หมึกแปลกๆหมึกสายเลียนแบบ หรือ หมึกสายพรางตัว
วันนี้เราก็มีปลาแปลกๆมานำเสนออีกครับ
หมึกสายเลียนแบบ หรือ หมึกสายพรางตัว ทำไมเขาถึงเรียกว่าหมึกสายเลียนแบบ หรือ หมึกสายพรางตัว เพราะว่ามันพลางตัวเก่งแปลกไงล่ะครับ ขนาดปลาหมึกอยู่ในทะเลก็ยังมีพฤติกรรมอำพรางพรางตัวเหมือนกับสัตว์นกหรือแมลงหรืออื่นๆก็เพื่อความอยู่รอดแล้วก็สภาพแวดล้อมเป็นใจมันเลยทำให้เกิดพฤติกรรมการพรางตัวเพื่อเอาชีวิตรอดหรือเพื่อหาเหยื่อนั่นเอง
หมึกสายเลียนแบบ หรือ หมึกสายพรางตัว (อังกฤษ: Mimic octopus; ชื่อวิทยาศาสตร์: Thaumoctopus mimicus) เป็นหมึกประเภทหมึกสายชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Thaumoctopus
ข้อมูลเบื้องต้น หมึกสายเลียนแบบ, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
หมึกสายเลียนแบบ มีลักษณะคล้ายกับหมึกสายมหัศจรรย์ (Wunderpus photogenicus) มาก ทั้งนี้เป็นไปเพราะการพรางตัวและเลียนแบบเพื่อป้องกันตัวจากสัตว์นักล่า เพราะหมึกสายมหัศจรรย์นั้นมีน้ำลายที่มีพิษ และเปลี่ยนสีตัวเองได้อย่างรวดเร็วมาก โดยหมึกสายเลียนแบบ
สามารถที่จะเลียนแบบสัตว์ทะเลต่าง ๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น งูสมิงทะเลปากเหลือง, ปลาลิ้นหมา, ไครนอยด์, กั้ง และสัตว์อื่น ๆ ได้อีกถึง 15 ชนิด ซึ่งจะไม่แค่เลียนแบบลักษณะรูปร่างภายนอกเท่านั้น แต่ยังที่จะปรับเปลี่ยนท่าทางการเคลื่อนไหวไปตามสัตว์ที่เลียนแบบด้วย เช่น เมื่อเลียนแบบไครนอยด์ ก็จะปล่อยตัวเองล่องลอยไปกับกระแสน้ำ หรือเลียนแบบปลาลิ้นหมา
ก็จะห่อตัวลู่ไปกับพื้นทราย ในลักษณะการว่ายน้ำแบบเดียวกับปลาลิ้นหมา และยังอาจจะทำระยางค์แข็งยื่นออกมาคล้ายกับก้านครีบแข็งของปลาลิ้นหมาบางชนิด เช่น ปลาลิ้นหมานกกระตั้ว ซึ่งที่ก้านครีบอกมีพิษ ได้อีกด้วย
ขณะฝังตัวอยู่ใต้ทราย โดยโผล่มาแต่ส่วนตาหมึกสายเลียนแบบมีลักษณะคล้ายกับหมึกสายมหัศจรรย์มาก เมื่อโตเต็มที่มีความยาวได้มากกว่า 60 เซนติเมตร (2 ฟุต) แต่จะแตกต่างจากหมึกสายมหัศจจรรย์ตรงที่มีสีที่เข้มกว่ามาก และมีลวดลายน้อยกว่า
พบกระจายพันธุ์ตามพื้นทะเลที่บริเวณช่องแคบเลมเบห์ ทางตอนเหนือของเกาะซูลาเวซี ในอินโดนีเซีย ปกติจะเคลื่อนที่ด้วยการคืบคลานไปกับพื้นทรายใต้ทะเล เมื่อจะหากินหรือหลบซ่อนตัวจะฝังตัวเองลงใต้พื้นทราย โดยโผล่มาแค่ส่วนตาที่ยื่นออกมาจากส่วนหัว โดยมีประสาทรับรสและประสาทรับความรู้สึกที่ไวมากในหนวดแต่ละเส้น
หมึกสายเลียนแบบ ได้รับการค้นพบครั้งแรกในปี 1998 โดย มาร์ก นอร์แมน ช่างภาพใต้น้ำขณะที่กำลังดำน้ำอยู่ และได้รับคำบรรยายทางวิทยาศาสตร์ในปี 2005