ปลาไทยดังไกล "ฐานะเอเลี่ยน" ในต่างแดน
ปลาไทยดังไกล ฐานะเอเลี่ยน ในต่างแดน
โฉมหน้าเอเลี่ยนพันธุ์ไทยที่สยองไกลถึงต่างแดน ชาวฟลอริดา อเมริกา และประเทศอื่นๆ -ยังต้องสะพรึงกับพฤติกรรมของมันขณะฝนตก คืออะไร บอกเลยเหลือเชื่อมาก
ขณะที่เมืองไทยกำลังประสบปัญหากับการรุกรานของปลาสายพันธุ์ต่างถิ่นจำนวนมาก ปลาธรรมดาๆ ในบ้านเราก็ไปสร้างปัญหาในต่างบ้านต่างเมืองเหมือนกัน อย่างเช่นเจ้า Walking Catfish หรือ ปลาดุกด้าน ที่ถูกนำเข้าไปในสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นปี ค.ศ.1960 เพื่อทดลองเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจและมีบางส่วนที่นำไปขายเป็นสัตว์เลี้ยง จนกระทั่งมีปลาพ่อแม่พันธุ์บางส่วนจากเมือง Broward County ในรัฐฟลอริด้าหลุดออกจากฟาร์มไปโดยไม่ได้ตั้งใจ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการรุกรานของปลาไทยสายพันธุ์นี้ในที่สุด
เช่นเดียวกับเอเลี่ยนสปีชีสายพันธุ์อื่น ปลาดุกด้านที่หลุดไปนั้นสามารถแพร่พันธุ์ในสภาพแวดล้อมใหม่ได้ และยังสามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่โตและกินอาหารไม่เลือก ทำให้ปลาท้องถิ่นจำนวนมากถูกเอเลี่ยนพันธุ์ไทยชนิดนี้สวาปามซะเกือบสูญพันธุ์ แถมในปีที่มีฝนตกหนัก ชาวเมืองยังต้องแตกตื่นกับพฤติกรรมการเดินบนบกของมัน ทั้งยังมีรายงานว่าปลาสุดอึดนี้สามารถคลานข้ามรัฐท่ามกลางสายฝนได้อีกด้วย
วันนี้เราจะมาเราจะมาทำความรู้จักกับเหล่าเอเลี่ยนพันธุ์ไทยกันค่ะ
- ปลาสลิด
ปลาสลิด เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trichogaster pectoralis ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ มีรูปร่างคล้ายปลากระดี่หม้อ ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีลำตัวที่หนาและยาวกว่า หัวโต ครีบหลังในตัวผู้มีส่วนปลายยื่นยาวเช่นเดียวกับครีบก้น ครีบอกใหญ่ ตาโต ปากเล็กอยู่สุดปลาย
มีการขยายพันธุ์ในประเทศโคลอมเบีย เนื่องจากถูกนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงามและบริโภค ทำให้หลุดออกมาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง และเข้าไปกินไข่ ของปลาท้องถิ่นจำนวนมาก
- ปลากระดี่หม้อ
ปลากระดี่หม้อเป็นปลาที่มีสีสันต่างตากหลากหลายกันออกไปตามพันธุกรรมและถิ่นที่อยู่อาศัย จึงมีหลากสีมาก เช่น ปลาที่พบในพื้นที่ภาคใต้จะมีลำตัวสีฟ้าเข้มกว่าปลาที่พบในที่อื่น นอกจากนี้ยังมีที่พบสีออกเหลืองทองหรือออกขาวนวลด้วย แต่ปลาที่พบโดยทั่วไปมักมีลำตัวออกสีน้ำตาลใส
ถูกส่งออกในฐานะปลาสวยงาม ซึ่งมีการแพ่ขยายในประเทศ บราซิล หลาหลายสายพันธุ์ และกินไข่ปลาท้องถิ่นและหวงที่อยู่อาศัย
- ปลาตะเพียนทอง
ปลาตะเพียนทอง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Barbonymus altus อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลากระแห ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน กล่าวคือ มีเกล็ดตามลำตัวแวววาวสีเหลืองทองเหลือบแดงหรือส้ม ครีบหางเป็นสีส้มหรือสีแดงสด แต่ปลาตะเพียนทองมีเกล็ดขนาดใหญ่กว่า และมีการแพร่ขยายพันธุ์ในประเทศมาเลเซีย
- ปลาไหลนา
ปลาไหลนา หรือ ปลาไหลบึง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monopterus albus อยู่ในวงศ์ปลาไหลนา มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายงู ตามีขนาดเล็ก คอป่องออก มีอวัยวะช่วยหายใจอยู่ในคอหอยเป็นเส้นเลือดฝอย ซึ่งช่วยให้หายใจได้โดยไม่ต้องผ่านซี่กรองเหงือกเหมือนปลาทั่วไป และยังสามารถขุดรูในดินเพื่อจำศีลในช่วงฤดูร้อนได้ด้วย ออกนอกประเทศในปี 1900 โดยชาวเอเชียนำไปเป็นอาหารที่ เกาะฮาวาย เป็นสัตว์เลี้ยงแปลกในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีการแพร่ขยายต่อในฟอลิดา จนกลายเป็นสัตว์ต้องห้ามในสหรัฐอเมริกา
- ปลาชะโด
ปลาชะโดมีรูปร่างคล้ายปลาช่อน และมีขนาดลำตัวใหญ่มาก โดยเคยพบปลาชนิดนี้มีลำตัวยาวมากกว่า 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม ลักษณะลำตัวทั่วไปของตัวเต็มวัย แถบลำตัวทางด้านบนมีสีน้ำตาลอมเขียวเมื่อยังเล็ก และเป็นน้ำตาลอมดำเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นถูกส่งออกเพราะนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ถิ่นที่เข้าไปรุกรานคือ สหรัฐอเมริกา
- ปลาช่อนงูเห่า
เป็นปลากินเนื้อที่กินทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ปลาเล็ก กบ แมลง แต่ไม่ทนต่อความหนาวจึงอยู่เพียงเขต อบอุ่นเท่านั้น มีการแพร่ขนายรวดเร็วมาก จึงถูกนำมาเป็นเกมการตกปลา
- ปลากราย
ปลากราย ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลากราย มีปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยขอบหลังลูกตา ในตัวเต็มวัยส่วนหน้าผากจะหักโค้ง ส่วนหลังโก่งสูง ในปลาวัยอ่อนมีสีเป็นลายเสือคล้ายปลาสลาด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีเทาเงินและมีจุดกลมใหญ่ ถูกค้นพบในฟอริดา ครั้งแรกปี 1990 เข้าพื้นที่ครั้งแรกได้จากการเลี้ยงเพื่อสวยงาม ปลากรายสามารถจับปลาม้องถิ่นกินได้โดยง่ายดาย
- ปลาดุก
การแพร่กระจายพันธุ์ในน้ำจืดและน้ำกร่อยตามแหล่งน้ำของทวีปเอเชียและแอฟริกา เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดนิ้ว มีครีบหลังและครีบก้นยาวเกินครึ่งของความยาวลำตัว จุดเริ่มต้นของครีบหลังอยู่ล้ำหน้าจุดเริ่มต้นของครีบท้อง ครีบหลังไม่มีเงี่ยงแข็ง ไม่มีครีบไขมัน ครีบหางมนกลม ครีบทั้งหมดเป็นอิสระจากกัน มีการนำเข้าเพื่อเพาะเลี้ยงในฟาร์มของสหรัฐอเมริกา และทำหลุดออกสู่ธรรมชาติ ทำให้เกิดผลเสีย ต่อสัตว์ท้องถิ่นอย่างมาก
- ปลาหมอไทย
ปลาหมอเป็นปลาที่สามารถพบได้ในทุกแหล่งน้ำ กระจายอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย สำหรับในประเทศไทยพบทุกภาค และเป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี ด้วยใช้เป็นอาหารมาช้านาน
ถูกนำไปเลี้ยงฐานะสัตว์แปลก เป็นปลาตัวเล็กที่หวงถิ่นเป็นอย่างมากจนทำให้ส่งผลเสียต่องปลาท้องถิ่น ในยามฝนตกมันจะออกเดินทางข้าวรัฐเพื่อหาแหล่งน้ำใหม่ จึงทำให้เกิดการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
- ปลากัด
พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งตื้น ๆ ขนาดเล็กของที่ราบลุ่มทุกภาคส่วนในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง การกัดกันของปลากัดจีนตัวผู้
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย
เป็นปลาสวยงามยอดนิยมถูกนำไปเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม จนปี 2019 มีการค้นพบปลากัดขยายพันธุ์ได้ออกในแถบ ออสเตรีย และมีการขยายพันธุ์จำนวนมากและรวดเร็ว จากการขยายได้ง่ายนับพันตัวจึงสามารถบอกได้ว่ามันสามารถเอาตัวรอดในต่างถิ่นได้เป็นอย่างดี
หลังจากที่เราพอที่จะรับรู้มาบ้างว่าเอเลี่ยนที่มาบุกไทยมีจำนวนมาก แล้วเรามารู้จักกันบ้านะคะว่า สัตว์ในประเทศเราที่ไปเป็นเอเลี่ยนในต่างชาตินั้นก็มีจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว หวังว่าจะเป็นเกล็ดความรู้สำหรับเพื่อนๆที่เข้ามาดูได้บ้างนะคะ