หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

สักขาลายของคนอีสานโบราณ

เนื้อหาโดย Stephen wat0234

สักขาลายของคนอีสานโบราณ

สองสามอาทิตย์ก่อนผมมีโอกาสได้อ่านบทความจากเพจเฟซบุ๊กเพจหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานเป็นหลัก ผมก็ติดตามอ่านศึกษา แต่มีอยู่บทความหนึ่งที่เขียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมการสักขายของชายชาวอีสานในอดีตพร้อมภาพถ่ายขาวดำประกอบ เป็นภาพชายชาวอีสานสักขาลายกำลังนั่งถือมีดถากไม้ง้ามทำใบไถ ถ่ายโดยชาร์ลส์ เอฟ คายส์ (Charles F. Keyes) ที่บ้านหนองตื่น. มหาสารคาม ปี 2507.

บทความโดยรวมแล้วกล่าวถึงการสักขาลายของชาวอีสานในอดีตพอสังเขป แต่มีอยู่ข้อความหนึ่งที่ผมอ่านแล้วสะดุด และอยากจะเขียนแย้งมาสักพักแต่ก็ล้มเลิกไป ตอนแรกว่าจะคอมเม้นตอบ แต่ไม่อยากไปแย้งหรือไปขัด เกรงใจเขา จึงกลับมาคิดว่า เราควรแย้งในพื้นที่ของเรา สองจิตสองใจอยู่ว่าจะเขียนดีหรือเปล่า จึงถามตัวเองกลับว่า “แล้วผมจะเรียนประวัติศาสตร์ไปเพื่ออะไร ในเมื่อประวัติศาสตร์คือวิชาของการโต้แย้งด้วยเหตุและผล จึงจะทำให้ประวัติศาสตร์เป็นสิ่งที่ไม่ตาย” ซึ่งข้อความที่ผมสะดุดในบทความนั้นระบุว่า “ลวดลายที่สักโดยทั่วไปเป็นลายมอม (สิงโต) เพราะเป็นสัตว์ที่ทรงพลัง เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นผู้นำในฝูงสัตว์โลก และเกรงว่าลูกหลานในภายหลังจะไม่รู้จักรูปร่างของสัตว์หิมพานต์ประเภทนี้”

เมื่อตีความแล้ว บทความกำลังบอกว่า มอมคือสิงโต ซึ่งจากการที่ผมได้สืบค้นข้อมูลสัมภาษณ์จากการลงพื้นที่(2554-ปัจจุบัน)ถามผู้เฒ่าผู้แก่ที่สักขาลายตามแต่ละพื้นที่แต่ละจังหวัด รวมถึงนายฮ้อยที่สักขาลายที่ยังมีชีวิตในขณะนั้น (หลายคนเสียชีวิตแล้ว) เอกสารงานที่เกี่ยวข้อง และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยๆหลายท่าน เพื่อนำข้อมูลมาสร้างภาพยนตร์นายฮ้อยเลือดอีสาน จึงสรุปได้ว่า "มอม" ตามทัศนคติของคนอีสานในอดีตและในทัศนคติของผมเอง "มอมไม่ใช่สิงโต" ซึ่งผมเข้าใจว่าผู้เขียนบทความนั้นน่าจะนำข้อความจากหลังสือหรือเอกสารอีกเล่มมาลงอกครั้งหนึ่ง เพราะมีการอ้างอิงแนบท้าย

 

เท้าความก่อนว่า การสักขาลายของคนอีสานในอดีตนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา-ไทยใหญ่ ส่วนใหญ่ผ่านทางพ่อค้า หรือที่เรียกว่า พ่อค้ากุลาที่เดินทางมาจากไทใหญ่ล้านนา ลายถึงเหมือนกัน คือมีตัวมอมเป็นลายหลัก แต่พอมาถึงอีสานคนอีสานมีการเพิ่มเติมลายลงไปอีก เดิมทีล้านนาที่มีตัวมอมอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมแล้วมีลายฐานบัวปิดลายด้านล่าง (อีสานเรียกเกร็ดนางอาย)แต่เมื่อคนอีสานได้รับวัฒนธรรมนี้มาก็มีการเพิ่มเติมลายลงไปอีกแล้วเรียกกันไปตามแต่ละพื้นที่ เช่น ลายมอมดอกผักแว่น มีการเพิ่มดอกผักแว่น บัวพันกลีบ หวีงาช้าง รังผึ้ง เขี้ยวหมาตายลงไป ส่วนของไทหล่มลักษณะของมอมจะแตกต่างออกไปและมอมจะอยู่ในช่องวงกลม พบมากที่ชัยภูมิ ขอนแก่นอำเภอภูผาผ่าน เลย เพชรบูรณ์ จึงเรียกว่า ขาลายไทยหล่ม ส่วนของผู้ไทจะคล้ายกับลายไทหล่ม แต่จะมีการเพิ่มลายบัวเครือและลายดอกมะขามลงไป จึงเรียกว่า ลายมอมดอกมะขาม ตัวอย่างเช่น อยู่บ้านโพน กาฬสินธุ์ ไม่ว่าจะขาลายแบบใดในอีสาน-ล้านนา ตัวมอมก็จะเป็นลายหลัก แล้วมอมคือตัวอะไร

ในอุดมคติความเชื่อของล้านนา มอม คือสิงห์ผสมลิง หลักฐานมีให้เห็นที่หน้าวัดพระธาตุหริภุญชัย และตามวัดอีกหลายแห่ง

และตามคติความเชื่อของคนล้านนาในอดีต มอมเป็นพาหนะของเทพปัชชุนนะเทวบุตร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งฝน เมื่อเกิดฝนแล้ง ชาวบ้านจึงนำเอาตัวมอมที่แกะจากไม้มาแห่ไปรอบหมู่บ้าน

นอกจากปรากฏอยู่บนขาลายแล้วยังทำให้เราเจอมอมได้ตามบันไดวัดหรือตามศาสนสถานทางแถบล้านนา

ส่วนพจนานุกรมล้านนา ฉบับแม่ฟ้าหลวง ได้ให้ความหมายไว้ว่า มอมคือรูปสัตว์ครึ่งลิงครึ่งเสือ มีแขนยาว ตัวดำ บางทีก็ว่าคล้ายสุนัขปักกิ่ง บางพื้นที่ก็แปลว่าเสือดำ

แต่ทั้งนี้มอม ไม่เคยปรากฏในวัฒนธรรมล้านนาโบราณเมื่อ 700-500 ปีก่อน แต่เพิ่งเข้ามาแพร่หลายปะปนกับรูปสัตว์หิมพานต์อื่นๆ เช่น หงส์ กิเลน เงือก นหัสดีลิงค์ ในงานศิลปกรรมยุคหลังไม่เกิน 200 ปี

ส่วนในอีสาน มอมในอุดมคติของคนโบราณ จากการสัมภาษณ์ส่วนใหญ่จะตอบว่า มอมคือ เสือดำ ผู้เฒ่าบางคนก็บอกว่า มอมคือเสือแมงภู่(เสือแมลงภู่)หรือเสือโคร่งดำ ตอนที่ผมเป็นเด็กคุณยายเคยเล่านิทานพื้นบ้านเรื่องมอมเก้าตัวให้ฟัง ผมจึงถามยายว่า มอมคืออิหยัง ยายตอบชัดเจนว่า "มอมคือเสือดำ มอมตัวนั้นชื่อบักแต้ม"....เป็นนิทาน

หลักฐานที่หาดูได้อยู่ที่วัดเจติยภูมิ พระธาตุขามแก่น ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น อยู่หน้าประตูสิม

ในวัฒนธรรมล้านช้างมอมมักกล่าวไว้คู่กับสิงห์ ดังปรากฏอยู่ในวรรณกรรมพื้นบ้านมุขปาฐะมหากาพย์ เรื่องราวของมหาวีรบุรุษบรรพชนแห่งล้านนาและล้านช้าง

เช่น

“…แต่นั้นท้าวคาดผ้า ผืนดาย ดอกเครือ

ของแพรงมวลแม่เมือง ประสงค์ให้

ลายเจือเกี้ยวสิงห์ มอม เมียงม่าน

ทรงอยู่เค้าดูเข้ม ทบเหลียว…”

มอมก็คือมอม สิงห์ก็คือสิงห์

มีบางเว็บไซด์ก็ระบุ เช่นกันว่า. มอมในอีสานคือสิงโต​ นั้นคงเป็นเพราะการตีความของคนในสมัยหลัง​ เพราะการรับรู้ขอคนในสมัยหลังจะรู้จักสิงห์และสิงโตมากกว่า​ แต่คนอีสานในสมัยก่อนไม่เคยเห็นสิงห์และรับรู้เสือดำมากกว่า​ เหมือนกับเราเข้าใจว่าราชสีห์คือเจ้าป่านั้นแหละ แต่หากพิจารณาแล้วสิงโตมิใช่สัตว์พื้นที่ในแถบนี้ หากเป็นนิเชาแห่งอาฟริกาสักขาลายแล้วบอกว่ามอมคือสิงโต. ก็น่าจะใช่

หมอบุญส่ง เลขะกุล นายแพทย์นักนิยมไพรกล่าวว่า

“เมืองไทยไม่มีสิงห์โตหรอกคุณ จะมีก็แต่สิงห์โตจีนเท่านั้น…อย่าว่าแต่เมืองไทยเราเลย ในภูมิภาคแถบอินโดจีน ตั้งแต่พม่ามาจนสุดแหลมมลายูก็ไม่มี ตามเกาะตามแก่งในจีนในญี่ปุ่น ก็ไม่มีทั้งนั้น สิงห์โตมันชอบอากาศร้อน แต่ไม่ใช่ร้อนชื้นอย่างบ้านเรา ต้องเป็นร้อนแห้งแล้ง จนถึงขั้นทะเลทรายฉะนั้นพื้นถิ่นเดิมของมันจึงอยู่ในอาฟริกาเป็นส่วนใหญ่ แล้วก็คาบเกี่ยวมาถึงอินเดียแถบตะวันตกและตอนกลางของประเทศ”

จึงมีหลักฐานพบสิงห์อินเดียแบบศากยะวงศ์ จีนก็รับมาจากพุทธศานาตั้งแต่ราชวงศ์สุย และจีนก็นิยมทำรูปมอม ไม่มีขนปุกปุย ตั้งแต่สิบสองปันนาลงมาถึงล้านนา ส่วนในอีสานเราจะเห็นสิงห์ในวัดก็จากสิมศิลปะยวน ที่ปั้นโดยช่างญวน จนมีวลีว่า "แกวปั้นธาตุปั้นสิม"

จึงเป็นไปได้ยากที่คนอีสานในอดีตจะมีการรับรู้ว่ามอมในสักขาลายนั้นคือสิงโต ฉะนั้น. ส่วนตัวแล้วเชื่อว่า มอม ในอุดมคติของคนอีสานในอดีตไม่ใช่สิงโต แต่มันคือ เสือดำ บางแห่งก็เชื่อว่า มันคือสิงห์ผสมลิง

แต่หลายครั้งจากการสัมภาษณ์ผู้เฒ่าผู้แก่ที่สักอีสาน ถามว่า มอมคือตัวอิหยัง บางคนก็ตอบว่า "บ่ฮู้ ผู้สักว่ามอม กะว่ามอมนำเขา จักมันเป็นโตหยัง" บ้างก็ตอบว่า "มอม คือ สิงห์" แต่ไม่มีใครที่ตอบว่า มอมคือสิงโต แต่ถ้าหากถามคนรุ่นเก่ามากๆ จะตอบว่า มอมคือ เสือดำ เสือโคร่งดำ หรือบางคนก็ตอบว่า เสือแมงภู่

คราวนี้กลับมาดูขาลายของคนอีสานที่รับมาจากล้านนา

ล่างสุดคือ. เขี้ยวหมาตาย. เชื่อว่าป้องกันหมากัดได้ แต่ดั้งเดิมในดินแดนแถบนี้ เชื่อว่า หมาคือผู้ที่นำพันธุ์ข้าวเหนียวลงมาให้มนุษย์. จากนิทานเรื่อง หมาเก้าหาง ในหลุมศพก็ยังพบเขี้ยวของสุนัข นิทานเรื่องหมาเก้าหางแพร่หลายมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ตั้งแต่จ้วง กวางสีลงมา

ถัดขึ้นมาคือ เกร็ดนางอาย หรือเกร็ดลิ่น แต่คนอีสานในอดีตเรียกตัวลิ่นว่านางอาย ส่วนนางอาย(ลิง)ในภาษากลาง คนอีสานในอดีตเรียกว่า “ลิงลม” ทำไมจึงมาอยู่ในลายสักนี้. เพราะในความเชื่อคนอีสานเชื่อว่าเกร็ดลิ่นจะช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการเดินทางค้าขายไกลลำบาก คนจีนเวียดนามเชื่อว่าเกร็ดลิ่นช่วยรักษาโรคกระเพาะ

บัวพันกลีบ หวี หม้อน้ำ รังผึ้ง ล้วนแล้วสิ่งมงคลในความเชื่อของคนอีสาน ถูกประดับเข้าไปในช่องที่มีตัวมอมอยู่ ซึ่งตรงนี้จะไม่ลงรายละเอียด. เพราะมีใจความมุ่งอธิบายไปถึงเรื่อง มอม ในคติความเชื่อคนอีสาน

สุภิวัฒน์ สีคูน เขียน

เนื้อหาโดย: Stephen wat0234
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Stephen wat0234's profile


โพสท์โดย: Stephen wat0234
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง, Stephen wat0234
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หลุดมาอีกแล้ว AI บอกครบทั้ง6ตัว งวด 2 พฤษภาคม 256730 แคปชั่นวันแรงงาน กวนๆ ฮาๆ 2567 แคปชั่นหยุดวันแรงงาน แคปชั่นทำงานวันแรงงาน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หนุ่มกลัวเยาวชนติดยาบ้า..เลยอาสากว้านซื้อยามาเสพเองสาเหตุที่ผู้หญิงต้องไปสู่ขอผู้ชาย ในอินเดียไม่จบ! "ม้า อรนภา" เดือด อยู่เฉยๆ โดนขุดอดีตการเมืองเผยโฉม แอดมินเพจเชื่อมจิต งามซะ...เล่นเอาหนุ่มๆ อยากเชื่อมจิตกันใหญ่เลยหลุดมาอีกแล้ว AI บอกครบทั้ง6ตัว งวด 2 พฤษภาคม 2567
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
รู้ไหม?พริกป่นกับน้ำยาล้างจานกำจัดมดได้ สูตรโบราณที่ใครไม่รู้จบจากโรงเรียนไหนเข้าจุฬาได้มากที่สุดประเทศที่ปั๊มลูกมากที่สุดในเอเชียรีวิวหนังสือ สิ่งที่ใช่จะมาในเวลาที่เหมาะสม
ตั้งกระทู้ใหม่