ชายผู้กินหัวใจพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แฟรงค์ บัคแลนด์ นักเปิบพิศดาล
นักสืบรสชาติสารพัดสัตว์เขาสรรหาสารพัดสัตว์มาปรุงเป็นอาหารเพื่อแนะนำแหล่งโภชนาการสำหรับมนุษย์โลก
แฟรงค์ บัสแลนด์ (Frank Buckland )เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน คริสตศักราช 1826 ที่อ๊อกฟอร์ด อังกฤษบิดาของเขาคือ (วิลเลี่ยม บัคแลนด์)Williams Buckland นักธรณีวิทยาผู้มีชื่อเสียงในการส่งเสริมให้ชาวอังกฤษชื่นชอบกับป่าเขาลำเนาภัย รวมทั้งการเอาสัตว์แปลกๆมาทำอาหาร ในบรรดาแขกบ้านบัสคแลนด์จะได้รับอาหารมื้อต่างๆด้วยเนื้อสัตว์หลากหลายชนิด ตั้งแต่ หนู นกกระจอกเทศ หมาน้อย จระเข้ หอยทาก
ความพิศดาลในการชิมอาหารของวิลเลี่ยมในหนหนึ่งคือ เมื่อเขาได้ไปเยือนศักศิทธิ์ ซึ่งร่ำลือกันว่าที่พื้นวิหารนั้นมี "โลหิต" นักบุญ (Saint)หยดอยู่อย่างสดๆตลอดเวลาไม่เคยระเหยหรือเหือดหายไป
วิลเลียมได้ใช้ลิ้นของเขาทดสอบรสชาติของหยดโลหิตเหล่านั้น แล้วประกาศว่าแท้จริงก็คือเยี่ยวค้างคาวนั่นเอง มิใช่สิ่งใดอื่น จึงเป็นที่ประทับใจของแฟรงค์ที่มีต่อพ่อของเขา และเจริญรอยตามพ่อ
แฟลงค์เติบโตขึ้นมากลางชีวิตป่าเขา เมื่อสูงวัยเขาได้เขียนเล่าถึงอดีตว่าตอนเป็นได้มีคนขับรถม้านำเอาจระเข้ใกล้ตายตัวหนึ่งมาให้ เขาจึงนำมันไปปล่อยลงในสระสี่เหลี่ยมข้างโบสถ์คริสเตียน แฟลงค์บอกว่ามันไม่ค่อยจะยอมฟื้นตัว ดังนั้นผมจึงขึ้นขี่มันไปรอบๆ
ที่โรงเรียนแฟรงค์ตัดเอาชิ้นส่วนอวัยวะของสัตว์ต่างๆมาทดลองปรุงเป็นอาหารรับประทานและเมื่อเข้าศึกษาต่อใน อ๊อกซ์ฟอร์ด ทางด้านศัลยกรรม แฟรงค์ก็มักไปเยี่ยมเยียนโรงพยาบาลท้องถิ่น ทำความรู้จักมักคุ้นกับคณะทำงานที่นั่น แล้วนำเอาปลาไหลกับปลาเทร้าต์ไปขอแลกกับชิ้นส่วนมนุษย์ที่โรงพยาบาลตัดหรือชำแหละทิ้ง
ตั้งแต่ปี 1859 เป็นต้นมาแฟรงค์ก็หันไปอุทิศชีวิตให้กับการประมงเขาพัฒนาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นและเขียนบทความต่างๆซึ่งเป็นที่นิยมอ่านกันแพร่หลายตระกูลบัคแลนด์นั้นต่อต้านการสูญเสียพื้นที่เกษตรกรรมที่เปลี่ยนไปอุตสาหกรรมโดยตลอด เพราะมีผลทำให้แหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์ต้องลดน้อยถอยลงไปด้วย
แฟรงค์ได้ดำเนินการก่อตั้งสมาคมอนุรักษ์สัตว์ The Acclimatization of Animals Society ขึ้นในอังกฤษโดยมีจุดประสงค์ในการสรรหาและส่งเสริมแหล่งสัตว์ที่เป็นอาหารจัดเลี้ยงครั้งหนึ่งของสมาคม อาหารที่นำมาเสิร์ฟล้วนมีรสชาติจัดจ้านและน่าตื่นตาตื่นใจ ประกอบด้วยเนื้อจิงโจ้แกะ หมูป่า หมูไซเรีย และอื่นๆ
แต่สำหรับของตัวแฟงค์เองสนใจในปลามากกว่า เขาและพรรคพวกเคยเฉือนเอาเนื้อจากหัวปลาโลมามาต้มและย่าง หากทว่าว่าแฟรงค์ยอมรับว่ารสชาติของมันพะอืดพะอมเหมือนเคี้ยวไส้ตะเกียงน้ำมัน
อีกครั้งในปี 1868 เขาจะเลี้ยงเนื้อม้าล้วนๆสำหรับแขกรับเชิญ 160 คนเพื่อเป็นการโปรโมทในสาธารณชนหันมาสนใจบริโภคเนื้อม้า หลังงานเลี้ยงเลิกราแฟลงค์ก็ต้องยอมรับอีกครั้งว่ารสชาติเนื้อม้านั้นไม่ได้เรื่องเลย ปลุกกระแสผู้คนไม่สำเร็จ แต่แฟรงค์ก็ยังเดินหน้าในการหาแหล่งอาหารสัตว์ทุกชนิดต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง นำเอาหมูย่างมาเสิร์ฟหายในอ๊อกฟอร์ด ถัดไปก็เป็นทั้งต้มเปื่อย พายเนื้อแรด นกกระจอกเทศย่างทั้งตัว ซึ่งรายการหลังนั้น ภริยาของเซอร์ริชาร์ด โอเว่น นักสัตวศาสตร์ผู้โด่งดังวิจารณ์ว่า "เนื้อของมันคล้ายเนื้อไก่หยาบๆของไก่งวงมาก"
อาหารที่เห็นแล้วน่าขยะแขยงที่สุดที่มาเสนอได้แก่ ปลิงทะเลตัวดำๆยึกยือ อย่าว่าแต่จะชิมเลย แค่แตะต้องตัวมันบางคนก็ยังไม่กล้า ส่วนจิ้งหรีดนั้นผู้ที่ได้ลิ้มรสต่างออกปากตรงกันว่า "ขมจนดีจะแตกเลย" แต่ถ้าจิ้งหรีดในภาคอีสานนี้แซบนัวหลายเด้อ กรอบๆหอมกินกับข้าวเหนียว เสียดายแฟลงค์ไม่ได้กินเมนูนี้
ส่วนสตูตุ่นก็ไม่ค่อยได้รับความนิยมเช่นกันกับซุปแมลงวันหัวเขียวและหอยทากในสวน รายได้หลักของแฟลงค์มาจากการบรรยายตามที่ต่างๆรวมทั้งการเขียนและพิมพ์หนังสือที่อ่านแล้วสนุกเพลิดเพลินทำให้ผู้อ่านสนใจในวิถีชีวิตธรรมชาติ อาทิ ตอนหนึ่งที่เขาเล่าว่าในวันอังคารราว5โมงเย็น คุณกรูฟที่อยู่ถนนบอนด์ ได้ส่งข่าวมาว่าเขาได้ ปลาสเตอร์เจียนตัวงามมา 1 ตัว แน่นอนผมรีบไปดูมันทันที ขนาดของมันยาวร่วม 3 เมตร ผมต้องการจะหล่อตัวมันไว้ดู เขาก็ยินดีมอบให้ผมยืมหนึ่งคืนและจะต้องนำมาส่งมันที่ร้านตอน 10 โมงเช้าของวันรุ่งขึ้น
หลังจากขนย้ายมันมาอย่างยากลำบากทุลักทุเลแล้ว ผมก็คิดอ่านเอาตัวมันลงไปไว้ในห้องครัว ดังนั้นจึงเอาเชือกผูกหางของมันแล้วค่อยๆปล่อยให้มันเลื่อนไหลลงไปเองตามขั้นบันไดหิน เริ่มต้นก็ดูดีแต่เดี๋ยวเดียวผมก็สุดที่จะเหนี่ยวรั้งเชือกได้อีกต่อไป ตัวของมันจึงเลื่อนหัวทิ่มไหลลงไปเองอย่างรวดเร็วราวกับหิมะบนยอดมองต์บลังถล่มทลายลงมา
มันพึ่งชนประตูเปิดผางแล้วพรวดเข้าไปในครัว กระทั่งพึ่งไปชนโต๊ะจึงจอดสนิทหมดฤทธิ์อยู่ตรงนั้น การปรากฏตัวของมันอย่างฉับพลันและไม่คาดฝันเจ้ายักษ์ใหญ่จากทะเลได้สร้างความกลาโหมอลหม่านให้เกิดขึ้น แม่ครัวกรีดร้องลั่นหญิงแม่บ้านเป็นลมล้มตึง แมวกระโดดขึ้นไปบนจานอาหาร หมาเผ่นถอยหลังไปตั้งหลักแล้วเห่า ส่วนลิงแตกตื่นด้วยความตกใจและเจ้านกแก้วในกรงก็ไม่เคยเปิดปากจ้ออีก แม้แต่คำเดียวนับแต่นั้นมา
หนังสือที่แฟลงค์เขียนมีอาทิ The field,Fish hatching ,Coriosities of natural history ฯลฯ
ขอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการประมงปลาแซลมอนในปี 1867 และตำแหน่งนี้จนตลอดชีวิต
นอกจากนี้แฟร้งยังหลงใหลในการสะสมสิ่งของแปลกๆหายาก สิ่งที่เขาเก็บรักษาไว้ก็อย่างเช่น กระดูกเท้าของ "เบนจ์ จอห์นสัน" กวีและนักเขียนคนสำคัญของอังกฤษชิ้น ส่วนหนังที่ได้จากช้างแมมมอธ ซึ่งพบแช่แข็งในไซบีเรีย แม้จนกระทั่งกระจุกเส้นพระเกศาของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4
ในปี 1887 เขาได้รับเตียง 4 เสา ครั้งหนึ่งเคยเป็นของ "จอห์น ฮันเตอร์"ศัลยแพทย์สมัยศตวรรษที่ 18 และเป็นอาจารย์ที่แฟรงค์เลื่อมใสนับถืออย่างยิ่ง เขาจึงบรรจงตัดเตียงนั้นเอาไม้มาทำเก้าอี้ ปัจจุบันเก้าอี้ตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์วิทยาลัยหลวงศัลยแพทย์แห่งกรุงลอนดอน
ครั้งหนึ่งในร่วมดินเนอร์กับเพื่อนสนิทแฟรงค์ออกปากว่าผมเคยกินอะไรแปลกๆมาตลอดชีวิต แต่ยังไม่เคยกินหัวใจของพระราชามาก่อนเลย" แต่สิ่งที่อยู่บนจานเบื้องหน้าของเขาก็คือ พระหทัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งถูกขโมยมาจากสุสานหลวงในระหว่างปฏิวัติของฝรั่งเศส
คู่ชีวิตของแฟรงค์เป็นหญิงตระกูลต่ำต้อยนามว่า "ฮานา แป๊บส์" ลูกชายด้วยกันหนึ่งคนในปี 1851 แต่ทั้งสองเข้าพิธีแต่งงานในปี 1863 ลูกคนนี้แต่เยาว์วัย
แฟรงค์เองก็มีสุขภาพไม่สมบูรณ์เขาตกเลือดในปอดซึ่งอาจเป็นอาการบ่งชี้ถึงวัณโรคหรือมะเร็งปอดก็เป็นได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะไม่รอด ทำให้แฟรงค์เสียชีวิตในวันที่ 19 ธันวาคมปี 1880 อายุได้ 54 ปีชีวิตอาจจะไม่ยืนยาวนะแต่เรื่องราวของเขายังเป็นที่จดจำของชาวอังกฤษจนถึงทุกวันนี้
อ้างอิงจาก: อุดร จารุรัตร์ ,ต่วยตุ่น