คุกนรก
คุกตะรุเต่า คุกนรกของนักโทษ
เมื่อพูดถึงคุกหลาย ๆคนคงรู้จักกันเป็นอย่างดี สถานที่ใช้คุมขังนักโทษที่กระทำความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ลักขโมย จนถึงทำความผิดรุนแรง เช่น ฆ่าคนตาย หรือคดีอุกฉกรรจ์อื่น
ประเทศไทยมีคุกไว้สำหรับขังนักโทษตั้งแต่สมัยโบราณจวบจนถึงปัจจุปันแต่สำหรับคุกที่สุดโหดที่สุดของประเทศไทยที่ใครหลาย ๆ คนยังไม่รู้จัก
คุกตะรุเต่า คุกสุดโหดที่ไม่มีใครอยากย่างกรายเข้ามาในสถานที่แห่งนี้ คุกแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2479 โดยคณะรัฐบาลราษฏรได้มีคำสั่งให้กรมราชทัณฑ์จัดตั้งนิคมฝึกอาชีพสำหรับนักโทษคดีอุกฉกรรจ์และนักโทษทางการเมืองใช้ที่นี้เป็นที่กักขังและฝึกอาชีพให้กับนักโทษเหล่านี้
ทำไมถึงเลือกเกาะตะรุเต่า
เกาะตะรุเต่าตั้งอยู่ที่จังหวัดสตูลมีลักษณะเป็นเกาะขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางทะเลลึกบริเวณโดยรอบมีคลื่นลมแรงมีมรสุมตลอดทั้งปีไม่มีเรือประมงแล่นผ่าน พื้นที่เกาะเป็นที่อยู่อาศัยของฉลามทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝูงฉลามชุกชมเป็นจำนวนมากทำให้ยากต่อการหลบหนี เพราะเหตุนี้จึงเลือกเกาะตะรุเต่าเป็นคุกสำหรับกักขังนักโทษ
นักโทษกลุ่มแรกจำนวนห้าร้อยคนจากเรือนจำบางขวางย้ายมาอยู่ที่คุกตะเต่าแห่งนี้และมีมาเรื่อย ๆ จนทำให้มีนักโทษเพิ่มขึ้นถึงสี่พันคนในปีพ.ศ. 2482 นักโทษทางการเมืองในคดีกบฏบวรเดชและกบฏนายสิบได้ถูกส่งมาคุมขังยังคุกแห่งนี้
เนื่องจากเกาะตะรุเต่าอยู่ห่างไกลทำให้การขนส่งอาหารและน้ำเป็นไปอย่างยากลำบากอีกทั้งยังมีนักโทษเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆมีผลทำให้นักโทษและผู้คุมต้องช่วยกันปลูกผักผลไม้ไว้กินเองและยังต้องสร้างที่หลบภัยธรรมชาติเพราะเกาะแห่งนี้มีไข้ป่ามาเลเรียชุกชุม เมื่อพวกเขาเหล่านั้นต้องเผชิญกับสภาวะอดอยากแร้นแค้นแสนยากลำบากทำให้ผู้คุมบางคนแอบกักตุนอาหาร ยาและสิ่งของต่าง ๆ ที่จำเป็นไว้กินเอง บางคนเอาไปขาย
สภาพความเป็นอยู่บนเกาะไม่ต่างกับนรกบนดิน เมื่ออาหารละยาขาดแคลน นักโทษจึงเกิดการทะเลาะวิวาทและแย่งชิงของมาประทังชีวิตแต่ละคนอยู่ในสภาพอดอยากและยังมีนักโทษบางส่วนพยายามหนีออกจากเกาะแห่งนี้ สุดท้ายแล้วก็ไม่สมารถหนีออกจากเกาะแห่งนี้ได้
คุกแห่งนี้เมื่อนักโทษคนใดทำผิดนอกจากอดอาหารแล้วยังมีการลงโทษทารุณกรรมที่รุนแรง เช่น ใช้แรงงานอย่างหนัก จับตีตรวน ให้ยืนตากแดด 10-15 วัน การลงโทษที่รุนแรงที่สุดของคุกแห่งนี้คือ การถูกจับขังในตึกแดง เมื่อนักโทษได้ยินกับคำว่าตึกแตกต่างกันพากันหวาดกลัวผวาไปตาม ๆ กัน
ตึกแดงถูกสร้างขึ้นจากโครงเหล็กทั้งหมดมีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมสูงหนึ่งเมตรยาวสองเมตรไม่สามารถลุกขึ้นยืนได้ มีทางเข้าออกเพียงทางเดียว ภายในมืดสนิท มีช่องขนาดเล็ก ไว้ใส่อาหารและหายใจ
ตึกแดงมีคุณสมบัติเก็บความร้อนและความเย็นได้เป็นอย่างดี ตอนกลางวันร้อนดั่งถูกไฟเปา ตอนกลางคืนหนาวเย็นยะเยือกจับใจถึงขั้วหัวใจ นักโทษบางคนที่ถูกขังในตึกแดงผลจากตาปรับแสงไม่ทันทำให้ตาบอด บางคนเสียสติกลายเป็นบ้า
ต่อมาในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2486 รัฐบาลได้มีนโยบายย้ายนักโทษทางการเมืองไปขังที่เกาะเต่าจังหวัดสุราษธานีแต่ก็ยังมีนักโทษอีกจำนวนมากที่ยังถูกขังอยู่ที่นี้ พวกเขาเหล่านี้ถูกตัดขาดจากโลกภายนอกไม่สามารถรับรู้ข่าวสารและในช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทำให้นิคมอุตสาหกรรมตะรุเต่าขาดแคลนอาหารทำให้นักโทษตกอยู่ในสภาวะอดอยากเพราะการลำเลียงอาหารเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ทำให้มีนักโทษเสียชีวิตที่คุกแห่งนี้กว่าเจ็ดร้อยคนทำให้นักโทษและเจ้าหน้าที่ที่ยังเหลืออยู่ต้องแปรสภาพมาเป็นโจรสลัดออกปล้นเรือที่ขับผ่านมาทางเกาะแห่งนี้จนเป็นที่หวาดกลัวของนักเดินเรือจนวันหนึ่งโจรสลัดกลุ่มนี้รวมตัวกันไปปล้นเรือที่กำลังไปติดต่อกับอังกฤษที่แหลมมาลายูจึงทำหนังสือไปยังทางการของไทยให้ปราบโจรสลัดกลุ่มนี้ให้ราบคาบในวันที่ 21 มีนาคม 2489
และคุกแห่งนี้ได้ประกาศปิดตัวลงในปี พ.ศ. 291 ถึงแม้ว่าคุกแห่งนี้จะปิดตัวลงแต่ยังคงมีเรื่องราวที่โหดเหี้ยมเล่าสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุปัน