ผักกุ่ม ผักดอง อีกหนึ่งสมุนไพรของไทย
กุ่มบก มีชื่อเรียกตามท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กุ่ม ผักกุ่ม กะงัน ก่าม ผักก่าม สะเบาถะงัน (ภาคอีสาน) บ้านเราเรียก ผักกุ่ม
ส่วนของผักกุ่มบกที่นิยมนำมาดองคือ ยอดอ่อนและช่อดอกหรือใบ นำมาดองรับประทานคู่กับน้ำพริกจะอร่อยมาก ทั้งยอดอ่อนและช่อดอก จะมีความมันของตัวผักและความเปรี้ยวจากการดอง
ผักกุ่มบกสดจะมีกรดไฮดรอไซยานิค (hydrocyanic acid) ซึ่งเป็นสารพิษ จึงต้องนำไปทำให้สุก หรือดองก่อนรับประทาน
สรรพคุณของผักกุ่มตามตำรายาไทย มีอย่างมากมาย
ดอก เป็นยาเจริญอาหาร
ผล แก้ท้องผูก
ใบกุ่มบก มีรสร้อน ต้มน้ำดื่มบำรุงหัวใจและขับลม
ใบสด ตำทาแก้กลากเกลื้อน แก้ตานขโมย
ใบสดบดละเอียดผสมน้ำซาวข้าว นำมาพอกผิวบริเวณที่บวมคัน จากพยาธิตัวจี๊ด ใช้ผ้าพันไว้สักระยะ จะรู้สึกร้อนบริเวณนั้น ทำสามวันติดต่อกัน พยาธิตัวจี๊ดจะหยุดแสดงอาการ แล้วนำ ใบสดเปลือกและรากใช้ทาถูนวดให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้น
เปลือกต้นกุ่มบก มีรสร้อน แก้ปวดท้อง
กระตุ้นลำไส้ให้ย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย รักษานิ่ว บำรุงหัวใจ เป็นยาระงับประสาท แก้ลงท้อง ขับผายลม แก้บวม บำรุงธาตุ คุมธาตุ
เปลือกต้นกุ่มบก นำมานึ่งให้ร้อนใช้ประคบแก้ปวด
เปลือกต้นกุ่มบกผสมกับเปลือกต้นกุ่มน้ำ และเปลือกทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่มเป็นยาขับลม
เปลือกต้นกุ่มบกผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มเป็นยาเจริญอาหาร และยาอายุวัฒนะ
แก่น มีรสร้อน แก้ริดสีดวงทวาร และอาการผอมเหลือง กระพี้ รสร้อน
ราก มีรสร้อน บำรุงธาตุ แก้มานกระษัยที่เกิดจากกองลม
กุ่ม ยังเป็นภาษาไทยใหญ่ ในภาษากลางแปลว่า คุ้ม
ต้นกุ่ม จึงถือเป็นไม้มงคลที่เชื่อว่าจะช่วยคุ้มครอง คุ้มโรค คุ้มภัย มักนำมารับประทานกันในงานมงคล งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน ฯลฯ
ชาวไทยใหญ่มีประเพณีการกินผักกุ่มดองในเดือน 4 ขึ้น 15 ค่ำ ด้วยมีกุศโลบายที่จะทำให้ร่างกายอบอุ่นแข็งแรง ไม่มีไข้ พร้อมรับมือกับฤดูกาลทำนา ในฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง
ประโยชน์ของ ผักกุ่ม นั้นมีมากมาย โดยที่เราคนกินก็ไม่เคยรู้เหมือนกัน เรารู้จัก และกินผักกุ่มดอง เพราะพ่อเราชอบไปหามา ดองกินกับน้ำพริกกะปิบ้าง น้ำพริกเผาบ้าง กินคู่กับข้าวสวย เราชอบกินดอกกุ่มเพราะมีความมันๆ บวกเปรี้ยวจากการดองยิ่งอร่อย
LOMA🐬🐬