หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ปราสาทหิน ถิ่นอีสานใต้ ร่องรอยแหล่งอารยธรรมขอมโบราณ

โพสท์โดย Idea DD

ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

          โบราณสถานแห่งนี้สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และได้จัดตั้งเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2532 เป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีลักษณะพิเศษ คือ ปราสาทประธานสร้างหันหน้าไปทางทิศใต้ ต่างจากปราสาทหินอื่น ๆ ที่มักหันไปทางทิศตะวันออก สันนิษฐานว่าเพื่อให้หันรับกับเส้นทางตัดมาจากเมืองยโศธรปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอม โดยเป็นพุทธสถานในลัทธิมหายาน
 

นอกจากนี้ภายในปราสาทหินพิมายยังมีความน่าสนใจอื่น ๆ เช่น "ปรางค์พรหมทัต" ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของปราสาทประธาน สร้างด้วยศิลาแลง ใช้หินทรายขาวประกอบในบางส่วน และจำหลักลวดลายประดับ ด้านในเคยเป็นที่ตั้งของประติมากรรมรูปบุคคลขนาดใหญ่นั่งขัดสมาธิ เชื่อว่าเป็นรูปเหมือนพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกว่าท้าวพรหมทัต และประติมากรรมสตรีนั่งคุกเข่า เชื่อกันว่าเป็นรูปพระนางชัยราชเทวี มเหสีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ชาวบ้านเรียกกันว่า นางอรพิม ตามนิยายพื้นบ้านเรื่องท้าวปาจิตและนางอรพิม ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย และ "สะพานนาคราช" ที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าทางเข้า สร้างด้วยหินทรายมีผังเป็นรูปกากบาท ราวสะพานทําเป็นลําตัวนาคที่ปลายราวสะพานทําเป็นรูปนาคราช 7 เศียร ชูคอแผ่พังพาน ซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะเขมรแบบนครวัด เป็นต้น

ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

          ปราสาทหินทรายสีชมพูที่ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง ในพื้นที่ตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานของชาติ วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และจัดตั้งโครงการอุทยานประวัติศาสตร์ขึ้น พร้อมเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 โดยปราสาทหินพนมรุ้งสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย เขาพนมรุ้งและปราสาทบนยอดเขาจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาส อันเป็นที่ประทับของพระศิวะ และยังเป็นสัญลักษณ์ของศูนย์กลางจักรวาล โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแบบขอม สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย มีอาคารเรียงรายไปจนถึงปราสาทประธาน
 

นอกจากนี้ยังมีความมหัศจรรย์ที่ถือเป็นไฮไลต์ของที่นี่ คือ ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ลอด 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้น 4 ครั้งต่อปีเท่านั้นอีกด้วย

ปราสาทหินเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

          โบราณสถานศิลปะแบบเขมรอันงดงาม ตั้งอยู่ที่ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากปราสาทเขาหินพนมรุ้งเพียง 8 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย เนื่องจากได้มีการขุดพบศิวลึงก์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในลัทธิไศวนิกาย ที่บริเวณปราสาทประธาน ส่วนพระวิษณุน่าจะได้รับการนับถือในฐานะเทพเจ้าชั้นรอง เพราะภาพสลักส่วนมากที่ปราสาทหลังนี้ สลักเรื่องเกี่ยวกับการอวตารของพระวิษณุ
 


          สำหรับปราสาทเมืองต่ำสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 หรือตรงกับศิลปะแบบบาปวนตอนต้น โดยมีลักษณะเป็นกลุ่มปราสาทอิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนศิลาแลงอันเดียวกัน รอบล้อมด้วยระเบียงคดและซุ้มประตู, กำแพงแก้วและซุ้มประตู และบาราย (ทะเลเมืองต่ำ) หรืออ่างเก็บน้ำที่ขุดเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคของชุมชนเมืองในสมัยโบราณ เป็นต้น ซึ่งชุมชนโดยรอบปราสาทก็ยังคงใช้ชีวิตกันอย่างกลมกลืนกันเฉกเช่นอดีต เพิ่มเติมด้วยการดูแลรักษาและร่วมอนุรักษ์ให้คงอยู่ได้อย่างดี

ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์

          ปราสาทศีขรภูมิ ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย (บูชาพระศิวะเป็นใหญ่) ต่อมามีการบูรณะส่วนยอดของปราสาทหลังทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในราวพุทธศตวรรษที่ 22 สมัยศิลปะล้านช้าง ดังมีจารึกอักษรธรรมปรากฏอยู่ ณ ปราสาทแห่งนี้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมภายในประกอบด้วยปราสาทก่ออิฐที่ไม่สอปูน จำนวน 5 ห้อง องค์กลางเป็นปรางค์ประธาน ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน มีคูน้ำล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน และเว้นเป็นทางเข้าอยู่ทางทิศตะวันออก

ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ สร้างด้วยหินทรายหันหน้าไปทางทิศใต้ ที่ปรางค์ประธานมีลวดลายจำหลักงดงาม แม้ว่าจะถูกลักลอบทำลายและทรุดโทรมไปตามกาลเวลาก็ตาม

 


          และนี่คือปราสาทหินถิ่นอีสานใต้ที่ยังมีร่องรอยประวัติศาสตร์สำคัญหลงเหลือเอาไว้ให้ได้เรียนรู้ พร้อมกับชื่นชมโบราณสถานที่มีสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า อีกทั้งยังถูกพัฒนาและรักษาจากชุมชนในพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ จนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่น และกระจายรายได้สู่ชุมชนจากการเดินทางไปเยือนของนักท่องเที่ยว

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Idea DD's profile


โพสท์โดย: Idea DD
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: เป็ดปักกิ่ง, Idea DD
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 เลขขายดีแม่จำเนียร งวด 17/1/68 หวยแม่จำเนียร 17/1/68เลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง vol.23" งวดวันที่ 17 มกราคม 2568ที่มาของคำว่า "แขก" และความเข้าใจที่ถูกต้องมาแล้ว! หวยใบฟ้า 17 ม.ค. 68 เปิดโพยเลขเด็ด ลุ้นโชค 2 ตัวท้าย รับปีใหม่!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สั่งปิดโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้าไทยอุดรฯ เหตุรับอ้อยเผา 4 แสนตันเข้าหีบ พร้อมย้ำทุกขั้นตอนการผลิตต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย"หมูแดง"หมาจรที่นอนรอเจ้าของที่จากไปอย่างไม่มีวันกลับชวนเข้ามาดูภาพแปลกๆ ที่ทำให้เราต้องถามว่า "ทำไม!?"
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ท็อป 10 ประเทศผู้หญิงหน้าอกใหญ่สุดในโลก ไทยอยู่ตรงไหนในลิสต์นี้?เบื้องหลังความสำเร็จของ “Starbucks” เรื่องราวที่มากกว่ากาแฟ!!บำรุงหัวใจด้วยผัก 10 ผักเด็ดช่วยลดความดันโลหิตสูง!!รู้ทันก่อนที่ร่างกายจะบอกไม่ไหว พฤติกรรมที่ทำให้แก่ไว
ตั้งกระทู้ใหม่