ปลาแสงอาทิตย์ มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
ปลาแสงอาทิตย์ หรือ โมลา โมลา
เป็นปลาที่มีรูปร่างประหลาด เนื่องจากมีรูปร่างเป็นทรงกลม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่จนดูคล้ายมีแต่เพียงหัวอย่างเดียว ขณะที่ส่วนครีบต่าง ๆ ถูกหดสั้นลง โดยส่วนครีบหลังมีขนาดใหญ่ตั้งยาวขึ้นไปข้างบน แลดูคล้ายครีบปลาฉลามยามเมื่ออยู่ผิวน้ำ
ปลาแสงอาทิตย์ สามารถพบได้ในทะเลเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก เราจะพบเจอปลาแสงอาทิตย์ได้ในความลึกถึง 400 เมตร และบางครั้งอาจรวมฝูงกันหลายสิบตัว ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว โดยกินแต่เพียงแมงกะพรุนเป็นอาหารและสาหร่ายทะเล แต่บางครั้งจะว่ายขึ้นมาบริเวณผิวน้ำเพื่อให้ปลาขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ มาเกาะกัดเป็นปรสิตที่ติดตามตัว
ชื่อของปลาแสงอาทิตย์ ได้มาจากนิสัยของมันที่ชอบขึ้นมาลอยอาบแดดรับแสงอาทิตย์ที่ผิวน้ำทะเล จนบางครั้งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นฉลามและโดนทำร้าย เพราะครีบหลังขนาดใหญ่ที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำที่ชอบขึ้นมาลอยตะแคงตัวที่ผิวน้ำ ก็เพื่อให้ปลาตัวเล็กหรือนกบางชนิดมาคอยกินปรสิตที่มาคอยกัดติดอยู่ตามตัว และสามารถกระโดดสะบัดตัวเหนือน้ำได้สูงถึง 10 ฟุต เพื่อสลัดปรสิตให้หลุดออก แต่บางครั้งก็ทำให้มันน็อกน้ำ มันไม่เป็นอันตรายต่อผู้คน แถมยังเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นมาก มักจะว่ายเข้าหานักดำน้ำ
นอกจากนี้แล้วยังจัดเป็นปลาที่วางไข่ได้มากที่สุดในโลก คือ ประมาณ 300 ล้านฟอง โดยไข่จะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ โดยที่พ่อแม่ปลาจะไม่ดูแล ซึ่งจะเหลือรอดและโตมาจนเป็นปลาที่มีขนาดสมบูรณ์ มีเพียงไม่กี่ตัว ปลาแสงอาทิตย์นั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ประชากรที่รอดชีวิตพวกของพวกมันตามธรรมชาติมีน้อยมาก อีกทั้งยังมักถูกจับติดไปกับอวน และสำลักขยะทะล โดยเฉพาะถุงพลาติกที่เหมือนแมงกะพรุน