หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การเขียน เรื่องสั้น

โพสท์โดย หนามดอกงิ้ว

ว่าด้วยเรื่องสั้น “จากจินตนาการสู่งานเขียน”

 

ความหมายของเรื่องสั้น

เรื่องสั้น (Short Story) ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้อธิบายความหมายของเรื่องสั้นไว้ว่า เรื่องสั้น น. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยายแต่มีความสั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์และตัวละครน้อยกว่า มักจะจบแบบเหนือความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งปมปัญหาให้คิดต่อ 

ลักษณะของเรื่องสั้น

เรื่องสั้นต้องมีโครงเรื่องที่ง่าย ไม่ซับซ้อน โดยมุ่งเน้นไปที่ฉาก สถานที่ เวลา พฤติกรรมหรือการกระทำของตัวละคร เพียงแค่หนึ่งสองหรือสามตัวละครเท่านั้น อีกทั้งเรื่องสั้นมักจะนำเสนอหตุการณ์เดียว (หรือสถานการณ์เดียว) ในช่วงชีวิตของตัวละคร ซึ่งอาจจะเป็นเหตุการณ์ในวัยเด็ก วันรุ่น โต แก่หรือก่อนตาย

โดยทั่วไปแล้วลักษณะสำคัญของเรื่องสั้นแบ่งออกเป็น

  1. เรื่องสั้นจะต้องมีพฤติกรรมสำคัญอันเป็นต้นเรื่องแต่เพียงอย่างเดียว
  2. เรื่องสั้นจะต้องมีตัวละครที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในท้องเรื่องเพียงตัวเดียว
  3. เรื่องสั้นจะต้องมีจินตนาการหรืมโนภาพให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามไปด้วย
  4. เรื่องสั้นจะต้องมีโครงเรื่องหรือผูกเค้าโครงเรื่องให้ผู้อ่านฉงนและสนใจ
  5. เรื่องสั้นจะต้องเขียนอย่างกระชับรัดกุม
  6. เรื่องสั้นจะต้องมีการจัดรูปแบบ ลำดับพฤติกรรมให้มีชั้นเชิงชวนอ่าน
  7. เรื่องสั้นต้องทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สนุก เศร้า หรือเรียกง่ายๆว่าเกิดอารมณ์คล้อยตาม

ซึ่งนักวิชาการทั้งไทยและต่างประเภทอาจจะให้ความสำคัญของจำนวนคำด้วย แต่ข้าพเจ้าไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก ซึ่งเรื่องหนึ่งถ้าเป็นไปตามลักษณะทั้ง 7 ข้อนี้แล้วจำนวนคำและความยาวจึงไม่ใช่ความสำคัญ

ประเภทของเรื่องสั้น

งานเขียนประเภทเรื่องสั้นนั้นมีการพัฒนามายาวนานทั้งรูปแบบ เนื้อหา หรือแม้กระทั้งกลวิธีการเขียน ซึ่งสิ่งที่เป็นองค์ประกอบต่อการพัฒนาการเขียนนั้นมีหลายประการเช่น ยุคสมัย ความถนัด สภาพสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั้งสถานการณ์ทางการเมืองและโลก รวมไปถึงการที่นักเขียนต้องการค้นคว้าหรือแสวงหาการเขียนในรูปแบบใหม่ด้วย

การจัดประเภทประเภทของเรื่องสั้น 

  1. แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง
  2. แบ่งตามลักษณะการเขียน
  3. แบ่งตามลักษณะเนื้อหาของเรื่อง
  4. แบ่งตามลักษณะของฉากที่ใช้
  5. แบ่งตามลักษณะโครงสร้างการแบ่งเช่นนี้จะเน้นไปที่โครงสร้างโดยรวม คือจะเน้นไปที่จุดใดจุดหนึ่งของเรื่อง เช่น เรื่องสั้นแนวหักมุม เรื่องสันแนวเน้นไปที่พฤติกรรมของตัวละคร เรื่องสั้นที่เน้นไปที่การพรรณาฉากของเรื่อง และเรื่องสั้นที่แสดงหรือมุ่งเสนอทัศนคติ อุดมการณ์ของผู้เขียนผ่านตัวละคร
  6. แบ่งตามลักษณะการเขียนการแบ่งในลักษณะนี้จะยึดเอาแนวการเขียนของผู้เขียนเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งแนวการเขียนได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

แนวอัตถนิยม หรือเรียกได้แนวสมจริง เช่นงานเขียนของประชาคม ลุนาชัย 

แนวสัญลักษณ์ แนวนี้มักจะใช้สิ่งที่มีหรือไม่มีชีวิตเป็นตัวแทนของความคิดของผู้เขียนที่ต้องการจะสื่อ เช่น มีดประจำตัวของชาติ กอบจิตติ

แนวเหนือจริง เป็นลักษณะงานเขียนที่ใช้สิ่งที่ดูเหมือนจริงมาเปรียบเทียบกับเรื่องรายวที่เป็นไปได้และเป็นไปไม่ได้ บางครั้งอาจจะใช้สัญลักษณ์เข้ามาประกอบในงานเขียนด้วย

แนวเสียดสีสังคม อาจจะกล่าวได้อีกหนึ่งว่าเป็นงานแนวเพื่อชีวิต เช่นงานของกนกพงษ์ สงสมพันธุ์

ฯลฯ

  1. แบ่งตามลักษณะเนื้อหาของเรื่องกล่าวคือเป็นการแบ่งตามเนื้อหาของเรื่องที่ปรากฏ ซึ่งมีมากมายหลายหลายลักษณะ เช่น เรื่องสั้นแนวจิตวิทยา เรื่องสั้นแนวผจญภัย เรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ เรื่องสั้นแนวการเมือง เรื่องสั้นแนวรักใคร่ ฯลฯ
  2. แบ่งตามลักษณะของฉากที่ใช้การแบ่งลักษณะนี้จะยึดเอาฉากที่ผู้เขียนใช้ในการดำเนินเรื่อง เช่นเรื่องสั้นชนบท หรือลูกทุ่ง เรื่องสั้นที่ใช้ฉากในเมืองหลวง ใช้ฉากในต่างประเทศ หรือผสมผสานฉาก

องค์ประกอบของเรื่องสั้น

ลักษณะของเรื่องสั้นประกอบด้วยหลายอย่างรวมกัน โดยแต่ละอย่างมีความสำคัญไม่ได้ด้อยไปกว่ากัน หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรื่องสั้นเรื่องสั้นๆ ก็อาจจะไม่สมบูรณ์ องค์ประกอบที่ว่านี้มีแบ่งตามโครงสร้างได้ 6 ลักษณะคือ

  1. โครงเรื่อง
  2. แก่นเรื่อง
  3. ตัวละคร
  4. บทสนทนา
  5. มุมมอง
  6. ฉาก-บรรยากาศ

โครงเรื่อง ในการสร้างงานเขียนนั้น ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนประเภทใด สารคดี นิยายหรือเรื่องสั้น สิ่งทู้เขียนควรคำนึงเป็นอันดับแรกคือ โครงเรื่อง เพราะโครงเรื่องจะทำให้ผู้เขียนรู้ว่าตนเองนั้นจะเขียนอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไร เขียนเรื่องอะไร ประเภทไหน จนถึงจะดำเนินเนื้อเรื่องไปในรูปแบบใด และจำจบอย่างไร สรุปได้ว่าโครงเรื่องคือชุดของเหตุการณ์ที่ปรากฎอันเป็นทิศทางการดำเนินเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งในการลำดับเรื่องราว (เล่าเรื่อง) นั้นควรจะต้องมีเหตุมีผล หรือสมเหตุสมผลต่อเนื่องกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือที่เรียกว่า “เอกภาพ”

โดยทั่วไปโครงเรื่องจะประกอบด้วย

  1. ความสมจริงความสมจริงนี้ไม่ใช่ความจริง หากแต่เป็นความสมจริงในเนื้อเรื่อง หมายถึงมาจะต้องมีความน่าเชื่อถืออยู่ในตัวงานเขียนเอง มีการสอดผสานระหว่างเหตุการณ์ต่างๆ เป็นลำดับขั้นตอน
  2. ความคาดไม่ถึงความคาดไม่ถึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของโครงเรื่อง ซึ่งทำให้เรื่องแต่งนั้นๆ มีเสน่ห์มีอรรรสน่าอ่าน
  3. ความซับซ้อนของเนื้อเรื่อง ความซับซ่อนของเนื้อเรื่องนี้ก็เป็นอีกหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในงานเขียน เพรามันทำให้ผู้อ่านใคร่รู้อยากติดตาม ทั้งยังเป็นแรงกระตู้ให้ผู้อ่านอ่านได้โดยไม่เบื่อ
  4. ความเป็นเอกภาพความเป็นเอกภาพเป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้เขียนควรคำนึงถึง ความเป็นเอกภาพคือการเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆ ในเนื้อเรื่องเข้าด้วยกันอย่าวลงตัวละเหมาะสม คือทั้งต้นเรื่อง กลางเรื่อง และจุดจบของเรื่อง เมื่ออ่านแล้วทุกสิ่งสอดคล้องกันอย่างมีเหตุผล

ปรกติทั่วไปโครงสร้างของโครงเรื่องนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 

  1. การเปิดเรื่อง

2.การดำเนินเรื่อง 

3.การจบเรื่อง

  1. การเปิดเรื่องนั้นมีความสำคับมาก เรื่องนั้นจะน่าอ่านหรือน่าติดตามหรือไม่ขึ้นอยู่กับการเปิดเรื่อง ซึ่งโดยทั่วไปการเปิดเรื่องจะมีหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการเปิดเรื่องโดยการพรรณนาพฤติกรรมหรือบุคลิกของตัวละครที่อยู่ในสถานการณ์นั้นๆ การเปิดเรื่องโยบรรยายฉากหรือความเป็นไปต่างๆ และการเปิดเรื่องโดยใช้บทสนทนา ฯลฯ ซึ่งการจะเปิดเรื่องแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่องและตัวผู้เขียนว่าจะเลือกใช้อย่างไหน
  2. การดำเนินเรื่องการดำเนินเรื่องนั้นก็มีความสำคัญเช่นกัน ซึ่งการดำเนินเรื่องนั้นเราจะต้องพยายามใส่ปมปัญหา อุปสรรคของตัวละครเข้าไปทีละนิดๆ จนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง ซึ่งจุดสุดยอดของเรื่องนี้ก็คืออุปสรรคและความขัดแย้งของตัวละครนั้นเอง

อุปสรรคหรือความขัดแย้งของตัวละครนั้นสามารถแบ่งออกเป็นไปได้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ดัวยกันเอง ความขัดแย้งระหว่างมุนษย์ต่อสิ่งภายนอก เช่น ธรรมชาติ สัตว์ ศาสนา ฯลฯ และความขัดแย้งภายในตนเอง

นอกจากการดำเนินเรื่องจะมีองค์ประกอบของความขัดแย้งแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรนึกถึงด้วยก็คือการเดินเรื่อง การเดินเรื่องนี้ส่วนมากก็จะเดินเรื่องแบบ การเดินเรื่องไปตามลำดับเวลา การเดินเรื่องแบบย้อนหลัง และผสมผสานกัน

  1. การปิดเรื่องหรือการจบเรื่อง เรื่องสั้นจะดีหรือไม่นั้นจุดจบของเรื่องก็มีความสำคัญไม่ยิ่งย่อนไปกว่าขั้นตอนไหน เพราะฉากจบเป็นฉากที่คลี่คลายประเด็นหรือเรื่องราวทั้งหมดที่ผู้เขียนสื่อออกมา ผู้อ่านจะรู้สึกชอบหรือไม่ชอบส่วนมากก็ตรงฉากจบ อีกทั้งฉากจบนั้นยังสามารถบอกได้ว่าเรื่องนั้นๆ มีเอกภาพในตัวมันเองหรือไม่

โดยส่วนมากฉากจบจะมีอยู่ที่จบแบบทุกอย่างคลี่คลาย ปมปัญหาได้รับการแก้ไข (โดยตัวละคร) จบแบบไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ และจบแบบทิ้งคำถามหู้อ่านได้นำกลับมาคิดต่อ ซึ่งฉากจบนั้นจะเป็นแบบไหนก็แล้วแต่ประเด็นของเรื่องและความประสงค์ของผู้เขียนเป็นสำคัญ

แก่นเรื่อง

แก่นเรื่องเป็นแนวคิดหรือสาระสำคัญของเรื่องที่ผู้เขียนต้องการจะนำเสนอต่อผู้อ่าน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แนวคิดรวบยอด” ของผู้เขียนที่ต้องการนำเสนอต่อผู้อ่านเป็นสาระสำคัญ

แก่นเรื่องโดยทั่วไปมี 4 ประเภทคือ

  1. แก่นเรื่องแสดงทัศนะส่วนมากแก่นเรื่องแบบนี้จะเสนอหรือแสดงทัศนะของผู้อ่านต่อประเด็นทางสังคม การเมือง ศาสนา หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นแก่นเรื่องแรวเพื่อชีวิต
  2. แก่นเรื่องแสดงอารมณ์เป็นแก่นเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งเน้นแสดงอารมณ์ต่างๆ ที่สะเทือนใจไม่ว่าจะเป็น สุข เศร้า เหงา ทุกข์ โศก พยาบาท ร่าเริง หวาดกลัว ว้าเหว่ ฯลฯ
  3. แก่นเรื่องแสดงพฤติกรรมมุ่งที่แสดงพฤติกรรมในบางแงมุมหรือทุกแง่มุมของตัวละครเป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมของตัวละครอันเป็นผลมาจากทัศนะคติต่อค่านิยมบางอย่างในสังคม และพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากอารมณ์ของตัวละครเอง
  4. แก่นเรื่องแสดงภาพละเหตุการณ์เป็นแก่นเรื่องที่ผู้เขียนมุ่งที่จะแสดงสภาพบางอย่างหรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ในบางช่วงตอนของชีวิตตัวละคร

ตัวละคร

ตัวละครคือผู้ประกอบพฤติกรรมตามเหตุการณ์ในเรื่อง หรือเป็นผู้ได้รับผลจากเหตุการณ์นั้นๆ ตัวละครนี้ไม่ได้จำกัดอยู่กับมนุษย์แต่เพียงอย่างเดียว ตัวละครอาจจะเป็นอะไรก็ได้ทั้งคนและสัตว์ สิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้

ตัวละครอาจแบ่งแยกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

  1. แบ่งตามลักษณะสำคัญของเรื่องเช่นตัวละครสำคัญ หรือตัวละครหลัก คือ พระเอก ยางเอง ตัวร้าย ตัวละครรอง เป็นตัวละครที่มีความสำคัญน้อยกว่าตัวละครหลัก แต่มีบทบาทสนับสนุนตัวละครหลัก ตัวละครขัดแย้ง เป็นตัวละครที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าตัวละครหลักเช่นกัน ตัวละครขัดแย้งนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อก่อให้เกิดปัญหา อุปสรรค และความขัดแย้งในเนื้อเรื่อง
  2. แบ่งตามพฤติกรรมของตัวละครซึ่งเป็นแบบ ตัวละครคงที่ ตัวละครลักษณะนี้เป็นตัวละครที่มีบุคลิคลักษณะนิสัยคงที่ไม่เปลี่ยนตั้งแต่ต้นเรื่องจนถึงจบเรื่อง และตัวละครซับซ่อน ตัวละครลักษณะนี้เป็นตัวละครที่มีความหลากหลาย มีความซับซ่อนทางอารมณ์ ความรู้สึก มากกว่าแบบแรก และตัวละครเช่นนี้เป็นตัวละครที่มีบุคลิกลักษณะความเป็นมนุษย์มากกว่า

บทสนทนา

บทสนทนา คือถ้อยคำในการพูดหรือสนทนาของตัวละครในเรื่อง ซึ่งมี 2 ตัวละครขึ้นไป หรืออาจจะให้ตัวละครสนทนากับตนเองก็ได้ บทสนทนาควรจะอยู่ในเครื่องหมายอัญประกาศ  “...” และวิธีการโต้ตอบของตัวละครความจะแยกกันไว้คนละบรรทัด

มุมมอง

มุมมอง หรือกลวิธีการเล่าเรื่อง คือ เมื่อผู้เขียนจะลงมีเขียนผู้เขียนควรจะกำหนดไว้ก่อนว่าจะให้ใครในเรื่องเป็นผู้เล่าเรื่อง โดยทั่วไปจะมีอยู่ 4 กลวิธีการเล่าดังนี้

  1. ตัวละครใดหรือตัวละครหนึ่งเป็นผู้เล่าเรื่องโดยตัวละครผู้เล่าในลักษณะนี้จะใช้สรรพนามบุรุษที่1 เช่น กู ฉัน ข้า ผม ข้าพเจ้า เล่าเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง กลวิธีการเขียนในลักษณะนี้ค่อนข้างจะง่าย และเป็นกลวิธีการเขียนที่เหมาะสำหรับผู้ที่เพิ่งจะเริ่มต้นเขียน

2.ผู้เขียนเป็นผู้เล่าเอง ลักษณะการเขียนแบบนี้ค่อยข้างจะยาก และแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ เขียนเป็นผู้เล่าแบบรู้แจ้ง คือผู้เขียนล่างรู้ทุกสิ่งของตัวละครทุกตัว ทั้งพฤติกรรม นิสัย บุคลิก ลักษณะ ท่าทาง รู้แม้กระทั่งความลับและความในใจของตัวละคร อีกลักษณะการเขียนคือ ผู้เขียนเขียนโดยล่วงรู้ถึงตัวละครหลักเพียงตัวเดียว แต่จะไม่ล่วงรู้ถึงสิ่งต่างๆ ของตัวละครอื่นๆ ส่วนมากการเขียนในลักษณะนี้จะใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 เช่น เธอ หล่อน เขา หรือใช้ชื่อของตัวละครแทนก็ได้

  1. เล่าโดยกระแสจิตประหวัดเป็นการเล่าเรื่องแบบบักทึกความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร กลวิธีการเขียนในลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นกลวิธีการเขียน“แนวจิตสำนึก”

๔. เล่าโดยการผสมผสานทุกวิธี โดยใช้กลวิธีการเล่าเรื่อง่านกลวิธีทั้งสองวิธี เช่นการเล่าเรื่องโดยผ่านมุมมองบุราที่ 1 และ มุมองบุรุษที่ 3 ในเรื่องเดียวกัน

ฉากและบรรยากาศ

ฉากและบรรยากาศ รวมถึงสถานที่ สิ่งแวดล้อมที่ตัวละครอยู่ หรือเหตุการณ์นั้นๆ เกิดขึ้น ฉากและบรรยากาศนี้อาจจะเป็น สถานที่ตั้ง อาชีพ การดำรงชีวติของตัวละคร เวลา ยุค วัน เดือน ปี รวมถึงสภาพแวดล้อมของตัวละคร 

 

บทความนี้เรียบเรียงขึ้นใหม่ โดยผู้เขียนเรียบเรียงเอาไว้เพื่อไปสอนตามโรงเรียนต่างๆ  ที่ได้รับเชิญ ผู้เขียนเห็นว่าพอมีประโยชน์อยู่บ้างจึงนำมาให้อ่านดู

 


ให้กำลังใจนักเขียนด้วยการกด ดาว และกด ติดตาม ด้วยนะคะ
ขอบคุณค่ะ

เนื้อหาโดย: หนามดอกงิ้ว

รูปประกอบถูกลิขสิทธิ์จากเวบ pixabay
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
หนามดอกงิ้ว's profile


โพสท์โดย: หนามดอกงิ้ว
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: หนามดอกงิ้ว
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เชน ธนา การเงินวิกฤตหนัก ตัดใจประกาศขายออฟฟิศ 3 ตึก ราคารวมเกือบร้อยล้านเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่นชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสียเพจดังเปิดภาพพระสงฆ์ ควงแขนผู้ชาย ชาว เน็ตวิจารณ์ยับคนดูยังท้อ!! หนุ่มทำคอนเทนต์ตามล่า “ ช็อกโกแลตดูไบ” ในเซเว่น หาทั้งจังหวัด 23 สาขา ก็ยังไม่มี แต่สุดท้ายได้ลองสมใจ"เหมือนเป๊ะ! แตงโมจัดเต็มโคฟเวอร์ 'เจ๊มิ่ง' แซ่บเวอร์ทุกดีเทล"โบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี แห่งไซบีเรีย ซึ่งเต็มไปด้วยปริศนาที่รอคำตอบ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮ! เงินไร่ละพันยังมาต่อเนื่อง! ชาวนารับเงินช่วยเหลือ ธ.ก.ส. กันอยู่หรือเปล่า? มาอัปเดตกันหน่อย!รีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!อย่าท้าทายระบบ! "สารวัตรแจ๊ะ" เผยสาเหตุที่ต้องใส่แมสก์ และสวมหมวกตลอดเวลาสั่งพักงานยกชุด! 18 ตำรวจจราจร ปมตั้งโต๊ะจับปรับ 'เจอจ่ายจบ'"ร่วมส่งใจ อาเป็ด เชิญยิ้ม แอดมิตด่วน เจอพิษ “โนโรไวรัส” ยังไม่มียา-วัคซีน ชวนป้องกัน กินสุกลดเสี่ยง ล้างมือบ่อย #ลดเสี่ยงโรค
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Review, HowTo, ท่องเที่ยว
โจรฉกมือถือ ขณะหนุ่มถ่ายฉากโรแมนติกบนถนนในสเปนBibury: หมู่บ้านแห่งมนต์สะกดที่สวยที่สุดในอังกฤษและโลกสภาพอากาศช่วงนี้: ที่เที่ยวไหนน่าสนใจในประเทศไทยLittle Town Sriracha
ตั้งกระทู้ใหม่