8 โรคอาการเสี่ยง เมื่อคุณพักผ่อนไม่เพียงพอ
ง่วงนอนเท่าไหร่ก็ไม่เคยพอ เกิดจากอะไรนะ
เชื่อว่าทุกคนเคยเจออาการเหล่านี้ไม่มากก็น้อย นั่นก็คือ ‘ง่วงนอนทั้งวัน’ ‘นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ’ ซึ่งอาการอ่อนเพลียเหล่าหลายคนมักเข้าใจว่าเกิดจากการนอนหลับไม่เพียงพอ ที่จริงแล้วอาการง่วงนอนแบบนี้เกิดได้หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากพฤติกรรมของตนเอง หรือผลกระทบจากปัญหาสุขภาพนั่นเอง
แบบไหนถึงเรียกนอนน้อย (Lack of Sleep)
นอนน้อย คือ การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนี้
- เด็กแรกเกิดควรนอน 20 ชั่วโมง
- ขวบปีแรกควรนอน 12 ชั่วโมง
- เด็กวัยประถมควรนอน 9-11 ชั่วโมง
- อายุ 18-25 ปีควรนอน 7-9 ชั่วโมง
- อายุ 26-64 ปี 7-9 ชั่วโมง
- วัย 65 ปีขึ้นไป 7-8 ชั่วโมง
อาการแบบไหนที่เรียกว่านอนไม่พอ
- ขี้เซา หลับแล้วตื่นยากมาก ๆ
- หัวไม่แล่น เฉื่อยชา สมองล้าทั้งวันเหมือนนอนไม่พอ
- สามารถนอนได้ทั้งวัน มีอาการง่วงระหว่างวัน และงีบหลาย ๆ ครั้งในแต่ละวัน
- มีอาการหงุดหงิด สับสนเมื่อถูกปลุกในระหว่างที่ถูกปลุก
- ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น อยากนอนต่ออีกเรื่อย ๆ
สาเหตุเกิดจากอะไรกันแน่
- เกิดจากการนอนกรน
- น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน
- ติดแอลกอฮอล์
- ได้รับความกระทบกระเทือนทางสมองหรือได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
- ยาคลายเครียด
- ใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาแก้คลื่นไส้
- เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงที่สมองไม่พอ
โดยมีผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะทั่วร่างกายและยังอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ ดังนี้
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
โดยมีการวิจัยในกลุ่มคนที่ไม่ได้นอนเป็นเวลา 88 ชม. พบว่ามีความดันเลือดที่สูงมากผิดปกติ และในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ยังมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจถึง 2 เท่า การอดนอนจึงทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
ระบบภูมิคุ้มกัน
ในขณะนอนหลับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตเซลล์ cytokines และ antibody เพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย การอดนอนจึงทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย ซึ่งระบบภูมิต้านทานของร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อได้นอนหลับอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมงขึ้นไปเพื่อช่วยถนอมร่างกายให้เเข็งเเรง
ปัญหาเรื่องความจำ
การศึกษาจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ระบุว่า คนที่นอนหลับในช่วง 4 ทุ่ม ถึง 5 ทุ่ม พบว่า มีผลต่อความจำ ความมีสมาธิ อย่างมีนัยสำคัญ สืบเนื่องมาจากการทำงานของสมอง เมื่อสมองไม่ได้พักผ่อน ไม่ได้ซ่อมแซมตัวเองได้ดีเท่าที่ควร ประสิทธิภาพด้านการคิด การใช้เหตุผล การแก้ปัญหา การเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ สมาธิลดลง และส่งผลต่อความจำ ทำให้มีอาการขี้หลงขี้ลืมได้บ่อยๆ จนอาจเกิดภาวะสมองล้าหรือ Brain Fog ได้ ซึ่งก็จะเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ในอนาคต