หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

บทความวิชาการ เรื่อง การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนววิชาการสมัยใหม่

โพสท์โดย Sirawat Kro0404

การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนววิชาการสมัยใหม่

Leadership development based on modern technology

 พระครูปลัดเถรานุวัตร สุเทวเมธี, ดร.* ดร.ศิรวัฒน์ ครองบุญ** พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท, ดร.***

 

บทคัดย่อ

          การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนววิชาการสมัยใหม่ ผู้เขียนมุ่งเน้นการนำเสนอ ผู้นำให้มีการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์นั่นก็คือ การได้รับการพัฒนาด้วยการสร้างวิสัยทัศน์ การศึกษา การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน เพื่อสร้างภาวะผู้นำให้เกิดแก่ผู้นำ และผู้นำจะเป็นแบบใดก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของสังคมในแต่ละแห่งเป็นตัวกำหนด เพื่อให้ผู้นำมีประสิทธิภาพในการทำงาน มีความรับผิดชอบในการทำงาน และมีความสุขในชีวิตที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมและจริยธรรมเป็นผู้ที่สร้างประโยชน์ให้กับ คนรอบข้าง องค์กร สังคมประเทศชาติ เป็นผู้ประสานประโยชน์

คำสำคัญ : การพัฒนา ภาวะผู้นำ วิชาการ สมัยใหม่

 

Abstract

Leadership development based on modern technology. The author focuses on the presentation. The leader has developed a desirable feature that is It has been developed by creating a vision, education, training, study visit. To create leadership for leaders. And what kind of leader depends on the situation in society. To lead the effective work. Responsible for work. And the happiness in life that consists of virtue and ethics is a person who benefits people around the social organization. Be a good coordinator.

Keywords: Modern academic leadership development

 

  1. บทนำ

          ปัญหาวิกฤติผู้นำ ที่เกิดขึ้นในสังคม หรือเรียกว่า ปัญหาผู้นำที่ไม่พึงประสงค์ ที่ไม่ใช่เพียงแค่สังคมใดสังคมหนึ่ง แต่ปัญหาวิกฤติผู้นำในปัจจุบันเกิดขึ้นกับทุก ๆ สังคม การจงใจฝ่าฝืนกฎหมายและความถูกต้องชอบธรรมของข้าราชการและผู้บริหารระดับสูงที่ลุแก่โทสะ บ้าอำนาจ (ธานินทร์ กรัยวิเชียร. 2548 : 2) เมื่อเป็นดังกล่าวมา ผู้นำที่สังคมยกย่อง หรือว่าผู้ที่เป็นบุคคลสาธารณะ มีคนที่ติดตาม ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเป็นผู้นำที่มีความสามารถ ผสานกับศาสตร์การพัฒนาคน งาน เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ที่สุด พร้อมกับต้องทำให้กิจกรรมการบริหารจัดการองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ากับแบบแผนของโลกและต้องมองโลกในความคิดใหม่ๆ กว้างไกลทุกด้าน (ยุวัฒน์ วุฒิเมธี.2554 :16)

ดังนั้นคำโบราณที่ว่า รกคนดีกว่า รกหญ้า รกคนบ้า ไม่ดีกว่า รกคน มนุษย์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์สังคม มีความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่และทำกิจกรรมร่วมกัน ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า มนุษย์ทุกคนต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ไม่มีใครอยู่คนเดียวได้ในโลกใบนี้ เว้นไว้แต่ คนวิกลจริต เมื่อมีการอยู่ร่วมกันในสังคม จำเป็นที่จะต้องมีผู้นำ เพื่อทำหน้าที่คอยปกป้อง คุ้มครองดูแล สมาชิกในสังคมนั้น เรื่องผู้นำนี้เป็นประเด็นทางสังคมที่มีการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง อาจจะเป็นเพราะว่า บ้านเมืองเราอยู่ในยุคสมัยที่เรียกว่า ข่าวสารที่ทันเหตุการณ์ บางครั้งเรื่องราวเกิดขึ้นอีกทางส่วนของโลกหนึ่ง ไม่กี่นาที ก็สามารถรู้เหตุการณ์บ้านเมืองได้แล้ว โดยเฉพาะเรื่องของผู้นำ ทางการปกครองหรือว่าผู้นำทางเศรษฐกิจ รวมไปถึงผู้นำทางจิตวิญญาณ บุคคลผู้เป็นแรงบันดาลใจ ด้วยแล้ว เป็นที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีอิทธิพล ต่อผู้คน เพราะว่าเป็นบุคคลต้นแบบ ที่เยาวชน หรือว่าผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จ อยากจะเดินตามผู้ที่ตนเองติดตาม เป็นรูปแบบ

           ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผู้นำเป็นคนอย่างไร มีอุปนิสัย ใจคอย่างไร และผู้คนเหล่านี้มีวิธีการอย่างไร ถึงได้ก้าวสูงสุดของการเป็นผู้นำทำให้ผู้บังคับบัญชา หรือผู้ตามที่ประกอบอาชีในองค์กรนั้นอยากจะเดินตาม มีกลยุทธ์วิธีการอย่างไร ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ แต่ว่า หากผู้นำที่องค์กรไม่ต้องการ ลูกน้องไม่รัก แบบว่า สิ้นปีมีการโยกย้ายครั้ง ลูกน้องถึงขนาดจุดประทัด ธูปเทียนแช่งชักหักกระดูก ไม่มีกำลังใจแรงกายแรงใจ อยากจะปฏิบัติงาน ให้สำเร็จตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ขององค์กรด้วยดีแล้ว นั่นก็เป็นเพราะว่า การเป็นผู้นำบางทีก็อาจจะ เรียกตามประสาชาวบ้านว่า ไม่มีความสามารถ แต่ว่าเพราะโชคช่วย หัวหน้างานคนเก่า เสียชีวิต องค์กรไม่มีตัวเลือก เป็นสถานที่ฝึกปรือฝีมือของคนใหม่

          ดังนั้นทำอย่างไร ผู้นำ หรือว่าบุคคลที่สนใจอยากเป็นผู้นำคน จะได้ทราบว่า ผู้นำตามหลักวิชาการสมัยใหม่ จะสามารถเพิ่มคุณสมบัติอะไรบ้าง ที่จะทำให้มีในตน รวมถึงทำให้ผู้คนในองค์กร เกิดความเชื่อมั่นและดำเนินรอยตาม โดยให้การยอมรับช่วยเหลืองานเป็นอย่างดี เพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายและเกิดความสุขในองค์กรนั้น เป็นองค์กรแห่งความสุข บทความทางวิชาการเรื่องนี้เป็นบทความที่จะนำเสนอ การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักวิชาการสมัยใหม่ ตามหลักวิชาการ เพื่อบุคคลที่สนใจได้นำไปปฏิบัติ และเป็นแนวทางหนึ่งตามหลักวิชาการตามทัศนะของผู้เขียนเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำไปสู่จุดหมายที่ดีงามสูงส่ง เป็นสิ่งที่เป็นจุดหมายการพัฒนา และนอกจากนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่ดีงามขององค์กร สังคมให้มีความเจริญก้าวหน้ามีสันติสุขของมวลมนุษย์ ผู้นำในปัจจุบันต้องมีความปรารถนาในการพัฒนาอย่างจริงจัง เป็นผู้มีความสามารถที่จะสร้างความเชื่อมั่น และให้การสนับสนุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร (รังสรรค์ ประเสริฐศรี, 2544 : 31)

  1. แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำ

          สำหรับแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวคิดของผู้เขียนนั้น ผู้เขียนมีความคิดว่า บุคคลที่ต้องการเป็นผู้นำนั้น มีคุณสมบัติลักษณะความใฝ่เรียนรู้ในการเป็นผู้นำของกลุ่มคนอยู่แล้วแต่ว่ามีบางส่วนที่เป็นคุณลักษณะภายในที่ต้องการพัฒนา ดังนี้

2.1 ลักษณะสำคัญของภาวะผู้นำที่ควรพัฒนา

สิ่งที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาผู้นำ คือ การเป็นผู้ที่มีความสามารถ ความรู้สึกที่ว่องไวต่อการสร้างขอบเขตการเป็นผู้นำ ที่อนาคตและเวลาที่ท้าทายความสามารถเพราะว่า โลก องค์กรมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้นำต้องมีความสามารถที่หลากหลายทางด้านวัฒนธรรม และมีความสามารถด้านการจัดการกลยุทธ์ ผู้เขียนมีความเห็นว่า ลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ ภาวะผู้นำที่ควรพัฒนา คือ

  1. การช่วยเหลือผู้ตามที่ดี

ผู้ตามที่มีประสิทธิผลจะให้ความร่วมมือด้านคุณภาพกับผู้นำได้ ต้องมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังนี้  ประการแรก การสร้างความผูกพัน ผู้ตามที่มีประสิทธิผลและมีความผูกพันกับบางสิ่ง บางอย่าง อาจเป็นผลผลิต แผนกที่ทำงาน องค์การ และความคิด คุณค่าเพื่อสร้าง ความผูกพันให้กับสมาชิกของกลุ่ม ผู้นำจะต้องให้ความสะดวกในการทำให้ผู้ตามก้าวหน้าเพื่อบรรลุผลสำเร็จในเป้าหมายของเรา ประการที่สอง การบริหารตนเอง สิ่งสำคัญสำหรับการเป็นผู้ตามที่ดีคือ จะต้องมีความสามารถด้านการคิดด้วยตนเอง มีจิตสำนึกให้ทำงานโดยความปราศจากการตรวจสอบดูแลอย่างใกล้ชิด สมาชิกของกลุ่มองค์กร ที่มีประสิทธิผลจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันกับผู้นำกลุ่มหรือว่าองค์กร ประการที่สาม ความสามารถและจุดศูนย์รวม ผู้ตามที่มีประสิทธิผล จะต้องเป็นผู้มีความสามารถและเป็นจุดศูนย์รวมในความพยายามของตน เพื่อให้บรรลุจุดสูงสุด ในการมีความสามารถด้านทักษะจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อองค์กรและสุดท้าย ประการที่สี่ ความกล้า ผู้ตามที่ดีจะทำตนเองให้เป็นผู้อิสระเป็นนักคิดที่มีวิจารณญาณและต่อสู้ในสิ่งที่เขาคิดว่า ถูกต้องด้วยความกล้าหาญทางจริยธรรม

  1. การรักษาความไว้วางใจ

การสร้างความไว้วางใจ เป็นสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำที่ต้องมี และเป็นสิ่งที่มีประสิทธิผล ผู้นำต้องมีความพยายามสร้างความไว้วางใจ และจะต้องไว้วางใจสมาชิกของกลุ่ม องค์กร สิ่งที่เป็นปัจจัยในการสร้างความไว้วางใจ ผู้เขียนมีความคิดที่ต้องการนำเสนอ ดังนี้ ประการแรก ต้องมีพฤติกรรมส่วนนี้อย่างสม่ำเสมอ ด้วยความตั้งใจและฝึกหัดและทำให้คนอื่นรู้และตั้งใจจริง ประการที่สอง เมื่อองค์กรหรือว่าหน่วยงานประสบกับปัญหาต้องเข้าช่วยเหลือ แทนที่จะนิ่งเฉยหรือว่าติเตียนผู้อื่นเมื่อมีข้อผิดพลาด ประการที่สาม การให้เกียรติ ทำให้เกิดการไว้วางใจ การที่ผู้นำปล่อยให้ข้อมูลของบุคคลหนึ่งบุคคลใดที่เป็นความลับถูกเปิดเผยออกไป จะมีผลทำให้ผู้นำนำสูญเสียความไว้วางใจจากบุคคลเหล่านั้น และประการสุดท้าย การรักษาความซื่อสัตย์ไว้ในระดับสูง การสร้างชื่อเสียงด้านจริยธรรมที่ถูกต้องจะทำให้เพิ่มความซื่อสัตย์ในระยะยาว

จากที่กล่าวมา ลักษณะภาวะผู้นำที่ต้องพัฒนา คือ การฝึกให้ผู้ที่มีความต้องการพัฒนาภาวะผู้นำ ในองค์กร หรือว่าผู้สนใจต้องมีการเรียนรู้จากความล้มเหลว การกระตุ้นการคิดอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นระบบสามารถจูงใจสมาชิกในองค์กร กลุ่มให้เป็นผู้ตามที่ดีงาม รวมทั้งสร้างสรรค์ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจให้เกิดขึ้น เป็นผู้ที่กลุ่มยอมรับด้วยความไว้วางใจ เกิดจากภายในจิตใจ

          2.2 ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาภาวะผู้นำ

          ผู้เขียนมีความคิดว่า การพัฒนาภาวะผู้นำ ที่ดีนั้นควรมีกระบวนการสมัยใหม่ ใช้กระบวนการเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำให้ประสบความสำเร็จทั้งในปัจจุบันและในอนาคตนั้น ส่วนใหญ่ มักจะเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้วยการศึกษา ประสบการณ์ และการได้รับคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์มากกว่าที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาแล้ว (Dubrin J.R.2010 :396-397) ผู้เขียนมีความตั้งใจที่จะนำเสนอกระบวนการพัฒนา ดังต่อไปนี้

การพัฒนาภาวะผู้นำด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเอง ถือเป็นกลไกสำคัญที่ควรเน้นหรือจดจำในการพัฒนาตนเอง ชนิดที่ลึกซึ้งและเกิดขึ้นโดยผู้นำจะรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ผู้เขียนมีความเห็นว่าต้องประกอบด้วย 2 ทาง ดังต่อไปนี้ ประการแรก จากการพัฒนาตนเอง และ จากสภาพแวดล้อม ผู้นำจะต้องมีไหวพริบปฏิภาณเมื่อเกิดปัญหาขึ้น และเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสิ่งสำคัญที่ช่วยเรียนรู้ของผู้นำ คือ การทำให้ผู้นำสามารถเรียนรู้และมีผลดีจากการมองย้อนกลับไปยังความผิดพลาดที่ได้รับจากการสร้างเหตุผล ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดมาจากส่วนใดบ้าง และ สิ่งที่จะสามารถช่วยให้ผู้นำทำในสิ่งที่ดีในครั้งต่อไป ด้วยการเผชิญหน้ากับปัญหาเฉพาะหน้า และผู้นำอาจสร้างสรรค์วิสัยทัศน์ ให้มีขึ้นเกิดขึ้นภายในตัวตน ให้สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นสิ่งที่ดีงามขององค์กรได้

อีกประการหนึ่ง การพัฒนาภาวะผู้นำ ด้วยให้การปรึกษา ประสบการณ์ และการให้คำแนะนำจากผู้ที่มีความรู้มากกว่า และมีประสบการณ์ชีวิตมากกว่าและประสบความสำเร็จ การพัฒนาภาวะผู้นำมักเกิดขึ้นจากปัจจัยอื่น ๆ มากกว่า การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะว่าการเรียนรู้ด้วยตนเอง กว่าจะสำเร็จผลต้องใช้เวลามาก ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า การพัฒนาภาวะผู้นำตามวิชาการสมัยใหม่ ต้องประกอบด้วย องค์ประกอบ 2 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. การศึกษา หมายถึง การได้รับความเข้าใจในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง ถ้าผู้นำที่มีศักยภาพ ผู้นำท่านนั้นจะได้รับความมีเหตุผล ที่จะสามารถช่วยพัฒนาได้ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนที่องค์กร กำลังประสบปัญหาอยู่ โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา มักจะมีผลสัมพันธ์กับการบริหาร เพื่อให้การพัฒนาภาวะผู้นำประสบผลสำเร็จและสนับสนุนการดำเนินงาน การปฏิบัติงานในตำแหน่งของผู้นำ ให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยจะมีผลกระทบมากน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนระยะเวลาที่เป็นประสบการณ์ของผู้นำ และความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เหล่านั้น แม้ว่าการพัฒนาภาวะผู้นำจะเป็นโจทย์หินสำหรับองค์กร แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ เพียงแต่ต้องการใช้ความอดทน รอคอย บ่มเพราะ ประสบการณ์ของตน และต้องยอมรับว่า คนที่เกิดมาทุกคนในโลกใบนี้ ใช่ว่าจะเป็นผู้นำได้ทุกคน (ทิพวัลย์ ติรณประกิจ, 2555 : 88)
  2. การได้รับคำแนะนำจากบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ หรือว่า ผู้อาวุโส ผู้เขียนมีความคิดว่า การได้รับคำแนะนำจากผู้อาวุโสกว่า รวมถึงการได้รับคำแนะนำจากผู้ประสบความสำเร็จ เป็นการได้รับประสบการณ์ ที่สามารถนำมาช่วยเหลือ บุคคลกรในองค์กร โดยการให้คำแนะนำช่วยเหลือและกระตุ้นต่าง ๆ โดยการสอนงาน ของผู้นำ หรือว่าเพื่อนร่วมงาน ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ดี บุคคลที่กล่าวเหล่านี้ จะทำหน้าที่สอน งาน และแนะนำแนวทาง ช่วยเหลือด้านอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำให้แก่รุ่นต่อมาได้ โดยที่การสอนโดยทั่วไปๆ มักเกิดจากความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ มีพื้นฐานจากความชอบพอในอัธยาศัยระหว่างกัน เพื่อให้การตอบสนองงานขึ้น เป็นวิธีการที่เป็นมาตรฐานที่จะทำให้เกิดการพัฒนาภาวะผู้นำให้ได้ความรู้ดี

การพัฒนาภาวะผู้นำทำให้ประสบความความสำเร็จ จะเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการศึกษาประสบการณ์จากบุคคลอื่น และการได้รับคำแนะนำจากบุคคลที่อาวุโสกว่า โดยที่วิธีการต้องมุ่งเน้นให้ผู้นำนั้น มีความสามารถ ในการคิด วิเคราะห์ ที่แตกต่าง หลากหลาย มีความยึดหยุ่น และเป็นบุคคลที่ช่างสังเกต มีความสามารถในการคิดนอกกรอบ และเกิดการเรียนรู้ (ทิพาวดี เมฆสวรรค์, 2544 : 63-66)

ดังนั้น การพัฒนาภาวะผู้นำเปรียบเสมือนกับการนำองค์กรมุ่งไปสู่ การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันอย่างรวดเร็ว เส้นทางการขับเคลื่อนก็ต้องพบกับอุปสรรคมากมายเป็นเครื่องทดสอบความสามารถ ในการขับเคลื่อนองค์กร ผู้นำต้องนำพาองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลง ภาระของผู้นำ คือ การบริหารงาน ด้วยความฉลาดทางปัญญา การบริหารคนต้องอาศัยความสามารถทางอารมณ์ มาช่วยสนับสนุน ภาระส่วนนี้ การพัฒนาภาวะผู้นำสามารถสร้างตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความฉลาด ผู้นำจะเป็นผู้ที่มีพื้นฐานที่ดีในการใช้ความรู้ ประสบการณ์ คำแนะนำ จะเป็นผู้ที่มีภาวะผู้นำที่เหมาะสม สามารถสร้าง และบริหารงานในองค์กร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำองค์กรไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในอนาคตต่อไป

  1. วิธีการในการพัฒนาภาวะผู้นำ

          ลำดับต่อไปนี้ผู้เขียนจะได้นำเสนอวิธีการในการพัฒนาภาวะผู้นำ เพื่อให้การพัฒนาภาวะผู้นำ ประสบความสำเร็จนำองค์กร บุคคลไปสู่ความสำเร็จดังต่อไปนี้

3.1 การสร้างวิสัยทัศน์

          ผู้นำที่ประกอบด้วยความสามารถนั้น ตามทัศนะผู้เขียนต้องเป็นผู้นำที่ประกอบด้วยปัญญา มีการมองการไกลที่เรียกว่าวิสัยทัศน์ สามารถคาดการณ์เรื่องราวในอนาคตได้อย่างชัดเจน สามารถสังเคราะห์ วิเคราะห์เหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน การที่ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล จะทำให้สามารถวางแผนในการบริหารองค์กรได้อย่างถูกต้อง สามารถนำองค์กร บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ว่า หากผู้นำที่ขาดวิสัยทัศน์มองการไกล คิดอะไรเพียงแค่วงแคบ องค์กรก็พัฒนาได้อย่างจำกัด  ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์จะสามารถคาดการณ์ได้อย่างชัดเจนก็จะสามารถนำองค์กรแข่งขัน พัฒนารองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกต้อง นำองค์กรประสบความสำเร็จ วิสัยทัศน์ของผู้นำจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อความสำเร็จขององค์กร ผู้บริหารจึงต้องมีการเรียนรู้ และพัฒนาวิสัยทัศน์อยู่เสมอ

          ดังนั้น คำว่า วิสัยทัศน์ ผู้เขียนได้ทำการทบทวนเอกสาร จากนักวิชาการ แปลมาจากภาษาอังกฤษ (Vision) หมายถึงความสามารถที่มองเห็นความแตกต่างของสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้กับสิ่งที่แตกต่างกันในอนาคตที่ต้องการ และกระทำกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่สภาพที่ต้องการในอนาคตได้ (Philip Nicola, 1997 : 7)

                วิสัยทัศน์ เป็นสิ่งที่ผู้นำต้องมองภาพในอนาคตขององค์กรได้ เป็นภาพที่มีความสามารถเฉพาะเจาะจง ได้พัฒนาแล้ว และสามารถบรรลุถึงได้ ผู้นำจะต้องมองไปข้างหน้า มีทิศทางที่ชัดเจน มีทิศทางที่ดีที่ต้องการจะให้องค์กรไปทางนั้น และบรรลุสภาพที่ปรารถนาได้ (เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์.2538 : 68)

การสร้างวิสัยทัศน์ให้เกิดขึ้นมีขึ้นกับผู้นำให้เป็นจริงได้นั้น จะสามารถนำวิสัยทัศน์มาสร้างองค์กรให้เป็นเลิศในอนาคตได้ เป็นการสร้างภาพผู้นำที่น่าปรารถนาได้ มีประโยชน์แก่องค์กรของตนได้เป็นอย่างดีการสร้างวิสัยทัศน์นั้นจะต้องศึกษาเรื่องวิสัยทัศน์อย่างลึกซึ้ง มีข้อมูลอย่างชัดเจน วิสัยทัศน์มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแต่ผู้นำจำเป็นต้องสร้างขึ้นเอง โดยผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ ผู้นำจำเป็นต้องพัฒนาตนเอง ให้มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้ เช่น การมองย้อนกลับไปข้างหนึ่ง การมองผลกระทบและแนวโน้ม การมององค์กรในภาพรวม การคาดคะเนแรงต่อต้านในด้านต่าง ๆ การวิเคราะห์จุดแข็ง และจุดอ่อนขององค์กร การมีความมุ่งมั่นหรือความสนใจที่จะเปลี่ยนแปลง การพิจารณาทุกสิ่งโดยรวมหรือเน้นความรู้ ความสำคัญเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งขององค์กร ซึ่งเป็นลักษณะของการใช้ความคิดในการมองสิ่งต่าง ๆ ให้ประสานสอดคล้องและสัมพันธ์กัน ตลอดจนกลยุทธ์ในการที่จะพัฒนาองค์กรในด้านต่าง ๆ การมีแบบแผนของความคิดเกี่ยวกับสถานการณ์ พิจารณาความแปรปรวนของสิ่งที่คาดหวังหรือคาดการณ์ได้ โดยการเรียนรู้จากอดีตใช้ข้อมูลเหล่านั้นไปสู่อนาคตที่ดีกว่า  

3.2 การศึกษา การศึกษานับว่าเป็นวิธีการพัฒนาภาวะผู้นำโดยตรงเพราะการให้การศึกษาเป็นการเพิ่มพูน ความรู้ ทัศนคติ ตลอดจนการสร้างเสริมความสามารถในการปรับตัวในทุก ๆ ด้านให้กับบุคคลถ้าพิจารณาในองค์กรแล้ว การศึกษาจะเน้นการการเตรียมพนักงานสำหรับในอนาคต เพื่อเตรียมพนักงานให้ความพร้อมที่จะทำงานตามความต้องการขององค์กรในอนาคต หรืออีกกรณีหนึ่ง การให้การศึกษาสามารถเตรียมบุคลกรในองค์กรเพื่อการเลื่อนขึ้นในตำแหน่งงานใหม่ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน เพราะว่าการมีความคิดสร้างสรรค์เปรียบเสมือนสายตาของนกเหยี่ยวสามารถมองเห็นด้านหน้าและด้านหลัง ผู้นำสามารถมองเห็นสิ่งใดควรปรับท่าทีไปในอนาคตหรือว่าทิศทางใด ที่จะไปสู่ความสำเร็จได้นั้น ผู้นำต้องแก้ปัญหาและพัฒนาองค์กรหรือว่าประเทศชาติได้ดีจะต้องมีวิสัยทัศน์ การมองการณ์ไกลได้อย่างถูกต้อง วิสัยทัศน์นั้นไม่ใช่เกิดจาก ความคิดที่เรียกว่าจินตนาการล้วน ๆ หากแต่อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจสภาพและสาเหตุของปัญหาอย่างครอบคลุม และลึกซึ้งจึงจะหาแนวทางแก้ไขที่ตรงเป้าหมายและถูกทางได้ (วิทยากร เชียงกูล, 2554 : 43)

ผู้เขียนจึงมีความคิดว่า การพัฒนาภาวะผู้นำที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้นำต้องมีการศึกษา ทั้งนี้การศึกษา คือ การสร้างให้ผู้นำมีการใฝ่รู้ ควรให้ผู้นำมีความรู้ในเรื่องการบริหาร ทั้งเรื่องรัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์ และทางธรรมะ เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับองค์กรของตน ผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีลักษณะเสียสละ ผู้นำทุกคนต้องมีการบริหารให้มีประสิทธิภาพ พยายามให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด ทั้งนี้ผู้นำจะต้องมีการศึกษาเป็นของตนเองด้วย การศึกษาจะช่วยทำให้พัฒนาความคิด การศึกษาจะทำให้คนเป็นคนสมบูรณ์แบบ และยังสามารถทำให้คนเหนือคนด้วย การพัฒนาภาวะผู้นำต้องเพิ่มหลักสูตร  หรือการให้การอบรมเกี่ยวกับการวางแผนให้มากขึ้น เกี่ยวกับเรื่องการบริหาร และการปกครองและฝึกฝนพัฒนาผู้นำเพื่อพัฒนาจิตใจตนเองนำไปสู่พฤติกรรมที่ดีต่อไป

3.3 การฝึกอบรม การฝึกอบรมถือได้ว่า เป็นกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำอย่างหนึ่ง เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบเพื่อเสริมสร้างเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความสามารถ และทัศนคติ เป็นสิ่งที่จะช่วยปรับปรุงให้การทำงานของผู้นำองค์กร มีประสิทธิภาพสูงขึ้น การฝึกอบรมจะต้องเกี่ยวข้องกับการให้ความรู้และทักษะที่จะเป็นสำหรับงานแก่พนักงาน ขณะที่การพัฒนาเป็นการวางแผนระยะยาวที่มุ่งเตรียมความพร้อมสำหรับงานที่จะต้องทำสำหรับอนาคต เป็นสิ่งที่เหมือนกับการเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในการปฏิบัติงานในปัจจุบัน การพัฒนาภาวะผู้นำผ่านการอบรมมีรูปแบบ ที่ผู้เขียนอยากจะนำเสนอดังนี้

  1. การเพิ่มความชำนาญ เพื่อสร้างผู้นำให้มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพ ในการบริหารองค์กรด้วยการวางแผน ผู้นำต้องมีการศึกษาทั้งทฤษฎีและการปฏิบัติ เกี่ยวกับการวางแผนในส่วนนี้ เพื่อการวางแผนบริหารองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สอดคล้องกับนักวิชาการที่กล่าวว่า การอบรมต้องมีการประเมิน ระดับองค์กร ระดับภารกิจ และระดับบุคคล จากนั้นจึงนำผลการวิเคราะห์ทั้งหมดมากำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม (Milo, kovich G.T.and J.w.Boudreau.1994 : 494)

  1. การฝึกอบรมในงาน เป็นการเรียนรู้งานโดยการสังเกตการณ์ทำงานของพนักงานที่มีความชำนาญ และลงมือปฏิบัติจริงตามคำแนะนำของผู้นำเหล่านั้นเพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับงานโดยการใช้กลยุทธ์ด้านพฤติกรรม โดยการหมุนเวียนการทำงาน การฝึกอบรมในลักษณะของการฝึกงาน เป็นการฝึกอบรมในห้องเรียน และฝึกในสถานที่จริง รวมถึงการสอนงาน เป็นการฝึกอบรมผ่านผู้บริหาร หรือผู้ดูแล เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้นำและผู้ตามในองค์กร รวมไปถึงการมีพี่เลี้ยง ที่ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาแก่ผู้ตามที่ยังไม่มีประสบการณ์ทำงาน จะทำให้ผู้ตามในองค์กรรู้สึกอบอุ่นและมีความผูกพันกับองค์กร รวมทั้งผู้นำ (Carrell M.R.nf Elbert and R.D.Hatfield,1994 :78)

3.4 การศึกษาดูงาน

การศึกษาดูงาน ที่หน่วยงานสนับสนุนให้ผู้นำไปสังเกตการณ์ทำงานของหน่วยงานหรือองค์กรอื่นในลักษณะที่เรียกว่า การศึกษาดูงานหน่วยงานอื่นนอกสถานที่ การทำเช่นนี้จะช่วยไม่ให้ผู้นำหลงผิดไปว่า สิ่งที่ตนทำในหน่วยงานของตนนั้นเป็นการกระทำดีที่สุดแล้ว เพราะว่าไม่มีที่จะเปรียบเทียบ การไปสังเกตกิจการในหน่วยงานอื่นย่อมที่จะมีโอกาสได้เปรียบ เพราะว่าทำให้เกิดการมองเห็นตัวอย่างในการดำเนินงาน ตลอดจนอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะสามารถนำมาปรับปรุงในหน่วยงานของตน รวมทั้งตัวผู้นำด้วย โดยที่ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์การดูงานให้ชัดเจน สถานที่ การไปดูงานต่างประเทศ หรือการสังเกตวิธีการทำงานในประเทศ ที่ใช้เวลาไม่นานนัก ระยะเวลาสั้นๆ เพื่อ ฝึกผู้นำให้คิด และรู้จักวิธีคิด ฝึกให้เผชิญปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหา ฝึกการทำงานอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความฉลาดมีไหวพริบมากขึ้น

  1. ระดับเป้าหมายในการพัฒนาภาวะผู้นำ

          การพัฒนาอะไรต่าง ๆ ก็แล้วแต่ต้องมีเป้าหมาย การพัฒนาภาวะผู้นำก็เหมือนกันต้องมีเป้าหมายผู้เขียนมีความคิดส่วนตัวว่า ระดับเป้าหมายของการพัฒนาภาวะผู้นำต้องแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ ระดับบุคคล ระดับองค์กร ระดับสังคม ดังจะได้นำเสนอดังต่อไปนี้

4.1 เป้าหมายระดับบุคคล การพัฒนาภาวะผู้นำให้เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นเป้าหมายทีต้องการให้การพัฒนาภาวะผู้นำเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้นำที่ดี ประกอบด้วยคุณลักษณะ 3 ด้านด้วยกัน คือ บุคลิกภาพ  จิตใจ และปัญญา

บุคลิกภาพภายนอก รูปลักษณ์ภายนอกของผู้นำ เพราะนี่เป็นสิ่งแรกที่ปรากฏแก่สายตาผู้คน ความสะอาดทางร่างกายเป็นสิ่งที่สำคัญ รองลงมา คือ การแต่งกายที่เรียบร้อย เหมาะสมกับตำแหน่ง วัยและประสบการณ์ ทั้งสองส่วนนี้เป็นสิ่งที่สามารถสื่อสารให้คนภายนอกรู้จักตัวตนของคุณ ไม่ว่าจะเป็นระดับการศึกษา ฐานะตำแหน่ง

บุคลิกภาพภายใน การใช้ภาษา ผู้นำต้องสามารถพูดโน้มน้าวโต้ตอบได้ฉลาด สามารถเป็นผู้นำกลุ่มได้ และต้องมีความกระตือรือร้นใฝ่การเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อก้าวทันเทคโนโลยี และเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ผู้ตามภายในองค์กรได้

จิตใจที่มั่นคง ผู้นำที่ดีต้องไม่มีอารมณ์ฉุนเฉียวเรียกอีกอย่างหนึ่ง หูเบา ปากไว ใจเบา เรื่องเก่าก็เก็บเอามาฟื้น กิจการคนอื่นเก็บเอามาใส่ใจ ไม่กล้าเผชิญอุปสรรค ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีอารมณ์มั่นคง มีเคารพสิทธิผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และต้องมีจิตวิทยาในการพูด พูดจาชมเชย ผู้นำต้องมีการรู้จักควบคุมอารมณ์เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่ง ความเฉลียวฉลาดอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับผู้นำ แต่ต้องมีความเฉลียวฉลาดภายใต้การรู้จักควบคุมอารมณ์ให้เหมาะสมด้วย

การเข้าสังคม ผู้นำที่ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำตามวิชาการสมัยใหม่ต้องเป็นผู้มีการมองโลกในแง่ดี มีความสนุกสนานเบิกบานใจมองโลกในแง่ดี มุ่งเน้นการมองตนเองในแง่บวก พยายามที่จะมีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของตนเองแล้ว พัฒนาตนเอง แล้วพัฒนาในสิ่งทียังบกพร่อง เสริมจุดแข็งให้ดียิ่งขึ้น กำหนดเป้าหมายที่จะก้าวไปสร้างฝันแล้วหาทางสู่ฝันให้เป็นจริงได้ ต้องเป็นผู้มีความรู้ในพิธีการต่าง ๆ ตามบรรทัดฐาน ของสังคม เพื่อจะได้ปฏิบัติ ตามมารยาทสากลได้อย่างถูกต้อง สามารถเป็นตัวอย่างให้คำแนะนำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดทั้งคนรอบข้างได้เป็นอย่างดี

          4.2 เป้าหมายระดับองค์กร เป้าหมายการพัฒนาภาวะผู้นำระดับองค์กร ผู้เขียนมีความคิดว่าการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักวิชาการสมัยใหม่ เป็นสิ่งที่แปลกใหม่ เพราะว่าการเป็นผู้นำนั้นบางคนเกิดมาพร้อมกับสิ่งเหล่านี้ที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด แต่ว่ายังไม่สมบูรณ์แบบ ดังนั้น ต้องมีกลยุทธ์สำคัญส่งเสริมด้วยกระบวนการ จะทำให้ประสบความสำเร็จ ต้องมุ่งเน้นความสามารถด้านกระบวนการ ได้แก่ การวางแผน การนำ และการประเมินผล (พิพัฒน์ นนทนาธรณ์, 2553 : 104-106)

          ผู้นำต้องสามารถวางแผนไว้ล่วงหน้า และต้องมีการคิดอย่างมีเหตุผล มีการพยากรณ์ล่วงหน้า กำหนดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนจัดทำยุทธศาสตร์ว่าด้วยการวางแผนในทุกระดับเพื่อก่อให้เกิดเอกภาพในการวางแผน การจัดองค์กรต้องมีความเหมาะสมกับแผนที่วางไว้  อันจะเป็นการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องเป็นนักจัดโครงสร้างและออกแบบองค์กรให้ทันสมัย และมีหน้าที่ในการนำพาคนในองค์กรดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับระบบย่อยของบุคลากรที่มีอยู่ และผู้นำต้องมีข้อมูลที่เป็นข้อมูลที่หลักฐานยืนยันอ้างอิง หรือหาข้อสรุป ในการประเมินจะต้องมีเกณฑ์สำหรับการเปรียบเทียบ เพื่อที่จะทราบได้ว่าคะแนนที่ได้มาสูงหรือว่าต่ำกว่า ทำให้สามารถวางแผนการ ประเมินค่าออกมาได้และที่สำคัญที่สุด การบริหารต้องประกอบไปด้วย การประเมินบุคคล การประเมินผลงาน การประเมินผลกลุ่ม การประเมินองค์กร

          นอกจากนั้น ผู้นำต้องมีภาวะผู้นำในการสื่อสาร การสร้างแรงจูงใจ ผู้นำต้องใส่ใจ สร้างแรงจูงใจให้เกิดการทำงานของบุคลากรในองค์กร การมอบหมายงาน ผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีต้องกระจายมอบหมายงานให้ทีมงาน องค์กรทำ การสร้างทีมงาน ผู้นำต้องสร้างทีมงานให้ได้ ผู้นำที่มีภาวะผู้นำที่ดีต้องใช้การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม การสอนงาน หน้าที่ของผู้นำ นอกจากมอบหมายงานให้กับทีมงานแล้ว ต้องทำงานที่เป็นผู้สอนงาน ด้วยประสบการณ์ที่ตนมี แก่ผู้ตาม ผู้ใต้บังคับบัญชาได้อีกด้วย (พิพัฒน์ นนทนาธรณ์, 2553 : 54-58)

          4.3 เป้าหมายระดับสังคม

                เป้าหมายระดับสังคมนี้ ควรเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุล ความหย่อนยานคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ สิ่งที่สำคัญที่สุดเป้าหมายการพัฒนาภาวะผู้นำระดับนี้ คือ ความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ในเรื่องการจ่ายค่าแรง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงาน เพราะว่าปัจจุบัน ประเทศไทยของเรานั้นมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้แรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย

                ด้านสิ่งแวดล้อม ธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ที่เกิดจากองค์กรสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ มลภาวะ ทางเสียงกลิ่น แม่น้ำลำคลอง ผู้นำที่มีโอกาสได้บังคับบัญชา ควบคุมตรงส่วนนี้ ต้องให้ความสำคัญด้วยจริยธรรมที่ตนเองมี

          ด้านจิตวิญญาณ ผู้นำที่ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำแล้วต้องไม่มุ่ง หาผลกำไรมองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภย่อหย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

          การพัฒนาภาวะผู้นำต้องเป็นกระบวนการพัฒนาการทำงานกับคนในองค์กร เน้นการมุ่งไปที่คน การสร้างแรงจูงใจกับคน การใช้มนุษย์สัมพันธ์หรือการปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในองค์กร การสื่อสารกันระหว่างบุดคล การสร้างบรรยากาศที่ดีในองค์กร และการลดหย่อนความขัดแย้งระหว่างบุคคลหากผู้นำไม่สามารถทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มใจยอมรับหรือปฏิบัติตามการแนะนำ แสดงว่าผู้นำนั้นไม่มีภาวะผู้นำแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเต็มใจยอมรับแต่ปฏิบัติตามด้วยความกลัว อีกทั้งยังเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบแต่มิใช่การปฏิบัติตามเพื่อสนองตอบความต้องการของภาวะผู้นำ เป็นคนดีที่คนอื่นในองค์กรอยากเป็นอยากดำเนินตามด้วย (ธนกร บุญพันธ์, 2554 : 126)

          เมื่อผู้นำได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำตามวิชาการสมัยใหม่ ก็ต้องมีการจัดการความรู้ที่ตนเองมีด้วยการประสานงานเกิดเป็นเครือข่าย ปัจจุบันสื่อต่าง ๆ ทันสมัยมากไม่ว่าจะเป็น Application social media ต่าง ๆ เป็นเครื่องมือที่สามารถทำให้เกิดเครือข่าย การเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นผู้นำแห่งโลกอนาคต จะทำให้ก่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาภาวะผู้นำสร้างสรรค์สังคม กิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ผู้เขียนมีความคิดขึ้นมาก็คือ การจัดเวทีร่วมเรียนรู้ผู้นำตามหลักวิชาการสมัยใหม่ส่งเสริมให้ผู้นำร่วมเวที และสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเพื่อพัฒนาร่วมงานกันต่อไป เป็นความหลากหลายของผู้นำหลากสาขา นำไปสู่ผู้นำแห่งอนาคต สร้างจิตสำนึกให้สมาชิกสังคมเห็นคุณค่าของการมีบทบาทร่วมเปลี่ยนแปลงและฟื้นฟูประเทศชาติ

  1. ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับผู้นำในปัจจุบัน

          ปัญหาและอุปสรรค ความล้มเหลวขององค์กรภาครัฐ องค์กรเอกชน มวลชน ผู้เขียนมองว่าเพราะขาดการพัฒนาด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ การขาดผู้นำทางจริยธรรมที่พอกพูนด้วยศิลปะวิทยาการแห่งศาสตร์ความเป็นผู้นำ หรือภาวะผู้นำ อันดีงาม ดังนั้นผู้เขียนจะได้นำเสนอดังต่อไปนี้

5.1 ลักษณะของปัญหาผู้นำในยุคปัจจุบัน ผู้เขียนมีความคิดว่า ลักษณะของปัญหาภาวะผู้นำไม่มีอะไรเกินไปกว่า อุปสรรคสำคัญ คือ

 การทำงาน ด้วยความเกรงกลัวต่ออิทธิพลต่าง ๆ เป็นสาเหตุแห่งการบั่นทอนความสามารถของตน   ที่ทำให้ความเที่ยงธรรมต่อหน้าที่อย่างร้ายแรง ต้องระมัดระวังควบคุมสติและรักษาความสุจริตเป็นธรรมไว้ได้ตลอดกาล การพัฒนาบุคคลไม่รู้ตัวตนของตนเอง เป็นปัญหาอุปสรรคอันดับแรกในการพัฒนาภาวะผู้นำ

ความรอบคอบในความคิด ผู้เขียนหมายถึงความคิดที่รอบคอบและกว้างไกล เพราะว่าใจร้อน เร่งที่จะการงานให้สำเร็จเรียบร้อยอย่างไม่ทันพิจารณาให้ละเอียดรอบครอบ

บกพร่องในความมัธยัสถ์ พอเหมาะพอดีในการใช้จ่ายในชีวิตปัญหาความฟุ้งเฟ้อ เป็นเหตุให้เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ หาทางที่จะให้ได้ทรัพย์สินเงินทองโดยความไม่ถูกต้อง ดังปัญหาในปัจจุบันที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ว่า อดีตข้าราชการผู้ใหญ่ ฆ่าตัวตายหนีความผิด (โพสต์ทูเดย์, 2561 : 16)

บกพร่องในจริยธรรม ความไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี เพราะมุ่งแต่ที่จะแสวงหาผลประโยชน์เฉพาะตัวให้เพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้ทำความผิดและความชั่วทุจริตได้ โดยไม่รู้สึกสะดุ้งสะเทือน(พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,12 กรกฎาคม 2522)

          5.2 สาเหตุของปัญหาผู้นำในยุคปัจจุบัน สำหรับสาเหตุปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาภาวะผู้นำ ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความรู้หรือทักษะ ที่จำเป็นในการสร้างภาวะผู้นำ นอกจากนี้ การขาดคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้นำมือใหม่ ผู้ที่เป็นผู้นำองค์กรที่ได้รับตำแหน่งใหม่ๆ ที่เริ่มทำงานด้วยความไม่มั่นใจ และเสียเวลาไปกับการทดลองทำงาน ลองผิดลองถูก ผู้เขียนมีความเห็นที่สรุปลงในที่นี้ว่า ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาภาวะผู้นำสามารถสรุปได้เป็น 5 ประการดังต่อไปนี้ 1. การเป็นผู้นำที่ดีควรทำพัฒนาอย่างไร 2. ทำอย่างไรภาวะผู้นำถึงจะเกิดขึ้น 3. หน้าที่ความรับผิดชอบมีอะไรบ้าง และ 4.การขาดความมั่นใจในตนเอง นอกจากนี้ยังรวมถึง การขาดภาวะผู้นำที่ดีมาทำหน้าที่ในการนำกลุ่ม องค์กร สังคม 

          ความซื่อสัตย์ แต่สิ่งที่ผู้นำในประเทศไทย ขาดมากที่สุดคือ การที่ผู้นำขาดความซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น และหน้าที่ของตนเอง ความรับผิดชอบผู้ใต้บังคับบัญชา ขาดความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส การปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำที่ขาดความเลื่อมใส ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง การปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งที่น้อยกว่า หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย แต่ใช้วิธีการที่ผิดกฎหมาย  เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้สำหรับตนเองหรือผู้อื่น การใช้หรือเบียดบังทรัพยากรของรัฐไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว การขาดจิตสำนึกสาธารณะ มีการใช้ดุลยพินิจ ที่ไม่มั่นคงเส้น คงวา ในการให้บริการสาธารณะ การละเว้นหน้าที่ หรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบของทางราชการ และมาตรฐานวิชาชีพ การใช้อำนาจหน้าที่ทางราชการ เพื่ออำนวยประโยชน์ต่อพวกพ้องนอกจากนี้ ความซื่อสัตย์สุจริต ต่อตนเอง ต่อครอบครัว

          ความคิดริเริ่ม ปัญหานี้ผู้เขียนอยากนำเสนอ ได้สองประการ ประการแรก ผู้นำที่ขาดความคิดริเริ่ม   ที่ดีงาม มีความคิดพยาบาท ขาดความเมตตา เบียดเบียนผู้อื่นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องเดือดร้อน หมกหมุ่นวุ่นวาย เกี่ยวกับเรื่องกามารมณ์  ในท่ามกลางภาวะสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่มีการช่วงชิง แก่งแย่งเพื่อความอยู่รอดของตน หรือกลุ่มของตน ประการที่สอง ผู้นำยึดติดอยู่กับระบบการทำงานแบบเดิม ๆ ขาดกระบวนการทางความคิดคล่องตัว ยึดติดอยู่กับระบบการทำงานแบบเดิม ๆ ไม่มีความคิดที่ยืดหยุ่น ความคิดละเอียดลออ คิดว่าคิดจินตนาการ

          การสื่อสาร เป็นปัญหาสำคัญของผู้นำในปัจจุบัน ผู้นำฐานะผู้บริหาร เป็นผู้ที่ให้คุณให้โทษ เป็นต้น ต่อผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำยังมีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษาในการสื่อสาร เช่น วาจาไม่สุภาพหรือดุด่า แสดงอาการไม่พอใจผู้ตามในองค์กร หรือการกล่าวร้ายต่อหน้าสาธารณะ วาจาที่ผู้นำกล่าวออกมาไม่เป็นที่พอใจผู้ตาม เป็นวาจาที่ขาดความอ่อนหวาน เป็นวาจาที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นวาจาที่ขาดเมตตาจิต เพราะว่าผู้นำขาดความเข้าใจ กลวิธีในการสื่อสารและการนำเสนอที่ดี ที่ทำให้ผู้ตาม ไม่เกิดความสนใจ และมักใช้อารมณ์ เหนือเหตุผล ของผู้นำ หรือว่าพยายามที่จะบิดเบือนข้อมูล หรือว่าข้อเท็จจริง ที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ เพื่อให้เป็นไปโดยชอบธรรม มีวาระซ่อนเร้นเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูล ก่อให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์

          5.3 ผลกระทบจากปัญหาผู้นำในยุคปัจจุบัน ผลจากลักษณะปัญหาวิกฤติผู้นำที่เกิดขึ้นในสังคมโลกปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนมีความต้องการนำเสนอดังต่อไปนี้

1.ผลกระทบต่อตัวผู้นำ เมื่อความศรัทธาในตัวผู้นำ รวมถึงความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีย่อมลดน้อยลงไป ผู้ตามหรือว่าผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย หมดความน่าเชื่อถือ ไม่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน นอกจากนี้แล้ว เมื่อผลของการกระทำดังกล่าวของผู้นำปรากฏขึ้น อาจจะก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า อาการเสียความเชื่อมั่นในตัวของผู้นำ และผู้นำที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นผู้นำ ไม่มีความพร้อมที่จะเป็นผู้นำ เวลาที่ขึ้นมาเป็นผู้นำก็เป็นผู้นำที่ไม่มีคุณภาพ เพราะว่าปัจจุบันผู้นำที่มีความรู้ มีอำนาจ แต่ขาดคุณธรรมก็จะทำให้สังคมมีปัญหา

  1. ผลกระทบต่อองค์กร กล่าวคือ ความศรัทธา ความเชื่อถือ ความไว้วางใจของผู้ตามหรือผู้ใต้บังคับบัญชาจะส่งผลต่อความมั่นคง เสื่อมลงขององค์กรด้วย เช่น กรณีของผู้นำที่เป็นข้าราชการกระทรวงพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ที่เกิดกรณีโกงเงินคนจน ขาดศักยภาพในการนำองค์กร ขาดคุณสมบัติของการเป็นผู้นำองค์กร ส่งผลให้เกิดเรื่องอื่น ๆ ตามมา นั่นคือ การโยกย้ายการสลับเปลี่ยนตำแหน่งซึ่งทำให้ขาดการทำงานต่อเนื่องทางการบริหารงาน ยังไม่ได้สร้างผลงานกำลังที่จะดำเนินโครงการต่าง ๆ แต่ว่าพอเริ่มโครงการก็มีอันต้องย้ายไปประจำตำแหน่งอื่นเสียก่อน นอกจากนี้ การที่ผู้นำมีปัญหาต่อองค์กรแบบนี้แล้ว บางครั้งยังส่งผลถึงหน่วยงานราชการในเรื่องการสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง
  2. ผลกระทบต่อสังคม กล่าวคือ ผู้นำนั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อกลุ่มคน ต่อองค์กรและกลุ่มคนหรือองค์กรนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญของการพัฒนาประเทศ รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดกับกลุ่มคน กล่าวคือ รายได้ของประเทศชาติ ความน่าเชื่อถือของประเทศชาติในเรื่องต่าง ๆ เช่น การค้ามนุษย์ แรงงานเถื่อน การค้าประเวณี เป็นตัวบ่งชี้ระดับการพัฒนาประเทศนั้น กล่าวโดยสรุป คือ ผู้นำเป็นผู้มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรและประเทศที่อาศัยอยู่นั่นเอง

 

เนื้อหาโดย: Sirawat Kro0404
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Sirawat Kro0404's profile


โพสท์โดย: Sirawat Kro0404
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: Sirawat Kro0404
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
น้ำท่วมสถานีรถไฟเชียงใหม่แทบจำไม่ได้!!โรคลืมใบหน้า (Prosopagnosia) จำหน้าคนไม่ได้ แม้แต่หน้าคนใกล้ชิด ความผิดปกติทางสมองที่ทำให้ลืมใบหน้าสาวตั้งกฎหากผู้ชายต้องการจูบเธอ ต้องปฏิบัติตามกฎ 3 ข้ออย่างนี้เคร่งครัด เพราะเธอมีอาการแพ้อย่างรุนแรงรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่ฟ้าครึ้มๆทั้งวัน วันนี้มีบอลคู่ใหญ่ อาจจะมีเปลี่ยนโค็ชได้เด้อครับเด้อรวมมีมใจเกเร สไลด์คลายเครียดประจำวันอิสราเอลโจมตีมัสยิดในกาซา ดับคนดับเจ็บเกือบร้อยบรรยากาศสบายๆ ที่เกาะล้าน ทะเลใกล้กรุงเทพฯนครชัยแอร์ผู้มาก่อนการสิ่งที่ควรบอกตัวเอง เมื่อต้องรับมือกับการสูญเสียคนรักโดยไม่ทันได้ตั้งตัว การสูญเสียสิ่งที่ผูกพันบางสิ่งบางอย่างบ็อกการ์ต ผู้คุมวิญญาณ ความกลัว และความสิ้นหวัง'ศาสตราจารย์ผู้แข็งแกร่ง' แต่อดีตเต็มไปด้วยความทุกข์ระทมอหิวาต์ระบาดหนักในไนจีเรีย ติดเชื้อเกินหมื่นและดับนับร้อย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สาวตั้งกฎหากผู้ชายต้องการจูบเธอ ต้องปฏิบัติตามกฎ 3 ข้ออย่างนี้เคร่งครัด เพราะเธอมีอาการแพ้อย่างรุนแรงศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยชี้แจง:กรณีน้ำท่วมปางช้างเชียงใหม่อหิวาต์ระบาดหนักในไนจีเรีย ติดเชื้อเกินหมื่นและดับนับร้อยแจงข่าวรถทัวร์ควันพุ่งการขโมยดวงคืออะไร ?..ทำได้จริงๆ หรือความมหัศจรรย์ของงวงช้าง ช่างน่าทึ่งจริงๆน๊า ^_^
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
บ็อกการ์ต ผู้คุมวิญญาณ ความกลัว และความสิ้นหวัง'ศาสตราจารย์ผู้แข็งแกร่ง' แต่อดีตเต็มไปด้วยความทุกข์ระทมวิธีการจัดการอาหารและน้ำดื่มสะอาดในช่วงน้ำท่วมจักรพรรดิ​ผู่อี๋ ในพระราชวัง​ต้องห้าม
ตั้งกระทู้ใหม่