หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เทคนิคสร้างบ้านไม้ จากต้นไผ่

โพสท์โดย chirapha

ก่อนอื่นเรามารู้จักกับต้นไผ่กันก่อนนะคะ

คุณประโยชน์ของไผ่

  • ใช้หน่อไผ่เป็นอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่มีไฟเบอร์สูงอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ เช่น เหล็ก และ สังกะสี เป็นต้น
  • การใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยการจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือนต่างๆ และสร้างที่อยู่อาศัย เป็นต้น
  • การสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวในระดับท้องถิ่นจากจำหน่ายส่วนต่างๆ ของไผ่
  • ก่อให้เกิดการสร้างงาน ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บหาลำไผ่ การผลิตแปรรูปไม้ไผ่ และการขนส่งเครื่องแปรรูปต่างๆ
  • พัฒนาเป็นสินค้าส่งออก ทำรายได้ให้แก่ประเทศ
  • ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหากมีการจัดการอย่างถูกต้อง เนื่องจากรากไผ่ช่วยในการรักษาโครงสร้างของดิน และใบไผ่ยังสามารถคืนชีวมวลกลับลงสู่ผืนดินเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดินด้วย

ชนิดไผ่ที่พบ

  • ไผ่ซางดำ ไผ่ขม ไผ่ซางแปด ไผ่ขี้มอด ไผ่เลื้อย ไผ่หนาม ไผ่พก (ไผ่วะบวย) ไผ่ไร่หลึ่ง ไผ่ผาก ไผ่ยะหม่น
  • ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ไร่ ไผ่บงคาย ไผ่ข้าวหลาม ไผ่ไร่โมง ไผ่ลูกศร
  • ไผ่หก ไผ่ซางป่า ไผ่บงป่า ไผ่กิมซุง ไผ่หวานอ่างขาง ไผ่ซางหม่น ไผ่บงหวาน ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง

ไผ่มีหลาหลายชนิดเเต่ชนิดไหนนะที่สามารถนำมาก่อสร้างบ้านได้ เรามารู้จักเเละทำความเข้าใจกันคะ

ไผ่ที่ใช้ในการก่อสร้าง และเฟอร์นิเจอร์ ( Bamboo used to building and Furniture )

ประเภทของไม้ไผ่ (Bamboo) และคุณสมบัติไม้ไผ่ที่พบในไทย เพื่อใช้ก่อสร้างและออกแบบอาคาร

ปัจจุบันทั่วโลกมีต้นไผ่ที่รู้จักกันมีประมาณ 75 สกุล และในประเทศไทยมีไผ่ที่พบอยู่ประมาณ 12 สกุล แยกเป็นชนิดประมาณ 44 ชนิด มาดูกันว่ามีไม้ไผ่อะไรบ้างที่ใช้ในการก่อสร้าง การออกแบบตกแต่งอาคารและรวมถึงงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์

  1. ไผ่ตง (D.asper)

สกุล : Dendrocalamus

– ลักษณะ : เป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-12 เซนติเมตร, ไม่มีหนามปล้องยาวประมาณ 20 เซนติเมตร, โคนต้นมีลายขาวสลับเทา มีขนเล็ก ๆ อยู่ทั่วไปของลำ, มีหลายพันธุ์ เช่นไผ่ตงหม้อ ไผ่ตงดำ ไผ่ตงเขียว ไผ่ตงหนู เป็นต้น

– พบได้บริเวณ : นิยมปลูกกันในภาคกลางโดยเฉพาะที่จังหวัดปราจีนบุรีปลูกกันมาก ไผ่ตงมีต้นกำเนิดจากประเทศจีน ชาวจีนนำมาปลูกในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ. 2450 ปลูกครั้งแรกที่ตำบลพระราม จังหวัดปราจีนบุรี

– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : ไผ่ตงเป็นไม้ที่ให้ประโยชน์ทั้งในแง่ของการนำไปประกอบเป็นอาหาร และการใช้ลำต้นมาสร้างอาคาร เช่น ใช้เป็นเสาอาคารหรือโครงหลังคา

  1. ไผ่สีสุก (B.flaxuosa)

สกุล : Bambusa

– ลักษณะ : มีลำต้นมีเนื้อหนาและเป็นสีเขียวสด, เป็นไผ่ขนาดสูงใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของต้นประมาณ 7-10 เซนติเมตร, ปล้องยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร, บริเวณข้อมีกิ่งเหมือนหนาม

– พบได้บริเวณ : ไผ่ชนิดนี้มีอยู่ทั่วไปและมีมากในภาคกลางและภาคใต้

– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : เพราะมีความทนทานสูงจึงใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง นำมาใช้เป็นนั่งร้านทาสีและนั่งร้านฉาบปูน

  1. ไผ่ลำมะลอก (D.longispathus) 

สกุล : Dendrocalamus

– ลักษณะ : มีลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร เป็นสีเขียวแก่ ไม่มีหนาม ข้อเรียบ, จะแตกใบสูงจากพื้นดินประมาณ 6-7 เมตร, ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร

– พบได้บริเวณ : มีทั่วทุกภาคแต่ในภาคใต้จะมีน้อยมาก

– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : ไผ่ชนิดนี้เองก็ใช้ลำต้นมาทำนั่งร้านในงานก่อสร้างเหมือนไผ่สีสุก

  1. ไผ่ป่าหรือไผ่หนาม (B.arumdinacea)

สกุล : Bambusa

– ลักษณะ : เป็นต้นแก่มีสีเขียวเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ที่มีหนามและแขนง, ปล้องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 -15 เซนติเมตร

– พบได้บริเวณ : มีทั่วทุกภาคของประเทศ

– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำมาใช้ทำโครงบ้านและทำนั่งร้าน

  1. ไผ่ดำหรือไผ่ตาดำ (B.sp.) 

สกุล : Bambusa

– ลักษณะ : มีลำต้นสีเขียวแก่ ค่อนข้างดำ ไม่มีหนาม, ขนาดเส้นผ่านเส้นศูนย์กลางของปล้องประมาณ 7-10 เซนติเมตร, ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร เนื้อหนา ลำต้นสูง 10-12 เมตร

– พบได้บริเวณ : มีในป่าทึบแถบจังหวัดกาญจนบุรีและจันทบุรี

– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำมาใช้ในการก่อสร้างและทำงานจักสาน

  1. ไผ่เฮียะ (C.Virgatum) 

สกุล : Cephalastachyum

– ลักษณะ : มีลำต้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร, ข้อเรียบ มีกิ่งก้านเล็กน้อย, เนื้อหนา 1-2 เซนติเมตร, ลำต้นสูงประมาณ 10-18 เมตร, ปล้องยาวขนาด 50-70 เซนติเมตร

– พบได้บริเวณ : มีทางภาคเหนือ

– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : ลำต้นสามารถใช้ทำโครงสร้างอาคาร เช่น เสา โครงหลังคา คาน

  1. ไผ่รวก (T. siamensis) สกุล : Thyrsostachys

– ลักษณะ : มีลำต้นที่เล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.7 เซนติเมตร, สูงประมาณ 5-10 เมตร, ไผ่ประเภทนี้มีลักษณะเป็นกอ

– พบได้บริเวณ : มีมากทางจังหวัดกาญจนบุรี

– คุณสมบัติที่นำไปใช้ประโยชน์ : นำลำต้นมาใช้ทำรั้วและสามารถทำเยื่อกระดาษได้

ขนาดของไผ่เเต่ละชนิด 

ลำขนาดใหญ่ ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้วขึ้นไป )

  • ไผ่ซางหม่น สายพันธุ์ต่างๆ
  • ไผ่ยักษ์น่าน
  • ไผ่โปก
  • ไผ่ตงยักษ์ ( ไผ่ตงหม้อ )
  • ไผ่มันหมู
  • ไผ่เก้าดาว

ลำขนาดกลาง ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 นิ้ว )

  • ไผ่ซางหม่น “นวลราชินี”
  • ไผ่บงใหญ่
  • ไผ่สร้างไพรดำ หรือไผ่สร้างไพรใหญ่
  • ไผ่ซางนวล

ลำขนาดเล็ก ( เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 นิ้ว )

  • ไผ่รวกดำ
  • ไผ่เลี้ยงใหญ่
  • ไผ่หางช้าง
  • ไผ่ลำมะลอก ลำ3 นิ้ว ยึดตลิ่งได้ดี มอดไม่กิน
  • ไผ่ด้ามขวาน
  • ไผ่รวก กาญจนบุรี

ขั้นตอนการเตรียมไม้ไผ่สร้างอาคาร

จุดอ่อนของไม้ไผ่ คือ มักเสียหายจากการถูกมอดและแมลงกินเนื้อไม้ เนื้อไม้มีการยืดและหดตัวมาก จึงไม่ควรใช้ไม้ไผ่สดในการก่อสร้าง ควรใช้ไม้ไผ่ที่ผ่านการทรีตเม้นต์มาแล้วเท่านั้น โดยหลักการทรีตเม้นต์ คือ การทำให้สารประกอบในเนื้อไม้ที่เป็นแป้งและน้ำตาลเปลี่ยนสภาพไม่เป็นอาหารของมอดและแมลง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • วิธีธรรมชาติแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ การนำไม้ไผ่แช่ในน้ำไหลเพื่อชะล้างแป้งออก หรือการนำไปแช่ในน้ำนิ่งหรือแช่โคลนเพื่อให้แป้งบูดจนมอดไม่กิน
  • ชาวเขาที่เชียงรายใช้กำมะถัน โดยการนึ่ง การต้ม หรือการเผาไฟ
  • เกษตรกรบางกลุ่มที่ปลูกไผ่ใช้วิธีต้มไม้ไผ่ในน้ำส้มควันไม้ผสมเกลือ

สำหรับการทรีตเม้นต์ที่ใช้แพร่หลายทั้งในยุโรป อินโดนีเซีย และไทยในปัจจุบัน ซึ่งเหมาะกับการทำงานปริมาณมาก และได้ผลดี คือ การแช่ในสารละลายโบรอน (Boron) ซึ่งเป็นสารบอแรกซ์ (Borax) ผสมกับสารบอริค แอสิด (Boric Acid) เป็นการทรีตเม้นต์แบบเคมีที่ปลอดภัยไม่เป็นพิษกับคนและสิ่งแวดล้อม โดยมีขั้นตอนการทำดังนี้

วิธีทำไผ่ก่อนทำมาใช้งาน

        1. เจาะทะลุทุกลำปล้องด้วยสว่าน เพื่อให้น้ำยาไหลเข้าไปทั่วถึง

2. ผสมสารละลายโบรอนอัตราส่วน 5 – 7เปอร์เซ็นต์ กับน้ำ แล้วแช่ไม้ไผ่นาน 7-10 วัน โดยถ่วงให้ไม้จมในน้ำยาตลอดทั้งลำ กรณีไม้ยาว 6 เมตร ควรทำบ่อยาว 7-8 เมตร ลึก 2 – 2.50 เมตร แนะนำให้ทำเป็นระบบปิดเพื่อควบคุมกลิ่นและปริมาณน้ำในบ่อ

3. นำไม้ไผ่ขึ้นและระบายของเหลวออก

4. ทำความสะอาดด้วยเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง

5. นำไม้ไผ่ขึ้นมาตากแดดให้แห้งสนิท ดีที่สุดคือตากในโรงเรือนที่มีหลังคาใส มีลมพัดผ่านตลอด และไม่วางกองทับกัน อาจวางแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้ ซึ่งแนวตั้งจะประหยัดพื้นที่มากกว่า ระยะเวลาในการตากขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ โดยสังเกตจากสีเนื้อไม้ให้เหลืองทั้งลำ ถ้ายังมีเขียวบ้าง เหลืองบ้าง หรือมีแถบน้ำตาล แปลว่ายังความชื้นอยู่ (จากสีเขียวจะกลายเป็นสีน้ำตาลแล้วเป็นสีเหลืองตามลำดับ ถ้ากลายเป็นสีซีดออกเทาๆ ไม้จะไม่สวยเพราะดูเก่าเกินไป)

6. เมื่อแห้งสนิทแล้วให้เก็บเข้าโรงเก็บไม้ โดยทำโรงเรือนแบบเปิดมีหลังคาและมีลมผ่านได้ อาจกั้นโดยรอบด้วยซาแลน ไม่ควรทำโรงเรือนแบบปิดทึบ เพราะจะเกิดเชื้อราได้ง่าย พร้อมทำชั้นเก็บไม้เป็นช่องๆ แยกตามประเภท และไม่วางซ้อนกันมากเกินไป

ไม้ไผ่ในงานก่อสร้าง

ไม้ไผ่แต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถนำมาใช้งานได้ทุกชนิด โดยเลือกให้เหมาะกับประเภทการใช้งาน สำหรับการใช้ในเชิงอุตสาหกรรมจะใช้ไผ่ที่มีการปลูกเป็นไร่สำหรับตัดขาย เพราะสามารถสั่งซื้อจำนวนมากได้ มีลำสวยงามกว่าไผ่ตามธรรมชาติ สามารถแบ่งตามการใช้งานได้ 3 ประเภท คือ ไม้ไผ่สำหรับโครงสร้าง ไม้ไผ่สำหรับงานตกแต่ง และไม้ไผ่สำหรับงานหัตถกรรม โดยเลือกใช้ตามความหนาของเนื้อไม้ เช่น ไม้ไผ่หนึ่งลำยาว 12 เมตร ส่วนโคน 6 เมตร ใช้ทำโครงสร้างได้ ส่วนปลายจะมีเนื้อบางกว่าก็นำมาทำงานตกแต่ง หรือไผ่เฮียะซึ่งมีเนื้อไม้บางก็เหมาะกับงานหัตถกรรม โดยเตรียมไม้ไผ่ให้มีความยาวมาตรฐาน 1.50 เมตร  3 เมตร  และ 6 เมตร เพื่อความสะดวกในการนำไปใช้งาน และเป็นความยาวที่สามารถขนส่งด้วยรถบรรทุกได้

ไม้ไผ่สามารถทำการรักษาเนื้อไม้ได้ 2 วิธี คือ

  1. ป้องกันความชื้นเข้าเนื้อไม้ ความชื้นสามารถเข้า-ออกได้ทางหน้าตัดไม้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีผลให้ไม้มีการยืดหดตัวและเป็นต้นเหตุให้เกิดเชื้อราในปล้องได้ การปิดหน้าตัดไม้ด้วยวัสดุปิดผิวที่กันความชื้นได้ เช่น การทาวัสดุประเภทยางมะตอย เช่น ฟลินท์โค้ท หรือมีตัวอย่างที่บาหลีใช้ปูนเกราต์ฉาบหัวไม้ทุกลำซึ่งเป็นวิธีที่ดี แต่ก็ใช้เวลามากและทำให้งบประมาณสูงขึ้น
  2. การเคลือบผิว ผิวไม้ไผ่ส่วนมากจะมีผิวมันเงา มีการดูดซึมต่ำ จึงมักทาด้วยผลิตภัณฑ์รักษาเนื้อไม้ต่างๆ ไม่ติด หรือลอกในเวลาไม่นาน หากต้องการเคลือบลำไม้ไผ่ควรลอกผิวไม้ออกก่อน หรือใช้กับไม้ไผ่แปรรูปได้ เช่น แผ่นไม้อัดไม้ไผ่ คำแนะนำของคุณตั๊บคือ ถ้าเป็นไม้ไผ่ที่อยู่นอกชายคาโดนแดดและฝนตลอด แนะนำให้ปล่อยไปตามธรรมชาติ แล้วเปลี่ยนเมื่อไม้เริ่มเสื่อมสภาพ ส่วนไม้ไผ่ที่อยู่ในชายคาสามารถเคลือบผิวด้วยพอลิยูรีเทนทั้งแบบใสและแบบด้านได้ เพื่อช่วยให้ผิวไม้มันเงาและดูใหม่เสมอ

ข้อควรพิจารณาก่อนเลือกใช้ไม้ไผ่สร้างอาคาร

ไม้ไผ่ไม่ได้เหมาะกับการสร้างบ้านหรืออาคารทุกประเภท ดังนั้นถ้าใครอยากใช้ไม้ไผ่ควรดูข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจ

  • สำหรับเจ้าของอาคารที่จะเลือกใช้ไม้ไผ่ ควรเริ่มจากความชอบและเข้าใจธรรมชาติของวัสดุที่มีความอ่อนและแอ่นตัว มีการแตกได้ อาจเกิดเชื้อราซึ่งสามารถเช็ดออกหรือถ้าอากาศแห้งก็อาจหายไปเองได้ และต้องมีการเปลี่ยนเมื่อถึงเวลา หากยังไม่แน่ใจเรื่องเหล่านี้ควรเลือกใช้วัสดุประเภทอื่นแทน
  • ในบ้านเรายังไม่มีวิศวกรที่ชำนาญเรื่องไม้ไผ่ ผู้ออกแบบจึงอาจใช้วิธีชั่งน้ำหนักไม้ไผ่ให้วิศวกร เพื่อให้สามารถคำนวณโครงสร้างได้ อีกทั้งการขออนุญาตก่อสร้างอาคารที่ใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างหลักยังไม่สามารถทำได้ หากยังไม่พร้อมแนะนำให้ก่อสร้างโครงสร้างหลักด้วยคอนกรีตหรือเหล็กตามปกติ แล้วใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างรองและส่วนตกแต่งแทนจะดีกว่า

หลังจากนำ “ไม้ไผ่” มาใช้ในเป็นองค์ประกอบต่างๆในการสร้างบ้านแล้ว เพื่อช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น จึงควรรู้จักดูแลรักษาไม้ไผ่อย่างถูกวิธี...โดยหนังสือ BAMBOO WORLD ได้อธิบายไว้ว่า...

1. ไม้ไผ่ที่จะนำมาใช้งาน ต้องเป็นไผ่ที่เจริญเติบโตเต็มที่ อายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป เพราะไผ่อ่อนมักจะสะสมแป้งและความชื้นไว้ในเนื้อ เพื่อเตรียมแตกหน่อ อีกทั้งไผ่อ่อนยังเป็นที่ชื่นชอบของ มอด ที่พร้อมมาเจาะกินไผ่ในช่วงระยะดังกล่าวนี้

2. ควรเลือกตัดไม้ไผ่ในฤดูแล้ง จะทำให้ทนทานต่อแมลงได้มากกว่าฤดูกาลอื่น ส่วนใครที่จะนำไผ่ไปใช้งานOUTDOOR ควรใช้วิธีการอัดน้ำยารักษาเนื้อไม้เพื่อให้ไม้ไผ่ทนทานต่อการใช้งานท่ามกลางแดด ฝน และลมมากขึ้น

อีกหนึ่งวิธีการดูแลรักษาไม้ไผ่ด้วยวิธีการธรรมชาติจากหนังสือ “ไม้ไผ่ สำหรับคนรักไผ่” ของสุทัศน์ เดชวิสิทธิ์ ได้กล่าวไว้ว่า....

หลักการสำคัญของการถนอมไม้ไผ่ให้ใช้ได้นาน คือ การทำลายสารบางอย่างที่มีอยู่ในเนื้อไผ่ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของแมลง เช่น จำพวกแป้งและน้ำตาล ให้หมดไป ทำได้โดย

1. การนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำ โดยสามารถแช่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล เป็นเวลา 3 วันถึง 3 เดือน

2. การใช้ความร้อน หรือสกัดน้ำมันจากไม้ไผ่ออกไป เพื่อทำลายแหล่งอาหารของแมลงในเนื้อไผ่ โดยทำได้ 2 วิธีคือ นำไผ่ไปต้มและปิ้งไฟ

ซึ่ง   - การต้ม จะทำให้เนื้อไม้นุ่ม

- การปิ้ง จะทำให้เนื้อไม้แข็งแรงและแข็งแกร่งมากขึ้น

สำหรับวิธีป้องกันมอดกินไม้ มีวิธีที่ใช้สืบทอดกันตั้งแต่โบราณ คือ นำไม้ไผ่ทั้งลำลงแช่ในน้ำประมาณ5-7 วัน จนเริ่มมีกลิ่นเหม็นเน่า จากนั้นให้นำขึ้นไปผึ่งแดดหรือตากลม อีก5-7 วัน (เพื่อให้ไม้ไผ่หายเหม็น) แล้วค่อยนำไม้มาใช้งานต่อ...วิธีนี้จะช่วยทำให้มอดหรือแมลงไม่มากินและกล้าเข้าใกล้อีกเลย ที่สำคัญยังเป็นวิธีธรรมชาติที่ปลอดภัยจากสารเคมี 100 % นอกจากนี้ยังมีอีกมีหนึ่งวิธี ก็คือ การนำต้นไผ่ลนไฟให้ความร้อน จนเยื้อในลำไผ่สุก จากนั้นให้ทำการทาด้วยสารเคมีเคลือบผิวไผ่เป็นการไล่มอดไม่ให้เข้าใกล้ได้อีกทาง

ข้อดีของการสร้างบ้านไม้ไผ่

1. ราคาถูก บ้านไม้ไผ่มีต้นทุนในการก่อสร้างถูกกว่าบ้านไม้อิฐหรือคอนกรีตทั่วไป แต่มีข้อจำกัดอยู่ที่ความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัย อย่างไรก็ตามถ้าเลือกไม้ไผ่ที่มีเนื้อแข็งหนา ก็สามารถต่ออายุการใช้งานของบ้านได้หลายสิบปีเลยทีเดียว

สำหรับราคาไผ่ ขึ้นอยู่กับความนิยมและชนิดของไผ่ จึงมีราคาแตกต่างกันไป แต่ชาวชนบทส่วนใหญ่มักปลูกและนำมาใช้งาน เพราะประโยชน์ที่หลากหลายทั้งใช้สร้างบ้าน และนำไปประกอบอาหารได้อีกด้วย

2. บ้านปลอดโปร่ง ไม่ร้อน ไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติ ช่วยดูดซับความร้อน ทำให้ภายในบ้านมีอากาศเย็นและถ่ายเท บางบ้านมีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็นรั่วเพื่อกันแดดนอกจากจะให้ความร่มรื่นยังสามารถป้องกันแสงแดดกระทบตัวบ้านได้อย่างดีเยี่ยม

3. ทำเฟอร์นิเจอร์ หลังจากสร้างบ้านเสร็จ หากมีไม้ไผ่เหลือ ก็สามารถนำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ เก้าอี้ บันได รั่วบ้าน เป็นต้น

4.ไผ่มีประโยชน์และใช้งานได้เยอะไม้ไผ่เป็นไม้ตระกูลหญ้าที่ไม่จำเป็นต้องดูแลรักษามากจึงสามารถปลูกไผ่ไว้สร้างบ้านเองได้ อาศัยระยะเวลาอย่างน้อยประมาณ 3 ปี จะเริ่มขึ้นหน่อกลายเป็นลำต้นที่แข็งแรงและยังนำหน่อไปประกอบอาหารได้อีกด้วย

ตัวอย่างการสร้างบ้านไม้ไผ่ตามนี้คะ

เริ่มจาก

วิธีการสร้างหลังคาจากไม้ไผ่  เราสามารถผ่าครึ่งของลำต้นไผ่ จากนั้นนำมาประกอบกันโดยใช้วิธีคว่ำ หงาย สลับไปเรื่อยๆ จนสุดโครงสร้าง และเพื่อให้ไม้ไผ่มีความทนทาน มันวาว ควรนำไม้ไผ่ไปแช่น้ำเกลือกันปลวกกิน และเอาแลกเกอร์ทาเคลือบดูสวยงาม ทั้งยังช่วยกันแดดกันฝนได้เป็นอย่างดี

มาดูในส่วนของการประกอบหรือยึดไม้ไผ่เข้ากันบ้างค่ะ วิธีนี้สามารถนำไปใช้กับผนัง ประตู หน้าต่าง รวมไปถึงคาน มีทั้งแบบผูกเชือกและแบบเจาะแล้วใช้น๊อตยึดให้แน่น

ตัวอย่างบ้านไผ่สำเร็จรูป

 ขอบคุณที่รับชมคะ 

โพสท์โดย: chirapha
อ้างอิงจาก: https://farm.vayo.co.th
https://www.hrdi.or.th
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
chirapha's profile


โพสท์โดย: chirapha
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: มู๋มี่ บู้บี้ บ๋อมแบ๋ม
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
30 แคปชั่นต้อนรับเดือนพฤษภาคม 2567 ความหมายดี สวัสดีเดือนพฤษภา hello mayสะเพร่าแท้!! หนุ่มนัดกิ๊กสาวเข้าโรงแรม เจอเมียตามตบถึงที่เพราะดันใช้ชื่อเมียจองโรงแรมเจ้าของสวนโพสต์ "ทุเรียนเป็นฮีทสโตก"..เหตุเพราะอากาศร้อนภาพปริศนากุมารสร้างบุญ 2พ.ค.67บังคลาเทศเผชิญคลื่นความร้อนที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์เจ้าเหมียวส้มตัวแสบ..ชอบแอบมานั่งเล่นราวบันไดเลื่อนอยู่บ่อยๆแนะนำซีรีย์ฮิต 5 เรื่องของ “คิมซูฮยอน” ไม่ดูไม่ได้แล้วบ่อน้ำโบราณในวัดโพธิ์เฝ้าระวัง!!! แพทย์ออกมาเตือน โรคปอดอักเสบระบาดหนักติดกันทุกวัย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชาวบ้านพบสัตว์แปลกในญี่ปุ่นหลุดมาอีกแล้ว AI บอกครบทั้ง6ตัว งวด 2 พฤษภาคม 2567แนะนำซีรีย์ฮิต 5 เรื่องของ “คิมซูฮยอน” ไม่ดูไม่ได้แล้วอยากสิวหายไว ไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้
กระทู้อื่นๆในบอร์ด บ้าน คอนโด ที่ดิน
ห้องชุดราคาแพงที่สุดในประเทศไทยไอเดียแต่งสวนข้างบ้านรู้จักกับ บ้านดิน คืออะไร?8 เทคนิคเลือกบ้าน ช่วยให้อยู่แล้วไม่ร้อน
ตั้งกระทู้ใหม่