มัมมี่และโลกหลังความตาย
ความเชื่อในโลกหลังความตายของชาวอียิปต์โบราณมีความเป็นเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ ตามความเชื่อนั้น ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าเมื่อมนุษย์ตายลงแล้ว วิญญาณหรือคา (KA) จะชั่วคราวออกจากร่าง และกลับมาผูกตัวกับร่างของเจ้าของเดิมอีกครั้ง
มัมมี่คนแรกของโลก ที่มีแหล่งข้อมูลที่ดีที่สุดคือการค้นพบมัมมีกลุ่มแรกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ในประเทศอียิปต์ ในเมืองเกเบลีน (Gebelein) ซึ่งเป็นมัมมี่ที่แห้งเองตามธรรมชาติ ได้รับชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า มัมมี่แห่งเกเบลีน (Gebelein Man) ปัจจุบันถูกจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในประเทศอังกฤษ มีการประมาณอายุมัมมี่คนนี้ว่ามีอายุถึง 5,500 ปี มัมมี่เกเบลีนเป็นมัมมี่ที่แปลกว่ามัมมี่ทั่วๆไปคือ มัมมี่ที่นี่ไม่มีการผ่าเครื่องในออกเหมือนมัมมี่ยุคหลังๆ แต่สภาพศพที่คงไว้ได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมในที่นั้นช่วยรักษาสภาพศพไว้ได้เป็นอย่างดี
จากนั้นการทำมัมมี่ในยุคต่อมา จะมีขั้นตอนและความละเอียดมากกว่า เริ่มจากการนำศพของผู้ตายมาทำความสะอาด จากนั้นก็จะล้วงเอาอวัยวะภายในออก โดยสมองจะใช้ขอเกี่ยวออกทางจมูก จากนั้นนำมีดที่มีความคมมากๆ กรีดข้างลำตัว ล้วงเอา ปอด ตับ ไต ลำไส้ และกระเพระอาหารออกจากศพ จะเหลือไว้เพียงหัวใจเท่านั้น เนื่องด้วยชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่าหัวใจเป็นศูนย์รวมของจิตวิญญาณ จากนั้นจะนำของเช่น โคลน ขี้เลื้อย เศษผ้า และเครื่องหอม ใส่ลงไปแทนอวัยวะที่เอาออกมา ศพและอวัยวะจะถูกนำทำความสะอาด และนำไปแช่เกลือเนตรอน (Natron) เกลือนี้เป็นสารประกอบของโซเดียมคาร์บอเนต ซึ่งจะทำให้ศพและอวัยวะนั้นแห้ง
เมื่อทั้งสองส่วนของร่างกายแห้งแล้ว อวัยวะที่ถูกเอาออกมาจะถูกนำไปบรรจุในโหลเก็บที่เรียกว่า "คาโนบิค" ในขณะเดียวกันศพจะถูกนำมาเคลือบด้วยน้ำมันสนและตกแต่งด้วยผ้าลินินสีขาว กระบวนการนี้จะดำเนินไปจนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ เมื่อทุกขั้นตอนเสร็จสิ้นแล้ว ร่างศพนั้นจะถูกนำมาวางในโลงพร้อมกับของมีค่าที่ต้องการในการตอบแทนวิญญาณในโลกหลังความตาย ซึ่งนำไปวางไว้ในสุสาน เป็นกระบวนทัศน์ที่ทำให้ได้เห็นถึงมนุษย์โบราณแห่งอียิปต์ว่ามีวิธีการรักษาสภาพศพให้สามารถอยู่ได้นานมากถึงพันปีหลายพันปี
เรื่องราวของมัมมี่คนแรกของโลกนั้น เป็นเรื่องที่ไม่สามารถหาคำตอบยืนยันได้ มีเพียงขอข้อสันนิษฐานว่ามัมมีคนแรกนั้นก็คือ มัมมี่แห่งเกเบลีน นั่นเอง