ต้นไม้ที่คนไทยสมัยก่อนถือเป็นไม้มงคลและศักดิ์สิทธิ์
คนไทยสมัยก่อนถือว่า "พะยูง" เป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นชื่อต้นไม้ที่มีความหมายดี หมายถึง "การพยุงฐานะให้ดีขึ้น" ทำให้คนไทยถือเป็นไม้มงคล
พะยูง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia cochinchinensis) เป็นต้นไม้เนื้อแข็งที่เนื้อไม้มีลวดลายสวยงามชนิดหนึ่ง จัดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูงอย่างหนึ่งและมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีกคือ ขะยุง, พยุง, แดงจีน และประดู่เสน
คุณสมบัติเด่นของไม้พะยูงอยู่ตรงความที่เป็นไม้ที่มีเนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว จึงทำให้คนไทยนิยมนำไปใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ในการแกะสลักและทำด้ามมีด,ด้ามขวาน,เป็นต้น
"ราคาเปรียบเทียบไม้พยูงกับไม่สัก"
สำหรับไม้ท่อนใหญ่ๆ ต้นสวยๆ ราคาในประเทศไทยขายกัน ลูกบาศก์เมตรละ 300,000-500,000 บาท (ไม้สัก ลูกบาศก์เมตรละ 30,000-50,000 บาท) มีการเปรียบเสมือนมีคนเอาทองคำไปแขวนอยู่ตามป่า จะเฝ้าอย่างไร ก็ไม่มีทางรอดพวกจ้องจะสอย
"ลักษณะทางพันธุกรรมของไม้พยูง"
พะยูงเป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15–25 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ ใบเป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7–9 ใบ ขนาดกว้าง 3–4 เซนติเมตร ยาว 4–7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4–6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1–4 เมล็ด
อ้างอิงจาก: https://www.dnp.go.th/mfcd3/division/เว็บIE 2/งานด้านพันธุ์พืช/บทความ.html