หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ปวดประจำเดือนรุนแรงระวังเสี่ยงสารพัดโรค

โพสท์โดย jameji


 

ปวดประจำเดือน เป็นอาการที่พบได้บ่อยในวัยเจริญพันธุ์ โดยแต่ละช่วงอายุก็พบมากน้อยต่างกันไปอยู่ที่ประมาณ 20-90 เปอร์เซ็นต์ ภาวะผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดของโรคที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน โดยทั่วไปจะเริ่มตั้งแต่ปีแรกของการมีประจำเดือน ในกรณีที่ไม่มีโรคร่วมอย่างอื่นอาการปวดมักดีขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น หรือหลังการมีบุตร

สาเหตุการปวดประจำเดือน

สาเหตุของการปวดประจำเดือน แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

  • ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ เกิดจากสาร prostaglandin ที่มีผลต่อมดลูกโดยตรง
  • ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ เกิดได้จากหลายโรค ได้แก่ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก การใส่ห่วงอนามัย การมีพังผืดในช่องท้อง เป็นต้น

 

อาการปวดประจำเดือนที่แตกต่างกันในแต่ละสาเหตุ

ในการนรีเวชแบ่งอาการปวดประจำเดือนเป็น 2 กลุ่ม ตามสาเหตุของอาการปวดประจำเดือน ดังนี้

1. ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea)

คือ การปวดประจำเดือนที่ไม่มีโรคหรือพยาธิสภาพใดๆ อาการปวดนี้เกิดจากสาร Prostaglandin เป็นสารเคมีที่หลั่งออกมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างการมีประจำเดือน สารดังกล่าวเป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว ทำให้มีอาการปวดท้องน้อย และลดปริมาณเลือดมาเลี้ยงมดลูก และระดับออกซิเจนมายังมดลูก เหมือนอาการเจ็บครรภ์คลอด โดยสารดังกล่าวอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ ถ่ายเหลวในบางราย  โดยทั่วไปอาการที่เป็นลักษณะจำเพาะของการปวดประจำเดือนปฐมภูมิ มีดังนั้น

  • เริ่มปวดตั้งแต่หลังมีประจำเดือนใหม่ๆ (less than 6 month after menache)
  • ระยะเวลาของอาการจะเกิดภายใน 48-72 ชั่วโมงของการมีประจำเดือน
  • อาการปวดบีบหรือปวดคล้ายอาการเจ็บครรภ์คลอด
  • อาการปวดมักเริ่มจากบริเวณอุ้งเชิงกราน อาจมีร้าวไปหลัง หรือต้นขาได้
  • ตรวจภายในไม่พบความผิดปกติ
  • อาจพบร่วมกับอาการอาการคลื่นไส้ ถ่ายเหลว อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าได้

2. ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea)

คือ อาการปวดประจำเดือนที่มีพยาธิสภาพ หรือโรคอื่นอันเป็นสาเหตุของการปวด โดยมักมีอาการปวดที่รุนแรง หรือเรื้อรังมากกว่าปวดประจำเดือนปฐมภูมิ ดังนี้

  • อาการปวดเริ่มในช่วงอายุ 20-30 ปี โดยไม่มีอาการปวดประจำเดือนมาก่อนหรือปวดน้อยกว่า
  • อาการปวดรุนแรงมากขึ้น มีผลต่อการทำงาน ปวดมากจนในบางรายจำเป็นต้องได้รับยาฉีดแก้ปวด
  • มีประจำเดือนมามากหรือมาผิดปกติร่วมด้วย
  • มีความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน หรือตรวจร่างกายพบความผิดปกติ
  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือ ยาเม็ดคุมกำเนิด
  • มีภาวะมีบุตรยาก
  • ปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวผิดปกติทางช่องคลอด

 

ปวดประจำเดือนรุนแรงหรือเรื้อรังนานๆ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

โดยทั่วไปดังที่ได้กล่าวมาแล้ว อาการปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิอาการมักไม่รุนแรง ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรงหรือเรื้อรัง ส่วนใหญ่มักเป็นอาการปวดประจำเดือนทุติยภูมิ ซึ่งสาเหตุการเกิดได้แก่

1. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เป็นโรคหรือภาวะที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นหรือบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ภายในโพรงมดลูก โดยเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนในร่างกายตามรอบประจำเดือนเหมือนเซลล์ที่อยู่ในโพรงมดลูกที่จะมีประจำเดือนออกมาทุกรอบเดือน ดังนั้น หากมีเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่รังไข่ หรือเยื่อบุช่องท้องน้อย ก็จะทำให้มีเลือดคั่ง กลายเป็นถุงน้ำที่เรียกว่าถุงน้ำช็อกโกแลต (chocolate cyst) หรือ มีเลือดออกในช่องท้อง ก็จะมีอาการปวด ระคายเคืองในท้องน้อย ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้น และเซลล์ดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดพังผืดในช่องท้องได้ ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง ปวดท้องน้อยขณะตรวจภายใน และปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ได้ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในอนาคตด้วย

ในกรณีที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตเข้ากล้ามเนื้อมดลูก เรียกว่า Adenomyosis ยังทำให้เกิดมดลูกโต ประจำเดือนมามาก ปวดท้องน้อยมากขณะมีประจำเดือน บางรายมีอาการท้องโตขึ้นหรือบวมมากขึ้นก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากมีเลือดออกในกล้ามเนื้อมดลูก

2. เนื้องอกมดลูก โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกชนิดใต้เยื่อบุโพรงมดลูก (Submucous myoma)

เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายของมดลูกที่พบได้บ่อย จากการรายงานผลทางพยาธิวิทยาพบเนื้องอกในมดลูกที่ได้รับการผ่าตัดมากถึง ร้อยละ 80 แต่สำหรับเนื้องอกที่ก่อให้เกิดอาการพบประมาณ 12-25 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น โดยเนื้องอกชนิดใต้เยื่อบุโพรงมดลูกพบได้ร้อยละ 5-10 ของโรคนี้

เนื้องอกชนิดนี้จะทำให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น เพื่อขจัดสิ่งที่ขัดขวางการหดรัดตัวภายในโพรงมดลูก จึงเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น

3. ห่วงอนามัย

เนื่องจากห่วงอนามัยจำเป็นต้องใส่ไว้ภายในโพรงมดลูก จึงเป็นสาเหตุให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น นอกจากนี้อาจทำให้เกิดพังผืดในมดลูกได้ด้วย

4. การมีพังผืดในช่องท้อง

พังผืดนี้อาจเกิดจากผลของการผ่าตัดคลอด หรือประวัติการผ่าตัดเข้าช่องท้องมาก่อน หรือการอักเสบในอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง ก่อให้เกิดพังผืดที่มีการดึงรั้งมดลูก ขณะที่มดลูกบีบตัวในขณะมีประจำเดือน ก็ทำให้อาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้น หรือบางครั้งอาจปวดท้องน้อยเรื้อรังโดยไม่สัมพันธ์กับประจำเดือนก็ได้

5. ปากมดลูกตีบ (Cervical stenosis)

เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เลือดประจำเดือนไหลออกจากโพรงมดลูกได้ไม่สะดวก ทำให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น ทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้นได้

6. ความผิดปกติของโครงสร้างทางกายภาพในอวัยวะสืบพันธุ์ (Obstructive malformation of the genital tract)

โครงสร้างที่ผิดปกติอาจทำให้ประจำเดือนไหลออกมาไม่ได้ ทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้นได้

นอกจากนี้ยังพบสาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้มีอาการปวดประจำเดือนรุนแรงเรื้อรัง ได้แก่ ภาวะเนื้องอกรังไข่ Ovarian  neoplasm, ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis), การตั้งครรภ์, เนื้องอกมดลูกชนิดต่างๆ, Adrenal Insufficency and Adrenal Crisis, การติดเชื้ัอในทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ท้องนอกมดลูก ลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease, Irritable Bowel Syndrome), อุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นต้น

 

วิธีแก้อาการปวดประจำเดือน ทำอย่างไรได้บ้าง?

เมื่อปวดประจำเดือน มีวิธีการรักษาและดูแลผู้ป่วย 4 วิธี ดังนี้

1. การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-medical therapeutic options)

อาจเป็นการดูแลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีอาการน้อย หรือใช้ควบคู่กับการใช้ยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ได้แก่

  • การออกกำลังกาย เนื่องจากการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายจะปรับปรุงเรื่องอารมณ์และความเครียดที่เกิดขึ้นจากอาการปวดประจำเดือนได้ ทำให้สามารถลดอาการที่เกี่ยวเนื่องกับประจำเดือนและลดอาการปวดได้
  • การฝังเข็ม และการกระตุ้นเส้นประสาท (Transcutaneous electrical nerve stimultation)
  • การออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะ
  • ใช้การประคบร้อน

2. การรักษาด้วยยา (Medical therapeutic options)

การรักษาด้วยยาแบ่งเป็น ยากลุ่มที่ไม่ใช่ฮอร์โมน และยากลุ่มฮอร์โมน

ยากลุ่มที่ไม่ใช่ฮอร์โมน

  • Acetaminophen, Tylenol
  • NSAIDs, COX-2 inhibitors, Transdermal glyceryl trinitrate

โดยยากลุ่ม NSAIDs พบว่า ได้ผลในการรักษาค่อนข้างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะหากทานยาทันทีที่มีประจำเดือน หรือเริ่มมีอาการที่เกี่ยวเนื่องกับประจำเดือน และทานตามเวลาต่อเนื่อง 2-3 วัน แต่ยาชนิดนี้มีข้อห้ามใช้ในกรณีมีความผิดปกติของภาวะเลือดออก หรือผู้ป่วยหอบหืด ผู้ที่แพ้ยากลุ่มแอสไพริน ตับผิดปกติ โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น

ยากลุ่มฮอร์โมน

  • Combined oral contraceptive (OC) เป็นยาที่นิยมใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนโดยยาจะกดการทำงานของรังไข่ ลดการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูก ลดปริมาณประจำเดือน และลดการหลั่งสาร prostaglandin ลดแรงบีบภายในมดลูก และลดการบีบตัวของมดลูกด้วย
  • Progestin regimens โดยเฉพาะยาฉีดคุมกำเนิด Depot medroxyprogesterone acetate หลักการทำงานจะยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อ ทำให้ไม่มีประจำเดือน พบได้ 55-60 เปอร์เซ็นต์ หลังการใช้ที่ 12 เดือน
  • Levonorgestrel intrauterine system (LN-IUS) เป็นห่วงคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมน progestin โดยจะใส่ไว้ภายในโพรงมดลูก ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อและไม่ทำงาน การเสียเลือดประจำเดือนลดลง 74-97 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าหลังการใส่ 1 ปี 16-35 เปอร์เซ็นต์ไม่มีประจำเดือน ก็จะทำให้อาการปวดประจำเดือนดีขึ้น

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด

มักเป็นทางเลือกสำหรับกรณีที่ได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวดและฮอร์โมนไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะในกรณีรายที่อาจสงสัยภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือพยาธิสภาพในช่องท้อง หรือมีโรคและเนื้องอกต่างๆ  จากสถิติพบว่า ในรายที่ได้รับการรักษาด้วยยาไม่ดีขึ้นและได้รับการผ่าตัดส่องกล้อง พบภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่มากถึงร้อยละ 80 การผ่าตัดเพื่อรักษาอาการปวดประจำเดือน ได้แก่

  • การส่องกล้อง Laparoscopy

เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง และสามารถตรวจหาพยาธิสภาพของอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้ดี และสามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องไปในคราวเดียวกันได้

  • Uterine artery embolization

ใช้รักษากรณีที่เป็นเนื้องอกมดลูก fibroid สามารถลดขนาดก้อน และลดปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงเนื้องอกได้ สำหรับกรณีที่ต้องการเก็บมดลูกไว้

  • การตัดมดลูก

เป็นทางเลือกการรักษาในกรณีที่มีพยาธิสภาพภายในมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเข้ากล้ามเนื้อมดลูก และเหมาะสำหรับผู้ที่มีบุตรเพียงพอแล้ว และการตัดมดลูกเป็นการรักษาที่ได้ผลยืนยาวเนื่องจากตัดตัวมดลูกออกไปก็จะไม่มีประจำเดือน แต่เก็บรังไข่ไว้สร้างฮอร์โมน ในกรณีที่ยังไม่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

  • การผ่าตัดเส้นประสาท Presacral Neurectomy

เป็นการผ่าตัดเส้นประสาท presacral ที่มายังอวัยวะในอุ้งเชิงกรานโดยตรง พบว่าสามารถลดอาการปวดประจำเดือนได้ในบางราย แต่อาจพบภาวะแทรกซ้อนในเรื่อง ท้องผูก และการขับปัสสาวะได้ประมาณ 5%

  • การจี้เส้นประสาทมดลูก Laparoscopic Uterosacral Nerve Ablation (LUNA)

พบว่าได้ผลในบางราย หลังจากการติดตามผู้ป่วยพบว่ามีโอกาสการกลับเป็นซ้ำ 27%

4. การรักษาด้วยการแพทย์ผสมผสานและแพทย์ทางเลือก (Complementary and Alternative medicine (CAM)

ที่มีรายงานการใช้รักษาภาวะ primary dysmenorrhea ได้แก่ การใช้กลุ่มวิตามิน สมุนไพรต่างๆ เช่น Vitamin E, Fish oil/Vitamin B12 combination, Magnesium, Vitamin B6, Toki-shakuyaku-san, Fish oil, Neptune Krill oil แต่การรายงานประสิทธิภาพจากงานวิจัยยังมีจำกัด

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ทุกคน อาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเฉพาะ ดังนั้น สตรีที่มีอาการผิดปกติ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางเพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
jameji's profile


โพสท์โดย: jameji
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อาหารป่าหายาก 4 ชนิด บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์เปิดสุดยอดคำคมหนังจีนจากไตรภาค "มังกรหยก" ที่ใครก็ต้องเคยได้ยินสิ่งที่ "ลิซ่า" ถือในงาน F1 ไม่ใช่หมวกกันน็อก แต่เป็นกระเป๋า..ราคาเบาๆ แค่หลักแสนแม่ให้ลูกอัดคลิปบอกลาพ่อ ก่อนใช้ปืนยิงลูกดับสถิติหวยย้อนหลัง 10 ปี 16 พฤษภาคมสุดเศร้าหนุ่มนักแคสเกมจบชีวิต เพราะผู้หญิงที่รัก ยอมให้หมดตัวแม้ไม่ได้กินของโปรดของตัวเองสาวสวยขอจุ๊บปากชายอ้วนเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่เก่งด้านทักษะภาษาอังกฤษข้าราชการราชวงศ์ชิงออกเยี่ยม: ภาพที่น่าตกตะลึงของผู้แบกเกี้ยว
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
เหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่เก่งด้านทักษะภาษาอังกฤษนักการเมืองชาวไทย ที่ร่ำรวยและมีมูลค่าทรัพย์สินมากที่สุดสิ่งที่ "ลิซ่า" ถือในงาน F1 ไม่ใช่หมวกกันน็อก แต่เป็นกระเป๋า..ราคาเบาๆ แค่หลักแสนสุดเศร้าหนุ่มนักแคสเกมจบชีวิต เพราะผู้หญิงที่รัก ยอมให้หมดตัวแม้ไม่ได้กินของโปรดของตัวเอง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในเขตจังหวัดภาคอีสานของไทยข้าราชการราชวงศ์ชิงออกเยี่ยม: ภาพที่น่าตกตะลึงของผู้แบกเกี้ยวเหตุผลสำคัญ ที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ไม่เก่งด้านทักษะภาษาอังกฤษนักการเมืองชาวไทย ที่ร่ำรวยและมีมูลค่าทรัพย์สินมากที่สุด
ตั้งกระทู้ใหม่