ดาวเคราะห์ใน ระบบสุริยะ
ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะมีทั้งหมด 8 ดวง เรียงตั้งแต่ดวงที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดจนถึงไกลที่สุด คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นดาวฤกษ์ซึ่งมีมวลร้อยละ 99 ของระบบสุริยะ มวลมหาศาลทำให้อวกาศบิดโค้งเกิดเป็นศูนย์กลางของแรงโน้มถ่วง โดยมีดาวเคราะห์และบริวารทั้งหลายโคจรล้อมรอบ ดวงอาทิตย์มีองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรเจนซึ่งอยู่ในสถานะพลาสมา
ดาวเคราะห์ (Planets) คือบริวารขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ 8 ดวง เรียงลำดับจากใกล้ไปไกล ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
- ดาวพุธ เป็นดาวเคราะห์หินที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดและมีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ 88 วัน และหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 646 วัน ดาวพุธไม่มดาวีบริวาร เนื่องจากดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เราจึงเรียกดาวพุธอีกอย่างหนึ่งว่า “เตาไฟแช่แข็ง”
- ดาวศุกร์ เป็นดาวเคราะห์หิน ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์จะเป็นดาวที่ปรากฏแสงสว่างมากที่สุดในท้องฟ้า ถ้าปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าตอนหัวคํ่า เรียกว่า “ดาวประจำเมือง” และ ถ้าปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าในตอนเช้ามืด เรียกว่า “ดาวประกายพรึก” ดาวศุกร์ไม่มีดาวบริวารและ ดาวศุกร์ ได้ชื่อว่าเป็น “ดาวฝาแฝดกับโลก” ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 243 วัน และโคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 7 วัน
- โลก เป็นดาวเคราะห์หินที่อยู่ห่างจากจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 3 เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีชีวิตอาศัยอยู่ เท่าที่ทราบในปัจจุบันมีดาวบริวาร 1 ดวง นั่นคือ “ดวงจันทร์” นั่นเอง ใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 24 ชั่วโมง และโคจรรอบ ดวงอาทิตย์ประมาณ 365 วัน
- ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์หินที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 687 วัน และหมุนรอบตัวเองในเวลา 623 ชั่วโมง มีดาวบริวาร 2 ดวง เราเรียกดาวอังคารอีกอย่างหนึ่งว่า “ดาวเคราะห์สีแดง” หรือ “ดาวเทพแห่งสงคราม”
- ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์แก๊สที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณ 11 เท่า อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 หมุนรอบตัว เองเป็นเวลา 925 ชั่วโมง เร็วกว่าดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลาประมาณ 12 ปี ดาวพฤหัสบดีเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ดาวยักษ์” มีดาวบริวารประมาณ 79 ดวง
- ดาวเสาร์ เป็นดาวเคราะห์แก็สที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 6 ดาวเสาร์มีวงแหวนขนาดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยก้อนหินที่มีนํ้าแข็งปะปนโคจรอยู่โดยรอบ ดาวเสาร์หมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 42 ชั่วโมง มีดาวบริวาง 82 ดวง เช่น ไททัน ไมมัส รีอา ทีทิส เป็นต้น และ โคจรจรรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลาประมาณ 29 ปี
- ดาวยูเรนัส หรือ ดาวมฤตยู เป็นดาวเคราะห์แก็สที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลา 84 ปี หมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 24 ชั่วโมง มีดาวบริวาร 27 ดวง มีฉายาว่า เทพเจ้าแห่งความงาม
- ดาวเนปจูน หรือ ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์แก๊สที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 8 โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นเวลาประมาณ 165 ปี หมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 06 ชั่วโมง มีดาวบริวารประมาณ 14 ดวง มีฉายาว่า เทพเจ้าแห่งท้องทะเลโรมัน หรือ ดาวสมุทร
ดาวเคราะห์ทั้งแปดโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยมีระนาบใกล้เคียงกับระนาบสุริยวิถี ดาวเคราะห์ชั้นใน 4 ดวง มีองค์ประกอบหลักเป็นของแข็ง ดาวเคราะห์ชั้นนอก 4 ดวง มีองค์ประกอบหลักเป็นแก๊สไฮโดรเจนเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์เกือบทุกดวงหมุนรอบตัวเอง และโคจรรอบดวงอาทิตย์ในทิศทางเดียวกัน ถ้าใช้ระยะห่างจากดาวเคราะห์ถึงดวงอาทิตย์เป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ดาวเคราะห์ชั้นใน เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร
2. ดาวเคราะห์ชั้นนอก เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
ดวงจันทร์บริวาร (Moons) หมายถึง ดาวที่เป็นบริวารโคจรรอบดาวเคราะห์อีกทีหนึ่ง มิได้โคจรรอบดวงอาทิตย์โดยตรง โลกมีบริวารชื่อ ดวงจันทร์ (The Moon) โคจรล้อมรอบ ขณะที่ดาวเคราะห์ดวงอื่นก็มีดวงจันทร์บริวารโคจรล้อมรอบเช่นกัน
ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf planets) เป็นวัตถุขนาดเล็กที่มีรูปร่างคล้ายทรงกลมที่มีวงโคจรเป็นวงรอบดวงอาทิตย์ ซ้อนทับกับดาวเคราะห์ดวงอื่น และไม่อยู่ในระนาบของสุริยวิถี ยกตัวอย่างเช่น ดาวพลูโตถูกจัดเป็นดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายทรงกลม มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ซ้อนทับกับวงโคจรของดาวเนปจูน ดาวเคราะห์น้อยซีรีส ถูกจัดเป็นดาวเคราะห์แคระ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายทรงกลม มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ซ้อนทับกับวัตถุอื่นๆ ที่อยู่ในแถบเข็มขัดดาวเคราะห์น้อย
ดาวเคราะห์น้อย (Asterois) คือ ของแข็งขนาดต่างๆ มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่หลายเมตร ถึงหลายร้อยกิโลเมตรจำนวนมาก ที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคาร กับดาวพฤหัสบดี
ดาวหาง (Comets) เป็นวัตถุขนาดเล็กเช่นเดียวกับดาวเคราะห์น้อย แต่มีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีแคบ และทำมุมเอียงตัดกับระนาบของสุริยวิถีเป็นมุมสูง ดาวหางมีองค์ประกอบเป็นน้ำแข็ง (Ice water) และแก๊สในสถานะของแข็ง เมื่อดาวหางเคลื่อนที่เข้าหาดวงอาทิตย์ พลังงานจากดวงอาทิตย์ทำให้ธาตุของดาวหางระเหิดกลายเป็นแก๊ส ลมสุริยะเป่าให้แก๊สเหล่านี้พุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ปรากฏเป็นหางยาวหลายล้านกิโลเมตร
ดาวตก (Meteor) คือ สะเก็ดดาวที่พุ่งเข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศของโลก เมื่อเสียดสีกับอนุภาคในชั้นบรรยากาศจะเกิดความร้อนและลุกไหม้จนเกิดแสงสว่างขึ้นมา เราเห็นดาวตกปรากฏเป็นแสงสว่างพุ่งวาบไปบนท้องฟ้าเพียงไม่กี่วินาทีก่อนจะดับ
อุกกาบาต (Meteorite) คือ ดาวตกที่ถูกเผาไหม้ไปไม่หมด เหลือหินหรือโลหะบางส่วนตกลงมายังพื้นโลก