หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หลักการเขียนกลอนเบื้องต้น

เนื้อหาโดย หนามดอกงิ้ว

 

            “บทกลอน” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “บทร้อยกรอง” หรือ “กวีนิพนธ์” หมายถึง การสอดผูกให้ติดกัน ประดิษฐ์คำ แต่งหนังสือดีให้มีความไพเราะ ร้อยและเย็บดอกไม้ให้เป็นรูปต่างๆ ซึ่งร้อยกรองเป็นงานเขียนที่ต้องใช้ความสามารถในการเลือกภาษาแล้วจัดวางตำแหน่งถ้อยคำให้เหมาะสม ประกอบกับการฝึกบ่อยจนเกิดทักษะ ทั้งนี้เนื่องจากการเขียนร้อยกรองนั้นใช้คำได้เท่าที่ฉันทลักษณ์กำหนด ทั้งยังอาจเลยไปถึงการกำหนดคำตามเสียง / รูปวรรณยุกต์ และการกำหนดสัมผัส จึงเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับนักเขียนมือใหม่ แต่ขอบอกไว้ว่า เมื่อลองเขียนคำประพันธ์ชนิดใดก็ตามได้ด้วยตนเองสักบทหนึ่ง จะพบว่าร้อยกรองเป็นเรื่องไม่ยากและงดงามกว่า ให้ความหมายกว้างและลึกซึ้งกว่าการเขียนร้อยแก้วมากมายนัก (อ้างอิงจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525)

ส่วน “ฉันทลักษณ์” คือรูปแบบการบังคับในการแต่งบทร้อยกรอง ซึ่งมีการคิดขึ้นมากมาย โดยอาศัยโครงสร้างของคำและจังหวะในการออกเสียงให้เป็นกลุ่มของคำในรูปแบบที่ต่างกัน ทำให้เกิดเป็นฉันทลักษณ์ที่แตกต่างกัน

 

องค์ประกอบของบทกวี มี 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

  1. ความรู้สึก สารหรือเรื่องที่ต้องการถ่ายทอด บทกวีที่ดีออกมาจากความรู้สึกของผู้เขียน ความรู้สึกอาจเกิดขึ้นโดยกะทันหันหลังจากไปกระทบบางสิ่งบางอย่าง ก่อเกิดแรงบันดาลใจ อาจรู้สึก เปี่ยมสุข เปี่ยมความหมาย หรือรู้สึกนิ่งลึกดิ่งจมในเหวหุบแห่งความเศร้า ฯลฯ
  2. รูปแบบที่กวีเลือกในการนำเสนอ เช่น กลอน, กาพย์, โคลง, ฉันท์, ร่าย, ลิลิต, กลอนเปล่า, แคนโต้ ฯลฯ

 

ประเภทของคำประพันธ์ ที่อยู่ในตำราฉันทลักษณ์ยังมีอีกมาก จำแนกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ

1.กาพย์ แบ่งเป็น กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ กาพย์ขับไม้

2.กลอน แบ่งเป็น กลอนแปดและกลอนหก ซึ่งจัดเป็นกลอนสุภาพ และยังมีรูปแบบอื่น ๆ ได้อีก คือ ดอกสร้อย สักวา เพลงยาว เสภา นิราศ กลอนบทละคร กลอนเพลงพื้นเมืองและกลอนกลบทต่าง ๆ

3.โคลง แบ่งเป็น โคลงสอง โคลงสาม โคลงสี่ ซึ่งอาจแต่งเป็นโคลงสุภาพหรือโคลงดั้นก็ได้ นอกจากเป็นโคลงธรรมดาแล้ว ยังแต่งเป็นโคลงกระท ู้ และโคลงกลอักษรได้อีกหลายแบบ

3.ฉันท์ แบ่งเป็นหลายชนิดเ ช่น วิชชุมมาลาฉันท์ มาณวกฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ ภุชงค์ประยาตฉันท์ อีทิสังฉันท์ วสันตดิลกฉันท์ สาลินีฉันท์ ฯลฯ ล้วนแต่มี ชื่อไพเราะ ๆ ทั้งนั้น

4.ร่าย แบ่งเป็นร่ายสั้นและร่ายยาว ร่ายสั้นนั้นมีทั้งร่ายสุภาพและร่ายดั้น

 

กลอนที่นิยมเขียนกันมากได้แก่ “กลอนสุภาพ” หรือ “กลอนแปด” ซึ่งกลอนแปดนี้ปรากฎมากในผลงานของ “สุนทรภู่”

ประเภทของกลอนนั้นจำแนกตามวัตถุประสงค์ในการใช้ได้ 2 ประเภท คือ

1.กลอนอ่าน เป็นกลอนที่ผู้แต่งมีความมุ่งหมายเพื่อความเพลิดเพลิน แบ่งเป็น 8 ชนิด ได้แก่

กลอนนิราศ

กลอนเพลงยาว

กลอนนิทาน

กลอนสี่

กลอนหก

กลอนเจ็ด

กลอนแปด

กลอนเก้า

2.กลอนร้อง เป็นกลอนที่แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับการขับร้องโต้ตอบกัน การขับลำนำเพื่อความไพเราะ การขับร้องเพื่อประกอบการแสดงเพื่อความบันเทิง แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่

กลอนดอกสร้อย ขึ้นต้นด้วย “เอ๋ย” จบลงด้วย “เอ๋ย”

กลอนสักวา ขึ้นต้นด้วย “สักวา”

กลอนเสภา

กลอนบทละคร

กลอนเพลงชาวบ้าน

 

การบังคับจำนวนคำของบทกลอน กลอนสี่ถึงแปดนั้นมีการบังคำจำนวนคำในหนึ่งวรรคตามแต่ละชนิดของบทกลอนเช่น กลอนสี่ก็บังคำสี่คำในหนึ่งวรรค กลอนแปดก็บังคับแปดคำในหนึ่งวรรค เป็นต้น

ดังนั้นพอสรุปลักษณะบังคับร่วมของกลอนไว้ดังนี้

  1. 1 บทมีทั้งสิ้น 2 บาท
  2. 1 บาทมีทั้งสิ้น 2 วรรค
  3. 1 วรรคมีจำนวนคำตามแต่ละชนิดของบทกลอน

สำหรับกลอนบทละ 4 วรรคนั้น มีชื่อวรรคตามลักษณะการบังคำสัมผัส ดังนี้

วรรคแรก เรียกว่า “วรรคสดับหรือวรรคสลับ” เป็นวรรคขึ้นต้นของบทกลอน ทำหน้าที่ส่งสัมผัสอย่างเดียว

วรรคที่สอง เรียกว่า “วรรครับ” ทำหน้าที่รับสัมผัสจากวรรคสดับกับวรรคส่ง และส่งสัมผัสไปยังวรรครอง

วรรคที่สาม เรียกว่า “วรรครอง” ทำหน้าที่รับสัมผัสจากวรรครับและส่งสัมผัสไปยังวรรคส่ง

วรรคที่สี่ เรียกว่า “วรรคส่ง” ทำหน้าที่รับสัมผัสจากวรรครอง และทำหน้าที่สำคัญในการส่งสัมผัสระหว่างบทไปยังวรรครับของบทต่อไป

ลักษณะบังคับเฉพาะชนิด จำแนกของบทกลอนได้ดังต่อไปนี้

 

กลอนสี่

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 4 ที่เก่าที่สุดพบในมหาชาติคำหลวงกัณฑ์มหาพน (สมัยอยุธยา) แต่ต่อมาไม่ปรากฏในวรรณคดีไทยมากนัก มักแทรกอยู่ตามกลอนบทละครต่าง ๆ คณะกลอน 4 แบบนี้ บทหนึ่งจะประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 4 คำ ตามผัง

 

บาทเอก วรรคสลับ                      0 0 0 0              0 0 0 0                          รับ

บาทโท  วรรครอง                       0 0 0 0              0 0 0 0                          ส่ง

 

ตัวอย่างกลอนสี่

บาทเอก วรรคสลับ          ยามเช้าวันนี้                   ฉันมีความสุข                 รับ

บาทโท  วรรครอง           เพราะใจไร้ทุกข์              ฉันสนุกจริงจริง              ส่ง

เดินไปในสวน                เพื่อนชวนดูลิง

นั่งไม่ไหวติง                  สรรพสิ่งเงียบงันฯ

 

กลอนหก

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 6 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลายนอกนั้นก็แทรกอยู่ในกลอนบทละคร แต่ที่ใช้แต่ตลอดเรื่องเริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ คือ กนกนคร ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) คณะกลอนหก บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 6 คำ ตามผัง

 

บาทเอก วรรคสลับ          0 0 0 0 0 0                     0 0 0 0 0 0         รับ

บาทโท  วรรครอง           0 0 0 0 0 0                     0 0 0 0 0 0         ส่ง

 

ตัวอย่างกลอนหก

บาทเอก วรรคสลับ          กลอนหกหกคำจำกัด                    บัญญัติเพาะเหมาะเหมง               รับ

บาทโท  วรรครอง           สัมผัสฟัดกันบรรเลง                    พึงเพ่งอย่างเพี้ยงเปลี่ยนแปลง       ส่ง

ตรองความให้งามตามบท             กำหนดอย่างได้หน่ายแหนง

ลำนำลำเนาอย่างแคลง                 เพี้ยนแฝงถ้อยคำสำนวนฯ

 

กลอนเจ็ด

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 7 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลายนอกนั้นก็แทรกอยู่ในกลอนบทละคร ไม่ค่อยมีใครใช้แต่งยาวๆ จนถึงสมัยกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ที่ท่านนำมาใช้ในพระนิพนธ์ ลิลิตสามกรุง คณะกลอนเจ็ด บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 7 คำ ตามผัง

 

บาทเอก วรรคสลับ          0 0 0 0 0 0 0                  0 0 0 0 0 0 0                              รับ

บาทโท  วรรครอง           0 0 0 0 0 0 0                  0 0 0 0 0 0 0                              ส่ง

 

ตัวอย่างกลอนเจ็ด

บาทเอก วรรคสลับ          เสตเตลงเกรงกริ่งนิ่งรำลึก             คัดคึกข่าวทัพดูคับขัน                   รับ

บาทโท  วรรครอง           จักเตรียมค่ายใหญ่ก็ไม่ทัน             จำกั้นกีดขวางหนทางยุทธ์             ส่ง

ตั้งขัดตาทับรับไว้ก่อน                  เพื่อผ่อนเวลาให้ช้าสุด

จวนตัวกลัวว่าศัตราวุธ                  หวิดหวุดหมดหวังในครั้งนี้ฯ

จาก สามกรุง, กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

 

กลอนแปด

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 8 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย ซึ่งค้นพบกันว่าจังหวะและลีลาลงตัวที่สุด จึงมีคนแต่งแบบนี้มากที่สุด และผู้ที่ทำให้กลอน 8 รุ่งเรืองที่สุดคือท่าน สุนทรภู่ ที่ได้พัฒนาเพิ่มสัมผัสอย่างเป็นระบบ ซึ่งใกล้เคียงกับกลบทมธุรสวาทีในกลบทศิริวิบุลกิตติ์

กลอนแปด นั้นถือว่าเป็นขนบกวีนิพนธ์พื้นฐานที่นิยมที่สุดในไทย เหตุเพราะมีฉันทลักษณ์ที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน สามารถแสดงอารมณ์ได้หลากหลาย และคนทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อความได้ไม่ยาก หนึ่งในรูปแบบของกลอนแปดก็คือ รูปแบบกลอนแปดของสุนทรภู่ ซึ่งความแพรวพราวด้วยสัมผัสใน และขนบดังกล่าวนี้ก็ได้รับการสืบทอดต่อมาในงานกวีนิพนธ์ยุคหลังๆ กระทั่งปัจจุบัน คณะ กลอนแปด บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 8 คำ ตามผัง

 

บาทเอก วรรคสลับ          0 0 0 0 0 0 0 0                0 0 0 0 0 0 0 0                รับ

บาทโท  วรรครอง           0 0 0 0 0 0 0 0                0 0 0 0 0 0 0 0                ส่ง

 

สัมผัสนอก ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สามของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป

สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สามกับคำที่สี่ หรือระหว่างคำที่ห้ากับคำที่หกหรือคำที่เจ็ดของแต่ละวรรค

 

ตัวอย่างกลอนแปด

บาทเอก วรรคสลับ เราจึงมีชีวิตเพียงเพื่อเขียนลำนำชีวิต       มีความคิดเพียงเพื่อเขียนความฝันใฝ่ รับ

บาทโท  วรรครอง   มีความรักเพียงเพื่อเขียนตำนานหัวใจ      มีหยาดใสของน้ำตาเพื่อวันวาร      ส่ง

    มีความเศร้าเพียงรู้ค่าอารมณ์เหงา           มีความเก่าเพียงรู้ค่าเวลาหวาน

    มีแสงตะวันเพื่อรู้ค่ารัตติกาล                   มีชีวิตยืนนานเพื่อรู้ค่าความเป็นคนฯ

 

กลอนเก้า

ตามหลักฐานทางวรรณคดีไทย กลอน 9 พบครั้งแรกในกลบทศิริวิบุลกิตติ สมัยอยุธยาตอนปลาย เช่นเดียวกัน แต่กวีไม่ค่อยนิยมแต่งกันมากนัก เนื่องจากเห็นว่ากลอนแปดลงตัวมากที่สุดคณะ กลอนเก้า บทหนึ่งประกอบด้วย 2 บาท บาทละ 2 วรรค วรรคละ 9 คำ ตามผัง

 

บาทเอก วรรคสลับ          0 0 0 0 0 0 0 0 0             0 0 0 0 0 0 0 0 0             รับ

บาทโท  วรรครอง           0 0 0 0 0 0 0 0 0             0 0 0 0 0 0 0 0 0             ส่ง

 

สัมผัสนอก ให้มีสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายวรรคหน้ากับคำที่สามของวรรคหลังของทุกบาท และให้มีสัมผัสระหว่างบาทคือคำสุดท้ายของวรรคที่สองสัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สาม ส่วนสัมผัสระหว่างบท กำหนดให้คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายวรรคที่สองของบทถัดไป

สัมผัสใน ไม่บังคับ แต่หากจะให้กลอนสละสลวยควรมีสัมผัสระหว่างคำที่สามกับคำที่สี่หรือคำที่ห้า หรือระหว่างคำที่หกกับคำที่เจ็ดหรือคำที่แปดของแต่ละวรรค

 

บาทเอก วรรคสลับ         

นายชายพรานหนึ่งชาญไพรล่ำใหญ่ขยับ                 ได้ยินกลองเดิรย่องกลับดูขับขัน     รับ

บาทโท  วรรครอง

มือป้องหน้ามุ่งป่าแน่วแนวแถววัน                         สุนัขย่องสุดมองขยันติดพันตาม     ส่ง

มุ่งปะทะมาปะที่คนตีกลอง                                   เพื่อนทักจ๋าพูดหน้าจ้องพรานร้องถาม

เดิมแรกหูได้รู้เหตุสังเกตความ                               ว่าทรงนามว่าทรามนาฎนิราศจร

จาก กลบทระลอกแก้วกระทบฝั่ง, ศิริวิบุลกิตติ, หลวงปรีชา (เซ่ง)

 

สิ่งสำคัญที่สุดของคำประพันธ์

คือ การวางสัมผัสมารู้จักกันก่อนว่าสัมผัส มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ

สัมผัสใน ทำได้โดยสัมผัสสระ เป็นการใช้สระที่เหมือนๆ กันมาสัมผัสกัน เช่น ใจ ไป อะไร ทำไม กลาย สาย เป็นต้น สัมผัสอักษร เป็นการเลือกพยัญชนะตัวสะกดเสียงเดียวกันมาสัมผัสกัน เช่น กาด ขาด คลาด อนันต์ ฝัน จันทรา เป็นต้น

สัมผัสนอก สัมผัสนอกเป็นการแสดงความสามารถในการสร้างความงดงาม ของผู้เขียนคำประพันธ์ให้ได้สีสันทางภาษา

 

ข้อควรจำหลักการแต่งกลอนแปด กลอนสุภาพ-ฉันทลักษณ์

  1. ในวรรคหนึ่งๆ มีอยู่ 8 คำ จะใช้คำเกินกว่ากำหนดได้บ้าง แต่ต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยเสียงสั้น
  2. การส่งสัมผัส คำที่ 8 ของวรรคแรก สัมผัสกับคำที่ 3 หรือคำที่ 5 ของวรรคที่สอง คำที่ 8 ของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำที่ 8 ของวรรคที่ 3

คำ ที่ 8 ของวรรคที่ 3 สัมผัสกับคำที่ 3 หรือที่ 5 ของวรรคที่ 4 และคำสุดท้ายของวรรคที่ 4 ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทต่อไป

  1. วรรคสดับ หรือวรรคแรก คำสุดท้ายใช้คำเต้น คือ เว้นคำสามัญใช้ได้หมด แต่ถ้าจำเป็นจะใช้เป็นเสียงสามัญก็อนุญาตให้ใช้ได้บ้าง แต่อย่าบ่อยนักพยายามหลีกเลี่ยง
  2. วรรครับ หรือวรรคสอง คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงจัตวา ส่วน เอก โท ตรี ได้บ้าง ห้ามเด็ดขาดคือ เสียงสามัญ
  3. วรรครอง หรือวรรคสาม คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้เสียงจัตวา หรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์
  4. วรรคส่งหรือวรรคสี่ คำสุดท้ายนิยมใช้เสียงสามัญ ห้ามใช้คำตายและคำที่มีรูปวรรณยุกต์
  5. คำที่ 3 ของวรรครองและวรรคส่ง ใช้ได้ทุกเสียง
  6. นิยมสัมผัสในระหว่างคำที่ 5-6-7 ของทุก ๆ วรรค
  7. นิยมสัมผัสชิดในระหว่างคำที่ 3-4 ของวรรคสดับและวรรครอง
  8. อย่าให้มีสัมผัสเลือน, สัมผัสซ้ำ, สัมผัสเกิน, สัมผัสแย่ง, สัมผัสเผลอ, และสัมผัสเพี้ยน

 

เรียบเรียงโดย แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า

รูปจาก pixabay

เนื้อหาโดย: หนามดอกงิ้ว
เรียบเรียงโดย แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า

รูปจาก pixabay
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
หนามดอกงิ้ว's profile


โพสท์โดย: หนามดอกงิ้ว
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568เพจดังเปิดภาพพระสงฆ์ ควงแขนผู้ชาย ชาว เน็ตวิจารณ์ยับเชน ธนา การเงินวิกฤตหนัก ตัดใจประกาศขายออฟฟิศ 3 ตึก ราคารวมเกือบร้อยล้านดราม่าแรง! ร้านอาหารจีนตลาดคลองเตย ไรเดอร์บอกเหม็นจนจะอ้วกน้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่นชาวต่างด้าวข้ามฝั่งมาคลอดฟรี คนไทยเสียงแตก งานนี้ใครได้ ใครเสีย"เหมือนเป๊ะ! แตงโมจัดเต็มโคฟเวอร์ 'เจ๊มิ่ง' แซ่บเวอร์ทุกดีเทล"โบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี แห่งไซบีเรีย ซึ่งเต็มไปด้วยปริศนาที่รอคำตอบBaby V.O.X เกิร์ลกรุ๊ประดับตำนานของเกาหลี คัมแบ๊กในรอบ 14 ปี นำโดย 'ยุนอึนเฮ'
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เฮ! เงินไร่ละพันยังมาต่อเนื่อง! ชาวนารับเงินช่วยเหลือ ธ.ก.ส. กันอยู่หรือเปล่า? มาอัปเดตกันหน่อย!รีบมา! คืนนี้วันสุดท้ายแล้ว "ตำรวจตกน้ำ" ไวรัลสุดเสียวกาชาด 2567 หล่อ เปียก ฮา พุ่งกระจาย!อย่าท้าทายระบบ! "สารวัตรแจ๊ะ" เผยสาเหตุที่ต้องใส่แมสก์ และสวมหมวกตลอดเวลาสั่งพักงานยกชุด! 18 ตำรวจจราจร ปมตั้งโต๊ะจับปรับ 'เจอจ่ายจบ'"ร่วมส่งใจ อาเป็ด เชิญยิ้ม แอดมิตด่วน เจอพิษ “โนโรไวรัส” ยังไม่มียา-วัคซีน ชวนป้องกัน กินสุกลดเสี่ยง ล้างมือบ่อย #ลดเสี่ยงโรค
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Review, HowTo, ท่องเที่ยว
โจรฉกมือถือ ขณะหนุ่มถ่ายฉากโรแมนติกบนถนนในสเปนBibury: หมู่บ้านแห่งมนต์สะกดที่สวยที่สุดในอังกฤษและโลกสภาพอากาศช่วงนี้: ที่เที่ยวไหนน่าสนใจในประเทศไทยLittle Town Sriracha
ตั้งกระทู้ใหม่