ความขัดแย้งของอิสราเอลกับปาเลสไตน์
ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์แตะถึงจุดเดือดอีกครั้งเมื่อวานนี้ (7 ต.ค) ซึ่งตรงกับช่วงสำคัญทางศาสนาของชาวยิวหรือชาวอสราเอล นั้นคือ วันซิมหัต โทราห์ (Simchat Torah) เป็นวันที่ช่วยิวจะอ่านพระคัมภีร์โทราห์จบ และจะเริ่มตเนการอ่านพระคัมภีร์ของรอบปีถัดไป
เมื่อเวลา 06.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น กลุ่มฮามาส (Hamas) หรือองค์กรการเมืองติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ได้ยิงจรวดถล่มพื้นที่ตอนใต้ของอิสราเอลทำให้ทางการอิสราเอลต้องเปิดเสียงไซเรนแจ้งเตือนฉุกเฉินฮามาสรายงานว่า ได้ปล่อยจรวดกว่า 5,000 ลูกในการโจมตีครั้งแรก แต่กองทัพอิสราเอลกว่าว่ามีการยิงจรวดมาเพียง 2,200-2,500 ลูกเท่านั้น กระนั้น ก็เกิดความเสียหายผลกระทบต่ออิสราเอล โดยพื้นที่อยู่อาศัยหลายแห่งถูกโจมตี ผู้คนต้องหลบภัยอยู่ใต้อาคารต่างๆ มีรายงานผู้หญิงอย่างน้อย 1 รายถูกจรวดสังหาร
โมฮัมเหม็ด เดอิฟ หัวหน้ากองทัพอัล-กอสซัม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มฮามาส กล่าวว่า "เราขอประกาศเริ่มปฏิบัติการพายุอัล-อักซอ (Operation Al-Aqsa Storm) และเี่ประกาศว่าการโจมตีครั้งแรกซึ่งกำหนดเป้าหมายที่ตำแหน่งของศัตรู สนามบิน และป้อมปราการทางทหาร มีขีปนาวุธและกระสุนเกิน 5,000 ลูก"
ต่อมาในเวลา 07.40 น. มีรายงานว่า กองกำลังปาเลสไตน์ได้ส่งกำลังทหารเข้ามาในอิสราเอลทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอาศ โดยอาศัยการโจมตีจรวดขีปนาวุธเป็นเครื่องกำบังดึงความสนใจของกองทัพอิสราเอล ทำให้มีนักสู้ของปาเลสไตน์จำนวนมากแทรกซึมเข้ามาในอิสราเอลได้สำเร็จ
กองทัพอิสราเอลเปิดเผยว่า นักสู้ปาเลสไตน์ที่แทรกซึมเข้ามานั้น มีบางส่วนใช้พาราไกลเดอร์ร่อนข้ามเขตแดนมา
จากนั้นกองทัพอิสราเอลก็เริ่มการตอบโต้ในปฏิบัติการดาบเหล็ก (Operation Iron Swords) โดยเวล 09.45 น. มีรายงานการระเบิดในเขตกาซา (Gaza Strips) ของปาเลสไตน์ ซึ่งโฆษกกองทัพอิสราเอลออกมายืนยันว่า ได้มีการโจมตีทางอากาศใส่พื้นที่ฉนวนกาซาจริง
10.00 น. นักสู้ปาเลสไตน์ได้บุกเข้าไปในฐานทัพทหารของอสราเอลได้สำเร็จอย่างน้อย 3 แห่งรอบชายแดน ได้แก่ จุดผ่านแดนอีเรซ (Erez) ฐานทัพไซคิม (Zikim) และอาคารบัญชาการหน่วยทหารอิสราประจำกาซาในหมู่บ้านเรม (Reim)
วิดีโอของกลุ่มฮามาสเผยให้เห็นนักสู้กำลังวิ่งไปยังอาคารที่ถูกไฟไหม้ใกล้กับกำแพงคอนกรีดสูงที่มีหอสังเกตการณ์ ละดูเหมือนว่านักสู้จะบุกรุกพื้นที่ส่วนหนึ่งของกองทัพอิสราเอลได้สำเร็จ
นักสู้ปาเลสไตน์ยังได้บุกโจมตีหลายเมืองของอิสราเอล เช่น ซีเดฮอต (Sderot), เบเอรี (Be'eri) และเมืองโอฟาคิม
ตลอดเมื่อวานนี้จนถึงช่วงดึก การโจมตีทางอากาศของอิสราเอลใส่ฉนวนกาซายังคงดำเนินอยู่ เช่นเดียวกับการยิงจรวดของกลุ่มฮามาสใส่พื้นที่ทางตอนใต้ของอิสราเอล ขณะที่มีรายงานว่า กองทัพอิสราเอลยังคงต่อสู้กับนักสู้ของกลุ่มฮามาสใน 22 จุดใกล้ฉนวนกาซา ซึ่งบ่งชี้ว่า การโจมตีครั้งนี้ของกลุ่มฮามาสเกิดขึ้นในวงกว่างมาก
ขนะที่ล่าสุดช่วงดช้ามืดวันนี้ (8ต.ค) ตามเวลาท้องถิ่นอิสราเอลยังคงเดินหน้าโจมตีฉนวนกาซาอยู่
ฮามาสกล่าวว่า ได้จับกุมตัวทหารอิสราเอลไว้จำนวนหนึ่งโดยโพสต์วิดีโอของทหารที่จับลงในบัญชีโซเชียลมีเดียของตน โดย พลเรือตรี แดเนียล ฮาการี โฆษกกองทัพอิสราเอลบอกว่า "มีตัวประกันและเชลยศึกที่กลุ่มฮามาสจับเอาไว้ นากจากนี้ยังมีการเสียชีวิตในหมู่ทหารอิสราเอล ซึ่งเรายังไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน ขณะนี้เรากำลังอยู่ในภาวะสงคราม"
มาเกน เดวิน อาดอม หน่วยกูภัยแห่งชาติของอิสราเอลเปิดเผยว่า มีชาวอิสราเอลเสียชีวิตอย่างน้อย 200 รายขนณะที่โรงพยาบาลได้รักษาผู้บาดเจ็บกว่า 750 คน ส่วนแห่งข่าวทางการแพทย์ในฉนวนกาซาระบุว่า มีชาวปาเลสไตน์อย่างน้อย 232 คนถูกสังหาร และบาดเจ็บมากกว่า 1,000 คนจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล
สำหรับชนวนเหตุการปะทะรุนแรงครั้งนี้ หลักๆิยังคงเป็นผลพวงมาจากความขัดแย้งยาวนานนับร้อยปีระหว่างชาวอาหรับปาเลสไตน์และชาวยิวอิสราเอลประกอบกับตั้งแต่แต่เดือน ม.ค. 2023 ที่ผ่านมา อิสราเอลได้มีการโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์หลายครั้ง และส่วนใหญ่มีผู้เสียชีวิต
คาเลด กาโดมี โฆษกของกลุ่มฮามสบอกว่า ปฏิบัติการครั้งนี้มีขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความโหดร้ายทั้งหมดที่ชาวปาเลสไตน์ต้องเผชิญตลอดหลายทศวรรษ
"เราต้องการให้ประชาคมระหว่างประเทศยุติความโหดร้ายในฉนวนกาซา ต่อชาวปาเลสไตน์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเรา เช่น อัล-อักซอ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุเบื้องหลังการเริ่มการต่อสู้ครั้งนี้"ฮามาสกล่าว
ด้าน เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ได้ประกาศให้อิสราเอลอยู่ในภาวะสงคราม เเละเชื่อมั่นว่าจะเป็นฝ่ายชนะสงครามครั้งนี้ พร้อมบอกว่า ที่มั่นและที่หลบภัยทุกแห่งของกลุ่มฮามาสจะเหลือเพียงเศษซาก
โยอาฟ แกลแลนต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอิสราเอล กล่าวว่า "อิสราเอลจะชนะสงครามครั้งนี้กลุ่มฮามสได้ทำความผิดร้ายแรงเมื่อเช้านี้และเปิดสงครามกับรัฐอิสราเอล"
สงครามครั้งล่าสุดระหว่ากลุ่มฮามาสและรัฐบาลอิสราเอลเกิดขึ้นเมื่อปี 2021 โดยครั้งนั้นการปะทะกันกินเวลา 11 วัน มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 250 ราย และชาวอิสราเอลเสียชีวิต 13 ราย
สำหรับความขัดแย้งระหว่าอิสราเอลและปาเลสไตน์มีต้นตอจากความเชื่อขิงทั้งศาสนายูดายและอิสลามโดยเชื่อว่าดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของอิสราเอลและปาเลสไตน์ในปัจจุบันนั้นเป็นดินแดนที่พระผู้เป็นเจ้าทรงสัญญาไว้
เมื่อต้นคริสตศตวรรษที่ 20 ชาวยููดายเริ่มลี้ภัยการถูกปราบปรามจากยุโรปเข้ามายังดินแดนแห่งนี้ ซึ่งขณนั้นยังอยู่ภายใต้จักรวรรดิออโตมันและถูกเปลี่ยนมือมายังจักรวรรดิอังกฤษ
การอพยพมาครั้งใหญ่ดังกล่าวถูกคัดค้านจากชาวอาหรับที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ เพราะมองว่าดินแดนแห่งนี้ไม่ใช่ของชาวยิวเพียงกลุ่มเดียว ทำให้รัฐยิวที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ในชื่ออิสราเอลนั้นต้องต่อสู้กับชาติอาหลับหลายครั้ง
สงครามเมื่อปี 1967 เปิดทางให้อิสราเอลได้เข้าไปควบคุมดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดน หรือที่เรียกกันว่าเวสต์แบงค์ (West Bank) และฉนวนกาซาที่ติดชายแดนประเทศอียิปต์
การเข้าไปขวบคุมดังกล่าวส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ไม่เห็นด้วย โดยกลุ่มที่มีแนวคิดหัวรุนแรงหันไปจับอาวุธโดยหนึ่งในนั้นคือกลุ่มติดอาวุธฮามาส ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมในอิสราเอลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990