เทคนิคเลือสีทาบ้านให้เข้าพื้นที่
สีทาบ้าน
6 ขั้นตอนทาสีบ้านเอง เริ่มต้นอย่างไรดี
1. ตรวจสอบสภาพพื้นผิวของบ้านคุณ
ขั้นตอนแรกสุดคือ เราต้องดูสภาพพื้นผิวของบ้านว่าเป็นแบบไหน เพราะว่าการทาสีบ้านเก่ากับบ้านใหม่เพิ่งสร้าง จะมีวิธีการดูแลเตรียมพื้นผิว และใช้ผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน
อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงบริเวณที่จะทาว่าจะทาภายในบ้าน หรือทาภายนอกบ้าน อีกด้วย เนื่องจากสีทาภายในและสีทาภายนอก จะมีคุณสมบัติบางสิ่งที่แตกต่างกัน เช่น ประสิทธิภาพความทนต่อสภาพอากาศ ยกเว้น สีทาบ้านบางชนิดที่สามารถทาได้ทั้งภายในและภายนอก
2. เตรียมอุปกรณ์ทาสี มีอะไรบ้าง
ในเมื่อจะทาสีด้วยตัวเอง สิ่งที่ต้องเตรียมนอกจากสี นั่นก็คือบรรดาอุปกรณ์ทาสี อาทิ แปรงทาสี เกรียงทาสี และลูกกลิ้งทาสี รวมถึงเทปกาวที่ใช้สำหรับกั้นพื้นที่ ๆ ไม่อยากให้สีไปเลอะโดน อย่าง ขอบประตู หรือขอบหน้าต่าง เป็นต้น
- เลือกลูกกลิ้งทาสี อย่างไรดี
อุปกรณ์สุดคุ้นตาที่เหมาะกับการใช้ทาในพื้นที่เป็นวงกว้าง ส่วนใหญ่ที่ขายตามท้องตลาดมี 3 ขนาด ได้แก่ ลูกกลิ้ง 4 นิ้ว, 7 นิ้ว และ 10 นิ้ว
- เลือกแปรงทาสีบ้าน อย่างไรดี
อุปกรณ์มาตรฐานในการทาสี เหมาะกับการทาในพื้นที่จำกัด ในซอกมุมที่ลูกกลิ้งไม่สามารถทาได้ หัวแปรงมีหลายขนาดตั้งแต่ 1 - 5 นิ้ว และขนแปรงมีหลายแบบ เช่น แปรงขนดอกหญ้า แปรงขนพลาสติก และแปรงขนสัตว์ โดยเราจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับงาน เช่น แปรงทาสี 2.5 นิ้ว จะเป็นขนาดยอดนิยม เป็นต้น
- เลือกเกรียง อย่างไรดี
เกรียงเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับเกลี่ยพื้นที่ให้เรียบผิวเรียบ แซะปูนเก่า เกลี่ยรอยโป๊ว ขึ้นลายสี โดยเกรียงมีหลายแบบ ได้แก่ เกรียงสามเหลี่ยม เกรียงเกลี่ยโป๊ว และเกรียงเหล็ก BA-43 ทรงเหลี่ยม ที่เหมาะแก่การนำมาขึ้นลายสีพิเศษ เช่น สี Loft ปูนเปลือย
- เลือกเทปกาวกั้นพื้นที่ อย่างไรดี
การเลือกเทปกาวเพื่อใช้ในการทาสีจะต้องดูเรื่องคราบกาวและการทนการซึม กล่าวคือเมื่อลอกออกมาจะต้องไม่ทิ้งคราบกาวไว้ และเมื่อทาสีเนื้อสีจะต้องไม่ซึมเข้าไปข้างใน โดยสามารถหาซื้อตามร้านค้าวัสดุเกี่ยวกับการตกแต่งบ้านทั่วไปได้
3. เตรียมพื้นผิว ทำความสะอาด และซ่อมแซม
การเตรียมพื้นผิวของบ้านแต่ละประเภทนั้นไม่เหมือนกัน กรณีที่เป็นบ้านใหม่จะต้องดูเรื่อง ปัญหาความชื้น ซึ่งค่าที่เหมาะสมจะระหว่าง 14 - 16% (เมื่อวัดด้วยเครื่องวัดความชื้น PROTIMETER) ส่วนถ้าเป็นบ้านเก่าที่ต้องการรีโนเวตใหม่ แล้วมีปัญหาพื้นผิว เช่น หลุดล่อน รอยแตก รอยร้าว รอยซึม เชื้อรา ตะไคร่น้ำ หรือคราบเกลือ คุณจำเป็นต้องทำการซ่อมแซมก่อนที่จะเริ่มต้นทาสีใหม่
- ปัญหาสีหลุดล่อน สีทาบ้านเป็นสินค้าที่มีการเสื่อมสภาพตามอายุงาน ยิ่งต้องเจอสภาพอากาศอันทรหดในประเทศไทยที่ร้อนชื้นสูง หากใช้สีคุณภาพไม่ดี ก็อาจทำให้โป่งพองหลุดล่อนง่าย หากต้องการจะทาสีใหม่จำเป็นต้องแซะลอกสีเก่าออกก่อน
- ปัญหาผนังบ้านแตกร้าวแตกลายงา เป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการที่ผนังปูนเจอความร้อนสูงและไม่สามารถถ่ายเทความร้อนได้ เลยทำให้เกิดรอยร้าวรอยแตกลายงา ซึ่งถ้ารอยแตกร้าวขนาดเล็กมีความกว้างไม่เกิน 1 มิลลิเมตร แนะนำให้ใช้ Beger Acrylic Filler F-200 อุดโป๊วรอยร้าวนั้นก่อน หรือ ถ้ามีรอยแตกร้าวกว้างขนาด 2-10 มิลลิเมตร Beger Acrylic Sealant F-001 ชนิดยืดหยุ่นสูงแทน
- ปัญหาเชื้อราและตะไคร่น้ำ ปัญหากวนใจประจำหน้าฝน ที่ไม่ต้องทนอีกต่อไป เพราะว่าสามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ เพียงแค่ขัดล้างทำความสะอาด ปล่อยให้พื้นผิวให้แห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง แล้วทาด้วยน้ำยากำจัดเชื้อราตะใคร่น้ำ เบเยอร์ โมลด์ฟรี เอ็ม-001 จำนวน 1 - 2 เที่ยว ก็พร้อมทาสีใหม่ต่อไป
- ปัญหาคราบเกลือ เมื่อน้ำหรือความชื้นซึมเข้าไปทำปฏิกิริยากับเนื้อปูน แล้วพอแห้งจึงเกิดเป็นคราบขี้เกลือสีขาวอยู่บนพื้นผิว คราบดังกล่าวสามารถขัดล้างให้ทุเลาลงได้ แต่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำควรทาน้ำยาอุดโป๊วที่คุณอาจมองไม่เห็นก่อนจะเริ่มลงสีรองพื้น
4. ทาสีรองพื้น (Primer) ให้เหมาะสมกับพื้นผิว
สีรองพื้น (Primer) คือ สีชั้นแรกที่ใช้ทาบนพื้นผิวก่อนลงสีทับหน้า เพื่อช่วยป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับพื้นผิว เช่น เชื้อรา สีซีดหลุดล่อน รวมถึงช่วยยืดอายุสีให้ติดแน่นอยู่ทนสดใหม่ได้นานกว่าเดิม
ในบ้านปูนจะแบ่งเป็น สีรองพื้นปูนเก่า (บ้านเก่าอายุ 5 ปีขึ้นไป) สีรองพื้นปูนใหม่ (บ้านใหม่ 1 - 3 เดือน) และสีรองพื้นปูนสด (เพิ่งฉาบเสร็จ 2 - 5 วัน)
- เลือกสีรองพื้นอย่างไรดี
อย่างที่บอกไปข้างต้นว่า พื้นผิวของบ้านมีผลต่อการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ใช้ โดยเฉพาะสีรองพื้นถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็ไปอาจลดทอนประสิทธิภาพของสีทับหน้าได้ โดยจะมีวิธีเลือกสีรองพื้นดังนี้
เลือกสูตรสีรองพื้น ได้แก่ สีรองพื้นสูตรน้ำที่กลิ่นอ่อน และสีรองพื้นสูตรน้ำมันที่กลิ่นแรงกว่า โดยทั้งสองสูตรมีการยึดเกาะและความคงทนใกล้เคียงและสามารถนำมาทาได้ทั้งภายในและภายนอก
เลือกสีรองพื้น ซึ่งจะมีทั้งหมดสองสีคือ แบบสีใส เหมาะกับพื้นผิวที่สีเก่าไม่มีปัญหาอะไร และแบบสีขาว เหมาะกับผู้ที่ต้องการจะกลบรอยปัญหาต่าง ๆ จากพื้นผิวเดิม สามารถเลือกได้ตามสภาพผิว
5. ทาสีทับหน้า
เรียกว่าเป็นหัวใจหลักของขั้นตอนทั้งหมดเลยก็ว่าได้ เพราะมันคือสีทาบ้านชั้นสุดท้ายที่จะบ่งบอกสไตล์ของห้องหรือของบ้านที่คุณอยากให้เป็น ผ่านสีสันบนพื้นผิว โดยการเลือกสีทับหน้ามีหลักการพิจารณาใน 5 ส่วน ได้แก่ 1.เฉดสีที่ต้องการ 2.สูตรสีน้ำหรือสีน้ำมัน 3.เนื้อฟิล์มแบบสีด้านหรือสีกึ่งเงา 4.คุณสมบัติพิเศษของสี และ 5.อายุความทนทาน เป็นต้น
เลือกสีทับหน้าอย่างไรดี
- เลือกเฉดสีที่ต้องการ โดยสามารถดูได้จาก ไอเดียตกแต่งสี ที่มีให้เลือกมากกว่าพันเฉด หรือเพื่อความแม่นยำสูงสุด แนะนำให้ลองดูจากแผ่น Fan Deck หรือแคตาล็อคสี ตามร้านขายสีชั้นนำ ซึ่งจะมีจะตรงกับความเป็นจริงมากกว่าการดูผ่านจอคอม หรือจอมือถือ
- เลือกสูตรสีน้ำ หรือน้ำมัน ในทำนองเดียวกันกับสีรองพื้น สีทาบ้านสูตรน้ำจะมีกลิ่นอ่อนกว่า สูตรน้ำมัน ดังนั้นหากคุณเป็นกังวลเรื่องกลิ่นสีสูตรน้ำจะเหมาะสมกว่า
- เลือกเนื้อฟิล์มของสี ปกติเนื้อฟิล์มสีที่นิยมใช้ในตลาดมีสองแบบ ได้แก่ สีแบบด้านเนื้อเนียนเรียบง่ายไม่สะท้อนแสง และสีแบบกึ่งเงา (Semi-Gloss) ที่จะให้สไตล์โกลว์โชว์ความหรู และเช็ดล้างได้ง่ายกว่าแบบด้าน
- เลือกคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ ของสี เดี๋ยวนี้สีไม่ได้มีดีแค่ความสวย แต่ยังช่วยดูแลบ้านและตัวคุณจากมลภาวะต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกได้อีกด้วย เช่น สี BegerCool สีบ้านเย็นที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน ช่วยลดค่าไฟ หรือ สี Beger Air Fresh ที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศ ฆ่าเชื้อโรคได้
6. เก็บงานและตรวจความเรียบร้อย
มาถึงขั้นตอนสุดท้าย หลังจากที่เราทาสีทับหน้ารอบที่สองแล้วปล่อยทิ้งไว้จนสีแห้ง ซึ่งถ้าเป็นสีทาบ้านของ Beger Cool จะแห้งสนิทในเวลา 1 วัน (ในสภาพอากาศปกติ) ให้ลอกเทปกาวกั้นพื้นที่ออก(ถ้าแปะไว้) อาจเก็บขอบสีที่อาจเลอะเข้าไป และตรวจสอบความเรียบร้อยครั้งสุด ว่าสีที่ทามีความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ถือเป็นอันเสร็จสิ้น
เทคนิคการทาสีที่กล่าวมาเป็นเพียงหลักการขั้นพื้นฐาน ที่จะทำให้งานสีดูเรียบร้อยสวยงามเท่านั้น ยังมีเทคนิคในการสร้างลวดลายบนผนังอีกมาก ที่จะใช้สีบ่งบอกถึงความรู้สึก หรือเหมาะกับสถานที่และโอกาสต่างๆกัน เช่น โทนสีชมพู-ม่วงสื่อถึงความรักและความอบอุ่น โทนสีเหลือง-ฟ้า-น้ำเงิน บ่งบอกถึงความอิสรเสรี โทนสีเขียว-ครีม-น้ำตาลทองสื่อถึงการเฉลิมฉลอง และโทนสีหวานๆเหมาะสำหรับสถานที่สำหรับเด็ก นอกจากนั้นยังมีเทคนิคในการทำผนังให้เป็นลวดลายสายน้ำ ลายกลีบกุหลาบหรือลายคลื่น ซึ่งเป็นเทคนิคง่ายๆที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยตนเอง
นี้ก็เป็นเทคนิคพื้นฐานที่นำมาฝากกันสำหรับใครที่กำลังวางเเผนจะทาสีก็อย่าลืมนำไปเป็นข้อมูลคราวๆนะคะ