อารยธรรมกรีก
“กรีก” เป็นชื่ออู่อารยธรรมที่สำคัญที่สุดในโลกตะวันตก เพราะเป็นรากเหง้าของความคิด และวิทยาการที่เจริญต่อมาจนถึงทุกวันนี้ แต่ “กรีก” เป็นคำที่ชาวโรมันเรียก ส่วนชาวกรีกจะเรียกตัวเองว่า “เฮลลีน” (Hellene) และเรียกดินแดนของตัวเองว่า “เฮลลาส” (Hellas)
อารยธรรมกรีก เป็นผลรวมของอารยธรรมของอินโดยูโรเปียนเผ่าต่างๆ เช่น ไอโอเนียน ไมซีเนียน ดอเรียน ที่ครอบครองพื้นที่รอบๆ บริเวณทะเล “อีเจียน” (Aegean Sea) ตั้งแต่สองพันปีก่อนคริสตกาล จนกระทั่งถูกกลืนเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน โดยภูมิประเทศส่วนใหญ่ เป็นภูเขา และเกาะ ชาวกรีกจึงถนัดในการเดินเรือ ทั้งในการประมง การติดต่อค้าขาย และการเดินทัพเพื่อทำสงคราม แต่ไม่โดดเด่นเรื่องการเพาะปลูก เพราะที่ราบลุ่มมีน้อย และด้วยเหตุนี้ กรีกจึงมีลักษณะการปกครองแบบนครรัฐ รัฐต่างๆ เป็นอิสระต่อกัน ต่างจากอียิปต์ที่ลักษณะภูมิประเทศเอื้อให้มีการรวมศูนย์อำนาจได้ง่ายกว่า
แต่การที่นครรัฐต่างๆ ของกรีกไม่ได้รวมตัวเป็นจักรวรรดิใหญ่อย่างอียิปต์ หรือบาบิโลน ก็ไม่ได้ทำให้การพัฒนาอารยธรรม หรือวิทยาการของกรีกด้อยไปกว่าทั้งสองจักรวรรดิ เพราะกรีกได้เปรียบจากการเดินเรือติดต่อค้าขายกับดินแดนต่างๆ ทำให้ชาวกรีกมีโลกทัศน์กว้างกว่าชนชาติอื่นในเวลานั้น
การได้เห็นโลกมากกว่า พบประสบการณ์แปลกใหม่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการพัฒนาความคิดทั้งการวิเคราะห์เปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้างวิทยาการ และองค์ความรู้ใหม่ๆ และเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการลอกเลียน และต่อยอดความรู้ของชนชาติอื่น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้กรีกสามารถพัฒนาระบบความคิดได้อย่างโดดเด่น จนกลายเป็นแม่แบบของความคิดในโลกตะวันตกจนปัจจุบัน
ก่อนอารยธรรมกรีกจะเริ่มขึ้นนั้น มีอารยธรรมของ “ไมโนน” (Minoan) ที่ได้ก่อร่างขึ้นที่ “เกาะครีต” อยู่ก่อน จนต่อมาเผ่าอินโดยูโรเปียนพวก “เอเคียน” (Achaean) หรือชื่อใหม่คือ “ไมซีเนียน” (Mycenaean) จากแผ่นดินใหญ่เข้ามาแทนที่ (1400-1200 B.C.) จนกระทั่งไมซีเนียนถูกพวก “ดอเรียน” (Dorian) เข้ารุกราน จนอารยธรรมไมซีเนียนสิ้นสุดลง (1100 B.C.) จึงเริ่มเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคมืด
ความสำคัญของอารยธรรมกรีก:
อารยธรรมกรีกเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่มีผลกระทบใหญ่ในการสร้างพื้นฐานของวิทยาการ, ความคิดปรัชญา, วรรณคดี, ศิลปะ, และกิจกรรมอื่นๆ ในโลกตะวันตก. นี่คือการอธิบายแบบละเอียดเกี่ยวกับคุณค่าและผลกระทบของอารยธรรมกรีก:
-
วรรณคดีและนวนิยาย: กรีกเป็นแหล่งกำเนิดของนวนิยายและวรรณคดีสำคัญ เช่น งานของโฮเมอร์, ฮีโร่เอพิค, และตลอดไป ซึ่งมีผลกระทบในการสร้างแนวคิด, มาตรฐานความสวยงาม, และความเชื่อในชาติพันธุ์.
-
ปรัชญา: กรีกเป็นสถานกำเนิดของปรัชญาตะวันตก ซึ่งเติบโตขึ้นเป็นระบบคิดเชิงปรัชญาที่ให้กำลังในการตอบคำถามเกี่ยวกับความเป็น, ความรู้, จริยธรรม, และความเป็นมา.
-
ศิลปะและสถาปัตยกรรม: สถาปัตยกรรมกรีกมีลักษณะเด่นที่ความเป็นคลาสสิกและความสมดุล เขาใช้รูปลักษณ์เชิงเทียมและรูปแบบองค์ประกอบเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่ยังคงไว้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับศิลปะตะวันตกสมัยหลัง.
-
วิทยาการและความรู้: คนกรีกเคยมีความสนใจในการเข้าใจโลกและสิ่งต่างๆ รอบตัว พวกเขามีกระแสความคิดที่เน้นการสืบค้นความรู้และเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาวิทยาการ.
-
ดาวเคราะห์และคณิตศาสตร์: คนกรีกเริ่มพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับดาวเคราะห์และคณิตศาสตร์ ซึ่งได้มีผลกระทบในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ของยุคต่อมา.
-
วัฒนธรรมประจำชาติ: อารยธรรมกรีกมีผลกระทบในวัฒนธรรมประจำชาติของสถาบันอื่น ๆ ในยุคทั้งในด้านภาษา, นิยม, และการปฏิบัติ.
-
สัญลักษณ์และเครื่องหมาย: หลายสัญลักษณ์และเครื่องหมายในวัฒนธรรมตะวันตกมีต้นกำเนิดจากอารยธรรมกรีก เช่น กิ้งก่า, ผลักดัน, และเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์.
ยุคมืดนี้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์น้อยมาก แต่มีเรื่องราวการรบพุ่งของวีรบุรุษชาวกรีก กับกรุงทอย ปรากฏอยู่ในมหากาพย์ “อีเลียด” (Iliad) และ “โอดิสซี” (Odyssey) บทประพันธ์ของมหากวีเอก “โฮเมอร์” (Homer) จึงเรียกชื่อยุคนี้ได้อีกอย่างหนึ่งว่า ยุคโฮเมอร์ มหากาพย์ทั้ง 2 เรื่องนี้ได้รับการบอกเล่าแบบปากต่อปาก จนกระทั่งกรีกมีตัวอักษรใช้ จึงได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง (750-700 B.C.)
อารยธรรมกรีกแบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา คือ “อารยธรรมเฮลเลนิก” (Hellenic Civilization, 750-336 B.C.) และ “อารยธรรมเฮลเลนิสติก” (Hellenistic Civilization, 336-31 B.C.) โดยช่วงอารยธรรมเฮลเลนิก หรือยุคคลาสสิก (Classical Age) ได้เกิดนครรัฐกรีกที่สำคัญคือ “เอเธนส์” (Athens) และ “สปาร์ตา” (Sparta)
เอเธนส์มีการปกครองแบบประชาธิปไตย พลเมืองมีความคิดก้าวหน้า มีเสรีภาพ เป็นบ้านเกิดของอารยธรรมทางความคิดของกรีก ส่วนสปาร์ตาปกครองแบบคณาธิปไตย เป็นรัฐเผด็จการทหาร ชาวสปาร์ตามีวินัยมาก มีความสามารถในการรบ ต่อมาจักรวรรดิเปอร์เซียได้ขยายอำนาจเข้ามาในเอเชียไมเนอร์ จนนำไปสู่สงครามกับเอเธนส์ (497 B.C.) แต่ผลของการรบเอเธนส์เป็นฝ่ายกำชัยชนะ (479 B.C.)
ภายหลังสงคราม นครรัฐต่างๆ ของกรีกได้รวมกันจัดตั้งสหพันธรัฐแห่งเกาะเดลอส เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกองทัพเปอร์เซีย โดยมีเอเธนส์เป็นหัวเรือใหญ่ ทว่าสหพันธรัฐเดลอสมีทีท่าว่าจะกลายเป็นจักรวรรดิเอเธนส์ สปาร์ตาจึงเปิดศึกกับเอเธนส์ และได้ชัยชนะ แต่สปาร์ตามีอำนาจเหนือเอเธนส์เพียงไม่นาน ก็ถูกเอเธนส์และนคร “ธีบีส” โจมตีจนพ่ายแพ้ (371-362 B.C.) ก่อนที่ “พระเจ้าฟิลลิปที่ 2” (Phillip II) แห่ง “มาเซโดเนีย” (Macedonia) จะยึดครองนครรัฐกรีกไว้ได้ทั้งหมด (338 B.C.)
หลังจากเมเซโดเนียปกครองกรีกทั้งปวงแล้ว อารยธรรมกรีกก็นับว่าเข้าสู่ยุคเฮลเลนิสติก “พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช” (Alexander the Great) โอรสของพระเจ้าฟิลิปที่ 2 ได้กรีฑาทัพไปปลดแอกหัวเมืองกรีกในเอเชียไมเนอร์ ที่ถูกเปอร์เซียยึดครองไว้ก่อนหน้า แล้วเคลื่อนทัพบุกยึดดินแดนต่างๆ ทั้ง อียิปต์ เมโสโปเตเมีย จนกระทั่งเอาชนะ “พระเจ้าดาริอัสที่ 3” แห่งจักรวรรดิเปอร์เซียได้อย่างเด็ดขาด
แล้วยังเคลื่อนทัพต่อมาจนกระทั่งถึงลุ่มน้ำ “สินธุ” ของอินเดีย สามารถยึดครองอินเดียทางเหนือได้บางส่วน ก่อนที่ทหารส่วนหนึ่งจะก่อหวอดเนื่องจากคิดถึงบ้าน อเล็กซานเดอร์มหาราชจึงยกทัพกลับ แต่ก็สิ้นพระชนม์ที่กรุงบาบิโลนเสียก่อน (323 B.C.) ด้วยวัยเพียง 33 ชันษา
การที่กรีกสามารถยกทัพข้ามทวีปยึดครองดินแดนได้ค่อนโลกอย่างไม่เคยมีมาก่อน เป็นรองเพียงดินแดนของจักรวรรดิมองโกลในเวลาต่อมาเท่านั้น ทำให้อารยธรรมกรีกได้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ อย่างกว้างขวาง จึงเป็นที่มาของชื่อยุคเฮลเลนนิสติก อย่างไรก็ตาม อารยธรรมเฮลเลนนิสติกก็ถึงกาลสิ้นสุดลง เมื่อตกอยู่ภายใต้อำนาจของจักรวรรดิโรมัน (31 B.C.)
อารยธรรมที่เป็นมรดกตกทอดของกรีกมีดังนี้
- ด้านเกษตรกรรม พืชสำคัญ ได้แก่ มะกอก และองุ่น
- ด้านหัตถกรรม เกิดเครื่องปั้นดินเผากรีกโบราณ
- ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ซุ้มประตูโค้ง เสาหินแบบต่างๆ “ดอริก” “ไอโอนิก” และ “โครินเธียน” หลังคาจั่ว โรงละคร สนามกีฬากลางแจ้ง วิหารเทพเจ้าต่างๆ เช่น “วิหารพาร์เธนอน” (Parthenon) เทวาลัยของเทพี “อธีนา” “เทวรูปซูสแห่งโอลิมเปีย” (Statue of Zeus at Olympia) “วิหารอาร์ทิมิส” (Temple of Artemis at Ephesus) “มหารูปแห่งโรดส์” (Colossus of Rhodes) ในทะเลเอเจียน “ประภาคารฟาโรสแห่งอเล็กซานเดรีย” (Lighthouse of Alexandria) ซึ่ง 4 อย่างหลังเป็น 4 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
- ด้านกีฬา ต้นกำเนิดกีฬา “โอลิมปิก” (Olympic Game, 776 B.C.)
- ด้านศิลปกรรม รูปปั้นเทพเจ้า และวีรบุรุษที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ สมจริง ลายจิตรกรรมบนผนัง และภาชนะ ละคร “สุขนาฏกรรม” (Comedy) และ “โศกนาฏกรรม” (Tragedy)
- ด้านการแพทย์ เกิดบิดาแห่งการแพทย์ “ฮิปโปเครตีส” (Hippocrates)
- ด้านรัฐศาสตร์ กรุงเอเธนส์เป็นต้นแบบระบอบประชาธิปไตย
- ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ กำเนิดทฤษฎีบทของ “ไพธากอรัส” (Pythagoras) เรขาคณิตแบบ “ยูคลิด” (Euclid) และ “อาร์คิมีดีส” (Archimedes)
- ด้านดาราศาสตร์ “เอราทอสธีนีส” (Eratosthenes) คำนวณความยาวรอบโลกได้ และค้นพบว่าการขึ้นลงของระดับผิวน้ำบนโลกขึ้นกับดวงจันทร์
- ด้านวรรณกรรม มหากาพย์ “อีเลียด” และ “โอดิสซี” ของ “โฮเมอร์”
- ด้านอักษรศาสตร์ ประดิษฐ์ตัวอักษรกรีก
- ด้านประวัติศาสตร์ กำเนิดบิดาแห่งวิชาประวัติศาสตร์โลก เฮโรโดตุส (Herodotus) และทูซิดิเดส (Thucydides) ผู้บันทึก “สงครามเพโลโพนีเซียน” (The Peloponnesian War)
- ด้านศาสนา ระบบความเชื่อแบบพหุเทวนิยม เทวปกรณ์กรีก
- ด้านปรัชญา มี “ธาลีส” (Theles) บิดาแห่งปรัชญาตะวันตก ผู้เริ่มอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติด้วยเหตุผล รวมถึง “โซคราตีส” (Socrates) “พลาโต” (Plato) “อาริสโตเติล” (Aristotle) สามมหาปราชญ์แห่งเอเธนส์
อ้างอิงจาก: https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/34760