ปลาที่สามารถนำมาทำ "ปูอัด" เเสนอร่อย
ปูอัด มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี ค.ศ.1973 ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ‘คานิคามะ (Kanikama)’ โดยการนำปลาเนื้อขาวหรือเนื้อซูริมิมาปรุงรสแต่งกลิ่นให้มีรสชาติเหมือนปูและมีลักษณะที่เป็นไขมันต่ำแต่มีโปรตีนสูง ทำให้ปูอัดเหมาะที่จะเป็นอาหารทานเล่นและใช้ในการปรุงอาหารเมนูต่าง ๆ ได้ดีเช่นกัน
ปูอัดคืออะไร
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำซูริมิมานวดผสมกับแป้ง ไข่ขาว น้ำตาล เกลือ กลิ่นปูและเครื่องปรุงรสจนเป็นเนื้อเดียวกัน รีดเป็นแผ่นแล้วทำให้สุกนำมาม้วนเป็นแท่ง ส่วนผิวใช้สีผสมอาหารตัดให้ได้ตามขนาดแล้วบรรจุในภาชนะนำไปแช่เยือกแข็ง
ปูอัดทํามาจากเนื้ออะไร
หลายคนคงสงสัยกันว่าปูอัดทำมาจากเนื้อปูแน่ ๆ แต่ความจริงแล้วทำจากเนื้อซูริมิ (Surimi) หรือเนื้อปลาที่มีสีขาว เช่น ปลาทรายแดง ปลาอลาสก้า ปลากระพง ปลาดาบ และอัดเนื้อปลาบดละเอียดมาปั้นเป็นแท่ง ๆ คล้ายกับลายของกล้ามเนื้อปู กลิ่นของปูที่เราได้กลิ่นเพราะว่าในขั้นตอนการผลิตได้ปรุงแต่งกลิ่นให้เหมือนกับเนื้อปูและตกแต่งสีให้เป็นสีแดงส้มเหมือนกับกระดองปู
ปูอัดทำมาจากอะไร ขั้นตอนการทำปูอัด
ใครที่ชอบทานอาหารญี่ปุ่นอาจจะเคยทานเจ้าแท่งสีแดงส้ม-ขาว หรือที่เรียกกันว่า ปูอัด เคยสงสัยหรือไม่ว่า ปูอัดทำมาจากอะไร จากชื่อที่ถูกเรียกอย่างนั้นเป็นเพราะว่าทำมาจากเนื้อปูที่ถูกอัดจนเป็นแท่ง หรือความจริงแล้วมันทำมาจากอะไรกันแน่?
ในความเป็นจริงแล้ว ปูอัดไม่ได้ทำมาจากเนื้อปูหรือมีส่วนผสมของเนื้อปูอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ แต่มันกลับทำมาจากเนื้อซูริมิ (Surimi) หรือเนื้อปลาที่มีสีขาว เนื่องจากเนื้อปูแท้ๆ นั้นมีราคาที่แพงมากนั่นเอง และที่เราได้กลิ่นของปูก็เป็นเพราะว่าในขั้นตอนการผลิตนั้นได้มีการปรุงแต่งกลิ่นให้เหมือนกับเนื้อปู มีการแต่งสีให้เป็นสีแดง-ส้มเหมือนกับกระดองปูที่ทำให้สุกแล้ว แถมเนื้อปลายังถูกอัดเป็นแท่งๆ คล้ายกับลายของกล้ามเนื้อปูจนทำให้เราคิดว่าเป็นเนื้อปูแท้ๆ กันเลยหละ
ทำไมต้องมีการผลิตปูอัด
สาเหตุที่มีการทำปูอัดเกิดขึ้นก็เพราะว่า ชาวประมงส่วนใหญ่ที่จับปลาได้ในแต่ละครั้ง จะมีปลาตัวเล็กๆ ที่ไม่สามารถนำไปขายได้ราคาติดอวนขึ้นมาด้วย ดังนั้นจึงได้มีความคิดแปรรูปเป็นอาหาร โดยการนำเอาปลาเล็กๆ เหล่านั้นไปเข้าเครื่องบดหลังจากนั้นก็ไปเข้าเครื่องปั้นต่อแล้วแต่งกลิ่นปูเข้าไป ใส่สีให้มีลักษะคล้ายกันกับกระดองปู และปั้นให้มีลักษณะเหมือนเนื้อปู เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นขั้นตอนการทำปูอัด
ส่วนใหญ่แล้วปลาที่ถูกนำมาทำเป็นปูอัดก็จะเป็นปลาทรายแดงเป็นตัวหลัก โดยลักษณะของปลาทรายแดงตรงช่วงบนของลำตัวหรือเกร็ดบริเวณนั้นจะมีสีออกชมพูแดง หากปลาทรายแดงโตเต็มที่ก็จะมีขนาดความยาวสูงสุดถึง 30 เซนติเมตรเลยทีเดียว ซึ่งการอยู่อาศัยของมัน พวกมันจะอยู่กันเป็นฝูงมักจะหากินตามท้องทะเลที่เป็นโคลนปนทราย และสามารถหาพวกมันได้ตามอ่าวไทยและทะเลอันดามัน หลังจากนั้นทางโรงงานก็จะนำปลาเหล่านี้ไปแปรรูปเป็นปูอัดให้เราได้รับประทานกัน
แล้วตกลงปูอัดทำมาจากปลาอะไร?
ปลาที่จะนำมาทำปูอัดได้นั้น ต้องมาจากปลาทะเลเท่านั้น ทำไมถึงไม่ใช้ปลาน้ำจืด เนื่องจากว่าการจะนำมาแปรรูปนั้น ปลาน้ำจืดจะมีกลิ่นโคลนซึ่งอาจไม่เหมาะแก่การนำมาทำปูอัดซักเท่าไหร่ จึงต้องเลือกใช้ปลาทะเลที่มีความขาวของเนื้อปลา มีความยืดหยุ่น มีความเหนียว และความละเอียดอยู่ในตัว อย่างเช่น
ปลาทรายแดง(ปลาอิโตโยริ)
ปลาตาหวาน ปลาดาบ croaker
ปลาอลาสก้าพอลล็อค
ขั้นตอนการทำปูอัด
- ชาวประมงออกจับปลา
- ปลาที่จับมาได้จะถูกตัดแต่งแยกเอาส่วนที่เป็นหนัง ก้าง หางและหัวออก
- เนื้อปลาจะถูกนำมาล้างให้สะอาดแล้วบดให้ละเอียด อาจจะมีการปรุงรสก่อนเล็กน้อย
- เนื้อปลาถูกอัดให้เป็นก้อนใหญ่ๆ
- หลังจากนั้นจะถูกนำไปทำให้อุณภูมิต่ำลงถึง -30 องศาเซลเซียส แล้วเก็บแช่เข็งไว้ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส
- หลังจากนั้นจะมีการปรุงรสของเนื้อปลา แล้วแต่ชนิดของรสชาติว่าเป็นปูอัดรสอะไร ซึ่งก็ถือว่าเป็นสูตรลับของแต่ละบริษัท ส่วนประกอบโดยประมาณในปูอัดของทางฝั่งยุโรปก็มีดังต่อไปนี้
- 30 – 40% เนื้อปลาที่บดจนละเอียด
- 30 – 40% น้ำ
- 5 – 10% แป้งข้าวสาลี หรือไม่ก็แป้งมันฝรั่ง
- 0 – 10% ไข่ขาว
- 3 – 6% น้ำมันเรพซีด
- 0.5 – 1.5% เกลือหรือกลูตาเมต, มีการแต่งสี กลิ่นและรสด้วยปาปริก้า
- เนื้อปลาจะถูกทำให้สุกโดยแผ่ออกเป็นแผ่นบางบนกระทะที่แบนคล้ายๆ กับการทอดเครป
- หลังจากนั้นก็จะม้วนพันเป็นเกลียว ดึงยืดแผ่นปูอัดที่สุกแล้วให้เป็นแท่งยาวๆ จากรูปเราจะเห็นว่าส่วนของปูอัดที่เป็นสีแดง-ส้มคือส่วนที่สัมผัสกับแผ่นกระทะนั่นเอง
- ตัดให้เป็นแท่งเล็กๆ แบบที่เราเห็นกัน แล้วบรรจุในถุงที่ปิดสนิทและนำไปผ่านขบวนการพาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) ด้วยไอน้ำเพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
- จากนั้นก็วางจำหน่ายโดยมีการแช่เย็นควบคุมอุณหภูมิระหว่าง 0-4 องศาเซลเซียสตลอดเวลา
ก็ได้ทราบกันแล้วนะคะว่า ปูอัดทำมาจากอะไร แม้ปูอัดจะเป็นเพียงแค่เนื้อปูเทียมๆ ที่ทำเลียนแบบขึ้นมา แต่รสชาติก็อร่อยถูกปากคล้ายกับเนื้อปูจริงๆ เลยใช่ไหมหละคะ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันปูอัดนั้นก็มีหลายเกรดหลายราคา หากราคาสูง เกรดดีก็จะมีวัตถุดิบที่นำมาทำเป็นปูอัดค่อนข้างดี แต่สำหรับปูอัดที่มีราคาถูกบางครั้งอาจจะมีส่วนผสมของแป้งอยู่ ดังนั้นก็ควรพิจารณาเลือกซื้อให้เหมาะสมตามความต้องการของผู้บริโภค
เมนูจากปูอัด