GAP คืออะไร??? มีความสำคัญอย่างไร ???
GAP : Good Agricultural Practice
GAP หมายถึง แนวทางการปฏิบัติทางการเกษตร เพื่อผลิตสินค้าปลอดภัย ปลอดศัตรูพืช และคุณภาพถูกใจผู้บริโภค กระบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ถูกสุขลักษณะ มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกิดความยั่งยืน ทางการเกษตร และไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ชนิดพืชที่สมัครขอ GAP
- หากพืชมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ขอให้ใช้ชนิดพืชที่มีการปลูกติดต่อกัน 2 คร้ัง มายื่นขอ GAP พืชอาหาร
- ไม้ยืนต้น ต้องมีผลผลิตในปีที่ขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืชอาหาร
- พืชเมืองหนาวหรือพืชที่ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ให้สมัครทันทีท่ีเกษตรกรทำการเพาะปลูก
- เกษตรกรท่ีขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืชอาหาร ต้องขอด้วยความสมัครใจและพร้อมท่ีจะปฏิบัติตามข้อกำหนด GAP
ข้อกำหนหรือข้อปฏิบัติการขอ GAP พืชอาหาร
มี 8 ข้อ
1. แหล่งน้ำ ไม่มีการปนเปื้อนสารพิษ สารเคมี โลหะหนัก สิ่งท่ีเป็นอันตราย น้ำที่ใช้หลังเก็บเก่ียว ต้องมี คุณภาพตามมาตรฐานน้ำบริโภคหรือเทียบเท่า
2.พื้นที่ปลูกไม่เคยเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม โรงเก็บสารเคมี คอกสัตว์ ที่ทิ้งขยะ
3. การใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร ใช้ตามคำแนะนำ ตามฉลาก ใช้ตามประเทศคู่ค้า ใช้ไม่หมดปิดฝาเก็บในสถานทที่เก็บเป็นสัดส่วน
4.การจัดการคุณภาพในการผลิตก่อนเก็บเก่ียวจัดทำรายการปัจจัยการผลิตทุกอย่าง พื้นท่ีเก็บผสมสารเคมี ต้องแยกเป็นสัดส่วน ไม่ปนเปื้อนลงพื้นท่ีปลูก และแหล่งน้ำ
5.การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต้องเก็บเก่ียวผลิตผลท่ีมีอายุเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม โดยผลิตผลมีคุณภาพตามความต้องการของตลาด หรือตามข้อกาหนดของคู่ค้า คัดแยกผลิตผลท่ีไม่ได้คุณภาพออก
6. การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลง และเก็บรักษา มีการจัดการด้านสุขลักษณะของสถานท่ีและวิธีการขน ย้าย พักผลิตผล และ/หรือ เก็บรักษาผลิตผล
7.สุขลักษณะส่วนบุคคลผู้ที่สัมผัสกับผลิตผลโดยตรง โดยเฉพาะหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนต้องมีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลและมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อนสู่ผลิตผล
8. การบันทึก ข้อมูล และการตามสอบบันทึกท่ีมาของปัจจัยการผลิต ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ก่อนการเก็บ เกี่ยว การขนส่ง และการจำหน่าย
ประโยชนข์องการทาGAP
• ได้ผลผลิต ท่ีมีคุณภาพ มาตรฐาน เป็นท่ีต้องการของตลาด
• เกษตรกรมีสุขภาพดีขึ้น ลดต้นทุน การผลิต ประหยัด ค่าใช้จ่าย
• ผู้บริโภคปลอดภัยเช่ือมั่นในสินค้า
• คุ้มครองผู้บริโภคจากสินค้าเกษตรไม่ได้คุณภาพหรือไม่ปลอดภัย
• คุ้มครองผู้ผลิต/เกษตรกรจากการถูกเอาเปรียบ
• สร้างความเชื่อถือระหว่างผู้ผลิต-ผู้ค้า-ผู้บริโภค
• เป็นเครื่องมือในการพัฒนา เพิ่มความสามารถในการผลิต
สัญลักษณ์ Q คือ เครื่องหมายการ รับรองแหล่งผลิต GAP