู่เท่านั้น ต่อมาได้มีการเพิ่มรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม และรูปปั้นเทพ Laojun (เทพในลัทธิเต๋า) ซึ่งกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวลัทธิขงจื้อ ศาสนาพุทธ และลัทธิเต๋า 3 ศาสนารวมอยู่ด้วยกัน
ศาลเจ้าแม่กวนอิมแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 24 ตารางเมตร สูงจากฐานหินถึง 14 เมตร ซึ่งฐานส่วนล่างนั้นสร้างขึ้นด้วยอิฐสีแดง อิฐสีน้ำเงินผสมผสานกัน ตัวหลักของศาลาเป็นโครงสร้างอิฐ กระเบื้อง ไม้ และหิน
รูปร่างลักษณะของศาลเจ้าแม่กวนอิมในปัจจุบันยังคงรักษารูปแบบโครงสร้างเดิมมาจากราชวงศ์หยวน ด้านในจะมีห้องโถง 3 ห้อง เรียงจากทางด้านตะวันตกไปยังตะวันออก ตามด้วย ห้อง Zushi Hall , Guanyin Hall และ Laojun Hall (ห้องที่ประดิษฐานเทพองค์ต่างๆ)
เหตุผลที่ศาลเจ้าแม่กวนอินแห่งนี้ยังคงยืนหยัดได้โดยไม่สั่นคลอนก็น่าจะเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างขึ้นมาเช่นกัน เพราะเมื่อใดก็ตามที่น้ำท่วม กำแพงหินของวัดหลงปันจิที่อยู่ด้านหน้าของศาลเจ้าแม่กวนอิมจะคอยผ่อนความแรงของกระแสน้ำให้ไหลช้าลง เหมือนกันตอนที่เราพายเรือ และมีการปล่อยกระแสน้ำออกจากภายในเมื่อมีน้ำเข้ามา
ในปี 2549 ศาลาเจ้าแม่กวนอิมแห่งนี้ ได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ ให้เป็นหน่วยคุ้มครองสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมศาสนาของประเทศ แต่ตอนนี้ยังไม่เปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าเยี่ยมชมได้