ชาที่คนไทยนิยมดื่มมากที่สุด
ชา เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบ ยอดอ่อน และก้าน ของต้นชา (Camellia sinensis) นำมาผ่านกรรมวิธีแปรรูปหลายหลาย "ชา" ยังหมายรวมถึงเครื่องดื่มกลิ่นหอม ที่ทำจากพืชตากแห้งชนิดต่างๆ นำมาชงหรือต้มกับน้ำร้อน นอกจากนี้ ชา ยังเป็นเครื่องดื่มที่มีการบริโภคมากที่สุดเป็นอันดับ 2 รองจากน้ำเปล่า ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภคของคนทั่วโลกเช่นเดียวกับ กาแฟ และโกโก้ โดยจีนเป็นประเทศแรก ที่เริ่มนำชามาทำเป็นเครื่องดื่มเมื่อกว่า 2,000 ปี ที่แล้ว จากนั้นความนิยมในการดื่มน้ำชา ก็ได้แพร่กระจายไปทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย และในบางประเทศของทวีปแอฟริกา โดยที่ชานั้นเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากทั่วโลกและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่หลากหลายของแต่ละประเทศ เเละในประเทศไทย ชาก็เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีลักษณะเฉพาะแบบต่างๆ ชาที่คนไทยนิยมดื่มมากที่สุดคือ
1. ชาไทย โดยต้นตำหรับเป็นเครื่องดื่มเย็นดับร้อนที่ชงโดยใช้ชาซีลอน แต่เนื่องจากชาซีลอนมีราคาสูง หลายแห่งจึงมักใช้ใบเมี่ยงผสมสีอาหารแทน หรือเป็นผงของชาซีลอนที่มีคุณภาพไม่สูงนัก
โดยวัตถุดิบที่สำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของชาไทยคือ ใบชา และ นมข้นหวานหรือน้ำตาล หลังจากชงด้วยน้ำร้อนแล้วจึงนำไปเทใส่แก้วหรือถุงที่มีน้ำแข็ง หรือนำไปแช่เย็นไว้ดื่มภายหลังชาไทยเป็นวัฒนธรรมการดื่มแบบจีนที่แพร่เข้ามาพร้อมกับชาวจีนโพ้นทะเลในอดีตนอกจากนี้ ในปี 2018 CNN travel ได้ทำผลสำรวจ World's 50 Most Delicious Drinksจัดอันดับ 50 เครื่องดื่มที่อร่อยที่สุดในโลก
เเละชาไทยเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่ทุกคนรู้จักกันดีที่สุดในประเทศไทย. มักถูกเสิร์ฟร้อนหรือเย็น, และมีรสชาติหลากหลายตามแต่ความชอบของแต่ละคน. ชาไทยประกอบไปด้วยใบชา, น้ำตาล, และนมข้นหวาน
2. ชาเขียว เป็นชาที่เก็บเกี่ยวจากพืชในชนิด Camellia sinensis เช่นเดียวกับ ชาขาว ชาแดง และชาอูหลง ชาที่ไม่ผ่านการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการต้านทานโรคได้นานาชนิดจึงเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ น้ำชาจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนกว่าอูหลง ชาเขียวหลงจิ่งที่ราคาสูงที่สุด คือ ฉือเฟิ่งหลงจิ่ง ที่ชงจากใบ จะให้กลิ่นหอมอ่อน ๆ บ้างว่าคล้ายถั่วเขียว รสฝาดน้อย
เซนฉะที่ชงจากใบมีกลิ่นอ่อนๆ จนเข้มได้ขึ้นกับการคั่ว บางครั้งมีรสอุมามิจนถึงรสหวานที่รับรู้ได้เฉพาะบางคนเท่านั้น น้ำมันในตัวชาเขียวผ่านการกลั่นมีผลดีต่อร่างกาย ในประเทศไทยจะมีการแต่งกลิ่นเพื่อให้เกิดความน่ารับประทานมากขึ้น
เเละชาเขียวก็ได้รับความนิยมในหลายๆวงการ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่รักสุขภาพ ชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีผลดีต่อร่างกาย
3. ชามะลิเป็นชาประเภทหนึ่งที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศจีน
ชามะลิถูกจัดอยู่ในประเภท ชาดอกไม้ ซึ่งเป็นกลุ่มของชาที่แยกต่างหากจากกลุ่มชาหกชนิดทั่วไปของจีน และในบางกรณีก็รวมชาดอกไม้เป็นชนิดที่เจ็ดของชาจีน
การผลิตทำโดยดูดซับกลิ่นหอมของดอก มะลิลา ซึ่งเป็นดอกไม้ในวงศ์มะลิ เข้าไปในใบชา ทำให้มีกลิ่นดอกไม้แรงแต่ไม่รบกวนรสชาติของชา โดยทั่วไปจะใช้ชาเขียว แต่ก็ยังอาจใช้ชาขาว ชาอูหลง หรือ ชาผูเอ่อร์ ด้วย
ที่ประเทศจีน เมืองฝูโจวในมณฑลฝูเจี้ยน เป็นที่รู้จักในฐานะพื้นที่การผลิตที่สำคัญของชาชนิดนี พื้นที่การผลิต กระบวนการผลิต และวัฒนธรรมชาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น มรดกทางการเกษตรโลก โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ในชื่อ "ชามะลิและระบบวัฒนธรรมแห่งเมืองฝูโจว" ที่ภาพเหนือของจีนถือเป็นเรื่องปกติที่จะถวายชามะลิเพื่อเป็นการต้อนรับผู้มาเยือน
เเล้วชามะลิ หรืออีกชื่อ ชาไต้หวัน เป็นชาที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการชา. มักมีลักษณะรสชาติที่หลากหลายตามความเข้มข้นและสายพันธุ์ของชา
4.ชาเย็น (อังกฤษ: iced tea) เป็นชาที่มีความเย็น ซึ่งอาจจะมาจากการใส่น้ำแข็ง หรือนำชาไปแช่เย็น
โดยอาจจะมีหรือไม่มีรสหวานก็ได้ชาเย็นนั้นเป็นเครื่องดื่มแบบสำเร็จรูปที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถผสมน้ำเชื่อมรสชาติต่างๆ เช่น เลมอน, แรสเบอร์รี, มะนาว, เสาวรส, ท้อ, ส้ม, สตรอว์เบอร์รี และ เชอร์รี
ในขณะที่ชาเย็นส่วนใหญ่จะมีรสชาติของใบชา ส่วนชาจากสมุนไพร ก็สามารถนำมาทำเป็นชาเย็นได้เช่นกัน ในบางครั้งชาเย็นอาจทำมาจากน้ำชาที่อุณหภูมิต่ำ
เเละ ชาเย็นเป็นทางเลือกที่เหมาะในสภาพอากาศร้อนของประเทศไทย มักถูกเติมน้ำแข็งและน้ำตาลหรือน้ำผึ้ง
5.ชาอูหลง เป็นชากึ่งหมัก ผ่านกระบวนการนวดเล็กน้อย ใช้เวลาไม่มากนัก มีกลิ่นหอม รสชาติชุ่มคอ ถ้าเป็นชาน้ำร้อนจะเห็นสีเขียวของใบชาอยู่ รสชาติจะจืดกว่าชาเขียว น้ำชามีสีแดงเข้ม หมักใบสดระหว่างผลิตบางส่วน
ต้นกำเนิดของชาอูหลงอยู่ที่ประเทศจีน ในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ซึ่งภาษาจีนใช้ว่า “อูหลงฉา” อันแปลความหมายได้ว่า มังกรดำ ตำนานเกี่ยวกับชาอูหลงนั้นมีมากมายแต่ที่เห็นจะตรงกันหลายตำรากล่าวถึงในสมัยราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นจุดกำเนิดชาแห่งตำนานชาอู่หลง
เเละชาอู่หลงเป็นชาที่ผ่านการทำให้หมักเพื่อให้ได้รสชาติที่หลากหลายและเป็นที่นิยมไม่เเพ้ชามะลิในวงการชาอีกด้วย
อ้างอิงจาก: เเหล่งที่ 1 https://th.wikipedia.org/wiki
เเหล่งที่ 2 https://www.google.com/search?q=ชาอู่หลง (Oolong+Tea)%3A&tbm=isch&ved=2ahUKEwjWwM_R7qqDAxWkq2MGHQPeACAQ2-cCegQIABAA&oq=%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87+(Oolong+Tea)%3A&gs_lcp=CgNpbWcQA1DEBFjEBGDPB2gAcAB4AIABU4gBpQGSAQEymAEAoAEBqgELZ3dzLXdpei1pbWfAAQE&sclient=img&ei=h5qJZZbhNaTXjuMPg7yDgAI&bih=786&biw=1552