อีกคำ ที่มักเขียนผิด มาดูวิธีจำกัน!!
เขียนต่างกัน แต่วิธีทำคล้ายกัน?
กล้วยบวชชี กับบวดฟักทอง หรือฟักทองแกงบวด ทำไมเขียนต่างกันนะ
วิธีจำของผู้เขียนง่ายๆ เวลาที่เขียนคำนี้ให้นึกคือ กล้วย จะบวช..ชี
หากใครมีหนังสือสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้เปิดดูนะคะ มีอธิบายถึง “บวชชี” ไว้ว่า เป็นของหวานชนิดหนึ่ง ใช้กล้วยสุกจัด ต้มกะทิ รสไม่หวานจัด มีรสเค็มผสมอยู่ด้วย
ที่มีชื่อเช่นนี้ คงจะเป็นเพราะกล้วยบวชชี ถ้าทำดี ๆ สีจะค่อนข้างขาว จึงเปรียบได้กับเครื่องแต่งกายของชี แต่ถ้าหากทำไม่พิถีพิถัน สีจะคล้ำเพราะยางกล้วย เมื่อโดนอากาศ จะทำให้กล้วยมีสีคล้ำ นิยมทำเป็นของหวานรับประทานภายในครัวเรือน
กล้วยที่นิยมนำมาบวชชี คือ กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ก็ใช้กันอยู่บ้างเหมือนกัน
“บวชชี” คือ เมื่อต้มกะทิ เกลือ และน้ำตาลรวมใส่หม้อตั้งไฟแล้ว ให้ปอกกล้วย แล้วหั่นตามขวาง 2 ถึง 3 ท่อน แล้วแต่ขนาดของผลกล้วย ใส่ลงในหม้อกะทิ หั่นกล้วยใบต่อใบ การทำเช่นนี้จะทำให้กล้วยบวชชีมีสีขาวน่ารับประทาน ถ้าปอกจนหมดแล้วใส่พร้อมกัน ยางกล้วยเมื่อโดนอากาศนานจะมีสีคล้ำ ทำให้ขนมสีไม่สวย นิยมใช้มีดเหล็กที่ไม่เป็นสนิมหรือมีดทองผ่ากล้วย
ส่วนขนมหวานอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “แกงบวด” วิธีทำทุกอย่างเหมือนบวชชี แต่ใช้เผือก มัน หรือฟักทอง และนิยมใช้น้ำตาลโตนด
หรือ อีกประการหนึ่ง ผู้ต้นคิดของหวานชนิดนี้อาจแจกแจงชื่อไว้เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ เรียกสับสน เพราะเมื่อเห็นวิธีทำเหมือนกันอาจเรียกชื่อเช่นเดียวกัน
แต่จริงๆ ต่างกันตรงใช้น้ำตาลโตนด สีจึงไม่ขาวออกเหลืองนวล เท่ากับการทำกล้วยบวชชี จึงเขียนเป็น แกงบวด หรือบวด เพื่อให้แยกแยะขนม ได้
หรืออาจเป็นกุศโลบายของผู้คิดสูตรก็เป็นได้
คนโบราณมักมีวิธีคิดวิธีสอนที่แยบยล รู้แล้วนะ เขียนเหมือนกัน วิธีทำต่างกันคือยังไง
กล้วยบวชชี สีขาว
บวด สีขุ่นเหลือง จากน้ำตาลโตนดนั่นเอง
การจำแบบนี้ นำไปทำข้อสอบภาษาไทยได้สบายๆ เทคนิคดีๆ รู้แล้ว บอกต่อนะ
ภาษาไทย ง่ายนิดเดียว