อุทยานแห่งชาติของไทยที่ถูกยกให้เป็นมรดกโลก
อุทยานเเห่งชาติเขาสกตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2523 ภายใต้การดูเเลของเครือข่ายอุทยานเเห่งชาติ เเละเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าครอบคลุมพื้นที่กว่า 4,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย เป็นอุทยานแห่งชาติทางภาคใต้ของประเทศที่ปกคลุมไปด้วยพื้นที่ป่าฝนที่เก่าแก่ที่สุดอีกเเห่งหนึ่งของโลก ระยะทางยาวกว่า 739 กิโลเมตร ปกคลุมทั้งพื้นที่ป่า และพื้นที่เขื่อนรัชชประภาหรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม “เขื่อนเชี่ยวหลาน” เป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ด้วยพืชเเละต้นไม้นานาชนิด รวมถึงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า 48 ชนิด, นกสายพันธ์ุต่างๆกว่า 311 ชนิด, สัตว์เลื้อยคลาน และเเมลงอีกนับไม่ถ้วน ยิ่งไปกว่านั้นทิวเขาหินปูนที่ทอดตัวยาวสูงต่ำ ซึ่งบางส่วนสูงถึง 1,000 เมตร จากการศึกษาทางธรณีวิทยาของการก่อตัวที่สวยงามของหินทิวเขาสก
พบว่าเป็นการทอดตัวของเเนวปะการังที่ทอดยาวไปทั่วเอเชียในช่วงเพอร์เมียน(ระหว่าง 280-255 ล้านปีก่อน) ซึ่งหลักฐานนี้เเสดงให้เห็นว่าเเนวปะการังนี้มีขนาดประมาณ 5 เท่าของเเนวปะการัง Great Barrier Reef, Australia (เกรทแบร์ริเออร์รีฟ ประเทศออสเตรเลีย) เเนวปะการังนี้ทอดยาวระหว่างเกาะบอร์เนียวเเละประเทศจีนผ่านประเทศไทยและส่วนอื่นๆของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังมีนักปีนเขาพบซากฟอสซิลในทะเลบนยอดเขาคาสต์ซึ่งเป็นเทือกเขาหินปูนตะปุ่มตะป่ำคล้ายเเนวปะการัง ซึ่งย้ำชัดว่าหน้าผาสูงตระหง่านเหนือพื้นป่าเเห่งนี้เคยจมอยู่ใต้มหาสมุทรมาก่อน เชื่อกันว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆได้อพยพมาที่เขาสกในยุคน้ำเเข็งเมื่อประมาณ 37,000 ปีก่อน ระดับน้ำะเลที่ตื้นขึ้นทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถเคลื่อนย้ายถิ่นฐานได้อย่างอิสระระหว่างเกาะบอเนียว, เกาะสุมาตรา, เกาะชาว, ประเทศมาเลเซีย และทางตอนใต้ของประเทศไทย
อ้างอิงจาก: https://www.khaosokecoresort.com/history-khao-sok-thai/